กษิต ภิรมย์

กษิต ภิรมย์
กษิต ในปี พ.ศ. 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
ถัดไปสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2551–2562)
คู่สมรสจินตนา ภิรมย์
บุพการี

กษิต ภิรมย์ (เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487) เป็นอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ และอดีตรองนายกรัฐมนตรีเงา

ประวัติ

[แก้]

กษิต เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตร สมภพ ภิรมย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร และอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีปทุม กับ นางจุนเจือ ภิรมย์ (สกุลเดิม "มุสิกะภุมมะ")

สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีสาขาวิเทศสัมพันธ์ (International Affairs) จาก มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) สหรัฐอเมริกา รุ่นเดียวกับประธานาธิบดี บิล คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดี กลอเรีย อาร์โรโย แห่งฟิลิปปินส์ และ ศึกษาต่อ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) ที่ Institute of Social Studies เนเธอร์แลนด์ ก่อนเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ยาวนานกว่า 30 ปี เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในหลายประเทศ โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนการเกษียณอายุราชการ คือ เอกอัครราชทูตกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา

ระหว่างการรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ นายกษิตได้รับการทาบทามจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพื่อนร่วมรุ่นรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ของน้องชายของนายกษิต ให้เข้าร่วมในคณะทำงานของ นายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขานุการรัฐมนตรี โดยนายกษิตได้รับมอบหมายให้ดูแลการติดต่อกับต่างประเทศ และการต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในช่วงที่ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 ได้ขอให้ นายกษิต ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลินไปช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากได้รู้จักคุ้นเคยกันในช่วงที่ พันตำรวจโท ทักษิณ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งขณะนั้น นายกษิตดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ จาการ์ตา หลังจากนั้น จึงออกไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน 2548

หลังจากเกษียณอายุราชการ นายกษิตได้เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อต่อต้าน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีเงา[1] ดูแลตรวจสอบ การทำงานของ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรม หลังจากการชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายกษิตได้ขึ้นเวทีปราศรัยบริเวณสนามหญ้าทำเนียบรัฐบาลและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยโจมตีการทำงานของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน

20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายกษิต ภิรมย์ ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [2]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]
พล.ร.ต. สมภพ ภิรมย์ บิดา
จินตนา ภิรมย์ ภรรยา

นายกษิต ภิรมย์ เป็นบุตรชายของ พล.ร.ต. สมภพ ภิรมย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยศรีปทุม กับ นางจุนเจือ ภิรมย์ (สกุลเดิม "มุสิกะภุมมะ") เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2487 ได้สมรสกับ นางจินตนา ภิรมย์ (สกุลเดิม วัจนะพุกกะ) มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นายโอม ภิรมย์ (ถึงแก่กรรมแล้ว) และ น.ส.แพร ภิรมย์[3] ผู้ออกแบบกำไลข้อมือ "Thai Together bracelets" ออกจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาเพื่อระดมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิในประเทศไทย ผ่านกองทุน “The United States-Thailand Amity for Charity” ของสถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา[4]

การศึกษา

[แก้]

นายกษิต ภิรมย์เข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แล้วจึงไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ St. Joseph College เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย หลังจากนั้น จึงกลับเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกษิตเข้ารับการศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงระยะเวลาหนึ่งและได้สมัครไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน International Affairs ที่ School of Foreign Service, มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น นายกษิตได้เข้ารับการศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ Institute of Social Studies เนเธอร์แลนด์ และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 32[4][3]

การทำงาน

[แก้]

การรับราชการ

[แก้]

