กร่าง | |
---|---|
![]() | |
ต้นกร่าง หรือ ปู่กร่างแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตวังท่าพระ) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Moraceae |
สกุล: | Ficus |
สปีชีส์: | F. altissima |
ชื่อทวินาม | |
Ficus altissima Blume |
กร่าง หรือไทรทอง หรือ ลุง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus altissima) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ในวงศ์ Moraceae มีความสูงประมาณ 10 - 30 เมตร มีพูพอน เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทาแตกกิ่งกระจายรอบต้น พุ่มทรงกลม ค่อนข้างหนาทึบ มีน้ำยางสีขาว รากอากาศเหนียว ใบเป็นแบบเดี่ยวทรงรูปไข่ กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม มีหูใบหุ้มยอด ใบอ่อนสีเขียวสดเป็นมัน หูใบหุ้มยอดอ่อนไว้ ดอกช่อไม่มีก้านดอก โคนช่อดอกมีใบประดับขนาดเล็ก 3 ใบรองรับช่อดอก ผลเมื่อสุกแล้วอ่อนนุ่ม สีเหลือง แต่ละผลมีเนื้อบาง ๆ และมีเมล็ด 1 เมล็ด
เป็นไม้ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เชื่อว่าเป็นไม้มงคล นอกจากนี้แล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่น คือ รากอากาศของต้นกร่างเหนียวใช้ทำเชือกได้ เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ ต้นใช้เลี้ยงครั่ง[1] [2]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ficus altissima ที่วิกิสปีชีส์