นายกษิต ภิรมย์ เริ่มเข้ารับราชการที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ในฐานะข้าราชการชั้นผู้น้อยผ่านงานที่กรมองค์การระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ[5] ในปี พ.ศ. 2512 จึงได้รับตำแหน่ง เลขานุการตรี กองการเมือง กรมองค์การระหว่างประเทศ และเติบโตก้าวหน้าในราชการโดยได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการโทและเลขานุการเอกในหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นระดับผู้อำนวยการกอง โดยนายกษิตได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองต่าง ๆ ได้แก่ กองพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาเซียน, กองสนเทศเศรษฐกิจ กรมเศรษฐกิจ และกองนโยบายและวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2531 จึงเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจ และเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (รับผิดชอบกิจการยุโรป) กระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2534[4][6]

หลังจากนั้น นายกษิต ภิรมย์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ ต่างประเทศหลายแห่ง กระทั่งเกษียณ ในปี พ.ศ. 2548 ได้แก่

การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ

[แก้]

นายกษิต ภิรมย์ ยังดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น[5]

  • ผู้แทนประจำประเทศไทย องค์กร Caux Round Table ส่งเสริมเรื่องธรรมาภิบาลและระบบทุนนิยมที่มีศีลธรรม
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญ ยกร่างกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
  • อนุกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะที่ 1
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรังสิต จากการแต่งตั้งของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

ด้านการเมือง

[แก้]

นายกษิต ภิรมย์ เริ่มเกี่ยวข้องกับการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2524 ระหว่างที่รับราชการ กระทรวงการต่างประเทศ โดยได้รับการทาบทามจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีความสนิทสนมกับครอบครัวของนายกษิต เนื่องจากนายสุเทพเป็นเพื่อนร่วมรุ่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ เอ๊ด ภิรมย์ น้องชายของนายกษิต เคยไปมาหาสู่รู้จักสนิทสนมกับทุกคนในครอบครัว “ภิรมย์” โดยในครั้งนั้นนายกษิตได้เข้าร่วมในคณะทำงานของ นายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขานุการรัฐมนตรี โดยนายกษิตได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลการติดต่อกับต่างประเทศ และการต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ เช่น บรรดาทูตานุทูตต่างๆ

นายกษิต ภิรมย์ เป็นเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับความเชื่อถือจาก นายชวน หลีกภัย อย่างต่อเนื่อง ปี 2537 นายกษิต ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ จาการ์ตาได้ต้อนรับ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หลังจากนั้น พันตำรวจโท ทักษิณ ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางการเมืองกับนายกษิต จนกระทั่งมีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน เมื่อพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจึงได้ให้นายกษิต ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเพื่อไปช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการบริหารราชการที่แตกต่างจากที่ได้เคยหารือกันไว้ ได้สัมผัสกับวิธีคิดและวิธีทำงานของ พันตำรวจโท ทักษิณ อย่างใกล้ชิด นายกษิต ภิรมย์ จึงเริ่มออกห่างจาก พันตำรวจโททักษิณ และในเดือน พฤศจิกายน 2544 ได้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

หลังจากนั้น นายกษิต ภิรมย์ ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดแจ้งกับรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร กรณีจะนำเงินงบประมาณของประเทศจำนวนมากไปจ้างบริษัท Lobbyist ต่างชาติ ช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ โดยนายกษิตได้ส่งโทรสารคัดค้านมายังกระทรวงการต่างประเทศให้เหตุผลว่าเป็นที่รู้กันในเวทีระหว่างประเทศว่าโอกาสของ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย แทบจะมองไม่เห็นทาง และประธานาธิบดีสหรัฐมีท่าทีชัดเจนที่จะไม่สนับสนุน นายสุรเกียรติ์

นายกษิต ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ต่อมาภายหลังการเกษียณอายุราชการ นายกษิต ภิรมย์ ได้รับเชิญจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยให้เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับพฤติการณ์ของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว โดยเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลเงา ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายกษิตได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรม หลังจากการชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรฯ นายกษิต ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในบริเวณสนามหญ้าทำเนียบรัฐบาล และที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยโจมตีการทำงานของรัฐบาลพรรคพลังประชาชน

นายกษิต ภิรมย์ ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นับเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 43 ของไทย[7] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[8] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

นายกษิต ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[9] ในปี พ.ศ. 2558 โดยอยู่ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ทำหน้าที่รองประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง คนที่หนึ่ง รวมถึงเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำเรื่องการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

อีกทั้งยังทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอีกคณะหนึ่งด้วย

การขับไล่นายกษิต ภิรมย์ ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

[แก้]

นายกษิตได้รับตำแหน่ง รมว.กระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่การที่นายกษิตเคยร่วมปราศรัยบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ในช่วงรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ซึ่งได้กล่าวหาว่านายกษิตเป็นรัฐมนตรีจากโควตาของกลุ่มพันธมิตรฯ และพยายามขับไล่ให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[10] และต่อมาเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ราชาเทวะ ออกหมายเรียกในคดีระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับ นายกษิต ภิรมย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวก รวมทั้งสิ้น 25 คน ที่บุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิ โดยตั้งข้อหา ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญฯ มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ , เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการมั่วสุมแล้วไม่เลิก, ก่อการร้าย, บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งเหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 และฉบับที่ 2 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2551

ข้อกล่าวหาในช่วงที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

[แก้]
  • เคยขึ้นเวทีปราศัยในระหว่างการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และกล่าวชื่นชมการยึดสนามบินในครั้งนั้นว่าเป็น "นวัตกรรมใหม่ของการประท้วง" [11]
  • กล่าวเชิญชวนนักการทูตระดับสูง และนักหนังสือพิมพ์ต่างชาติให้ไปร่วมชมการชุมนุมประท้วง และกล่าวถึงการยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวตกค้างในประเทศกว่าสามแสนห้าหมื่นคนว่า "สนุกมาก ดนตรีเพราะ อาหารอร่อย" [12]
  • กล่าวหาสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า "บ้า ๆ บอ ๆ" "เป็นกุ๊ย" "จิตใจชั่วร้าย" และ "เป็นขี้ข้า" ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร [13]

ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[14]

[แก้]
  • วางตัวไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ และเคยทะเลาะชกตีกับนักเรียนไทยในช่วงระหว่างที่ดำรงตำแหน่งที่ประเทศรัสเชีย
  • มีความเห็นขัดแย้งทางด้านนโยบายกับรัฐบาลที่นายกษิตสังกัดอยู่ในเรื่องนโยบายประชานิยม
  • เรียกร้องขอเปียโนจากนักธุรกิจ โดยอ้างว่าจะนำไปมอบให้ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง แต่ท้ายสุดแล้วเปียโนหลังนั้นกลับอยู่ที่บ้านของนายกษิตเอง ต่อมา วันที่ 31 มีนาคม 2552 นายกษิตได้ชี้แจงเรื่องเปียโนว่าเป็นการซื้อเปียโนมือสองมาในราคาแสนกว่าบาท และยังตั้งอยู่ที่บ้าน ไม่ได้เป็นการให้ฟรีแต่ประการใด[15][16]
  • ขอตั๋วเครื่องบินจากบริษัทการบินไทยจำนวน 50 ที่นั่ง เพื่อแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องในระหว่างดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งข้อกล่าวหาเหล่านี้ทั้งหมดเป็นการกล่าวเท็จ โดยในเรื่องการชกต่อยกับนักเรียนไทยที่รัสเซีย เป็นการใส่ร้ายของคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ชื่อดัง ซึ่งขณะที่เรียนที่รัสเซียได้ข่มเหงสตรีและกระทำสิ่งไม่เหมาะสมหลายประการ จึงถูกนายกษิตตำหนิ สำหรับเรื่องตั๋วเครื่องบินเป็นการสนับสนุนการจัดกิจกรรมของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว อาทิ การจัดงานเทศกาลอาหารไทย การจัดงานส่งเสริมประเทศไทยต่างๆ

การอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552

[แก้]

หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 19 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 และในวันที่ 21 มีนาคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ได้มีมติไว้วางใจให้นายกษิตดำรงตำแหน่งต่อไปด้วยเสียงสนับสนุน 237 เสียง แต่ก็ยังน้อยกว่ารัฐมนตรีท่านอื่นที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนั้นถึง 9 เสียง และเป็นรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียวที่ได้รับคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจ 1 เสียงจาก นายเกียรติกร พากเพียรศิลป์ ส.ส. ปราจีนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันเอง[17] โดยให้เหตุผลว่า "ถ้านายกษิตยังนั่งเป็นรัฐมนตรีต่อไป กลุ่มคนเสื้อแดงก็จะใช้กรณีของนายกษิตเป็นข้ออ้างหลักในการรวมตัวชุมนุม"[18] อย่างไรก็ตาม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ประธานวิปรัฐบาล ชี้แจงว่า พรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงทั้งหมด 262 เสียง แต่เข้าร่วมประชุม 259 เสียง แบ่งเป็นเสียงรัฐมนตรี 23 เสียง และประธานสภา 1 เสียง ดังนั้น จึงเหลือเสียงสนับสนุน 234 เสียง แต่นายกษิต ภิรมย์ ได้คะแนนไว้วางใจ 237 เสียง แสดงว่า ได้เสียงจากฝ่ายค้านเพิ่มเข้ามาอีก 3 เสียง[18]

กรณีพรรคการเมืองใหม่

[แก้]

ในกลางปี พ.ศ. 2552 ที่ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ขึ้น นายกษิตซึ่งเป็นหนึ่งในแนวร่วมของพันธมิตรฯด้วย ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะขออยู่ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป โดยเห็นว่ามีอุดมการณ์ต่างจากกลุ่มพันธมิตรฯและพรรคการเมืองใหม่[19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

รางวัล

[แก้]

กษิต ภิรมย์ ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เก็บถาวร 2022-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๙๑ ง. หน้า ๓, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. 3.0 3.1 "ประวัติจากเว็บไซต์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-01-13.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, กษิต ภิรมย์ บัวแก้วคนกล้า เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. โพสต์ทูเดย์. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
  5. 5.0 5.1 5.2 ประวัตินายกษิต ภิรมย์ เก็บถาวร 2009-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์. เรียกดูข้อมูลเมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
  6. 6.0 6.1 ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เก็บถาวร 2009-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ. เรียกข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
  7. 7.0 7.1 ถ้อยแถลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เก็บถาวร 2009-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ. เรียกข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์) เก็บถาวร 2022-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔๙ ก หน้าที่ ๔๒ ลำดับที่ ๔๒,วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
  9. นายกษิต ภิรมย์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ แถลงข่าว
  10. The Nation, "Let the red-shirts show them how"[ลิงก์เสีย]
  11. The Guardian, "Class war behind Thai colour clash"
  12. The Telegraph, "Bangkok airport protests were fun, says Thailand's new foreign minister "
  13. รายการ คม ชัด ลึก, "ความตึงเครียดไทย-กัมพูชา รอบใหม่"
  14. The Bangkok Post, "Kasit grilled by opposition MPs"[ลิงก์เสีย]
  15. "กษิตฉะทักษิณ อยู่รกแผ่นดิน ท้าโต้ทุกเวที". กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 2009-03-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.
  16. ""กษิต"โต้"ทักษิร"ตัวตัดเกม-ชิงพื้นที่สื่อ". เดลินิวส์. 2009-04-01. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.
  17. The Bangkok Post, "Abhisit eases through but Kasit stutters"[ลิงก์เสีย]
  18. 18.0 18.1 นายกฯอุ้ม “กษิต”ยันไม่ปรับพ้น ครม.: วิปรัฐบาลอุ้ม “กษิต” อ้างชี้แจงเคลียร์ เก็บถาวร 2009-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ไทยรัฐ. เรียกข้อมูลวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
  19. อ้างอุดมการณ์ต่าง กษิตยินดีสนธิ ขออยู่คนละพรรคจากกระปุกดอตคอม
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๐, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๕, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๘, ๙ ตุลาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า กษิต ภิรมย์ ถัดไป
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล