กันตนา

บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Kantana Group Public Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมชื่อว่า บริษัท กันตนา จำกัด เริ่มก่อตั้งเป็นคณะละครวิทยุของสามีภรรยาตระกูลกัลย์จาฤกที่แยกออกมาจากคณะกันตถาวรเมื่อปี พ.ศ. 2494 จากนั้นจึงเริ่มทำละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สารคดี และรายการโทรทัศน์ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับกันตนามาจนถึงปัจจุบัน

บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
ก่อตั้งพ.ศ. 2494 (74 ปี)
ผู้ก่อตั้งประดิษฐ์ กัลย์จาฤก
สำนักงานใหญ่333/3 ซอยรัชดานิเวศน์ 19 ถนนประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากรหลักจาฤก กัลย์จาฤก-ประธานกรรมการบริษัท
ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์-ประธานกรรมการบริหาร
ผลิตภัณฑ์รายการโทรทัศน์, ละครโทรทัศน์, ทีวีซีรีส์, ออนไลน์มีเดียแพลตฟอร์ม, ภาพยนตร์, แอนิเมชัน, โปรดักชั่น เซอร์วิส, โพสต์ โปรดักชั่น เซอร์วิส, สถาบันการศึกษา, โรงเรียนการแสดง, อีเวนท์แมนเนจเมนท์, อีสปอร์ต,สถานีโทรทัศน์ทั้งในและต่างประเทศ, ​และ KOL
เว็บไซต์www.kantana.com

ประวัติ

[แก้]

ยุคแรก

[แก้]

กันตนา ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยเริ่มจากคณะละครวิทยุกันตนาที่ประดิษฐ์และสมสุข กัลย์จาฤก ศิลปินแห่งชาติ คู่สามีภรรยา ร่วมกันก่อตั้งขึ้น ตามคำดำริของครูเอิบ กันตถาวร เจ้าของคณะละครวิทยุกันตถาวร ที่คุณประดิษฐ์เป็นนักแสดงละครวิทยุอยู่ ครูเอิบต้องการก่อตั้งคณะละครวิทยุขึ้นอีกหนึ่งคณะเพื่อตอบสนองความต้องการตลาดกิจการวิทยุที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนนั้น โดยมีประดิษฐ์เป็นผู้มีหน้าที่ในการผลิตและยืนอยู่เบื้องหน้าในการบริหารกิจการ ส่วนสมสุขอยู่เบื้องหลัง คอยสร้างสรรค์จินตนาการออกมาเป็นบทละคร ภายใต้นามปากกาว่า กุสุมา สินสุข[1]

ในปี พ.ศ. 2501 คณะ"กันตนา" ได้รับรางวัลถ้วยทองคำชนะเลิศ จากการส่งละครวิทยุเรื่อง "สิ่งที่ได้จากสมรภูมิ" ซึ่งเป็นละครสั้นจบในตอน จากบทประพันธ์ของเอิบ กันตถาวร เข้าประกวดที่สถานีวิทยุพล.ปตอ. ปีเดียวกันนั้นกันตนาได้เริ่มทำละครวิทยุแนว "ละครชีวิตประจำวัน" (radio soap opera) ประเดิมด้วยเรื่อง "หญิงก็มีหัวใจ" โดยสมสุข กัลย์จาฤก เป็นผู้ประพันธ์บทละครเรื่องนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากเพลง "ผู้หญิงก็มีหัวใจ" ของสุนทราภรณ์ ที่ขับร้องโดยรวงทอง ทองลั่นทม[2] โดยคุณสมสุขร่วมแสดงด้วย ละครวิทยุเรื่อง "หญิงก็มีหัวใจ" ได้รับความนิยมอย่างมากจนต้องเพิ่มเวลาออกอากาศ และได้รับเชิญไปแสดงเป็นละครโทรทัศน์ที่ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ททบ.5 ปัจจุบัน ) ที่ก่อตั้งขึ้นในปีนั้นสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 โดยใช้นักแสดงจากคณะละครวิทยุกันตนาเองเกือบทั้งหมด ยกเว้นบทนางเอกที่คุณเพ็ญแข กัลย์จาฤก พี่สาวของคุณประดิษฐ์ทำหน้าที่แสดงแทนคุณสมสุข ละครโทรทัศน์ได้รับความนิยมจากผู้ชมไม่แพ้ละครวิทยุ แต่เนื่องจากในขณะนั้นทั้งละครโทรทัศน์และละครวิทยุเป็นการแสดงสด ทำให้ผู้แสดงและผู้ร่วมงานทำงานหนักมากเกินไป ประกอบกับละครวิทยุกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง กันตนาจึงไม่แสดงละครโทรทัศน์ต่อ [3] คณะละครวิทยุ "กันตนา" ปิดตัวลงในปี ​พ.ศ.2530

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 กันตนาได้มอบบทประพันธ์จากละครวิทยุที่โด่งดังในสมัยนั้นให้บริษัทภาพยนตร์ชั้นนำไปสร้างหลายเรื่อง ได้แก่ ตุ๊กตาผี(พ.ศ.2503) สุรีย์รัตน์ล่องหน(พ.ศ.2504) บันทึกรักของพิมพ์ฉวี(พ.ศ.2505) นางสมิงพราย(จากบทละครวิทยุเรื่อง ชีวิตเถื่อน) (พ.ศ.2506) ในช่วงเวลานั้นกันตนาได้สร้างภาพยนตร์ในนาม บริษัทกันตนาภาพยนตร์ 4 เรื่อง ได้แก่ ผีพยาบาท (พ.ศ. 2503) เย้ยฟ้าท้าดิน (พ.ศ.2507) ลูกกรอก (2510)และ เพชรตาแมว (พ.ศ. 2515) แต่หลังจากผลิตภาพยนตร์เพชรตาแมวแล้วจึงยุติการผลิตภาพยนตร์ไป[4]

ปี พ.ศ. 2519 กันตนาก่อตั้ง "คณะส่งเสริมศิลปิน" ขึ้นเพื่อผลิตละครทางเลือกใหม่ แนวสร้างสรรค์สังคมทาง ททบ.5 เรื่องแรกคือ ทางที่ไม่ได้เลือก เป็นละครเรื่องแรกในวงการทีวีที่เปลี่ยนจากการบอกบท มาเป็นตัวละครต้องท่องบทมาเอง ทำให้ผู้ชมได้รับอรรถรสในการดูมากขึ้น[3]

ยุคกลาง

[แก้]

ปี พ.ศ. 2523 บริษัท กันตนา วิดีโอ โปรดักชั่น จำกัด ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเป็นรายแรกในวงการโทรทัศน์ พร้อมกับการก่อสร้างสตูดิโอที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กันตนาจึงริเริ่มผลิตละครโทรทัศน์และโฆษณาด้วยระบบวิดีโอ และผลิตสารคดีโลกกว้างทางแคบ ชุดเรื่องกินเรื่องใหญ่ เป็นสารคดีสั้น 1-3 นาที เรื่องแรก ๆ ของประเทศไทย รวมถึงผลิตรายการเกมโชว์ตอบคำถาม (ควิซโชว์) รายการแรกของประเทศไทย คือ นาทีประลองยุทธ์

ปี พ.ศ. 2523-2526 ละครสร้างสรรค์สังคมเรื่อง บาปบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเรื่องแรกที่ถ่ายทำในสตูดิโอของตัวเอง ประสบความสำเร็จอย่างมาก และสร้างชื่อเสียงอย่างมากให้กับกลุ่มนี้เช่นกัน[3]

ปี พ.ศ. 2527 ก่อตั้งบริษัท กันตนา จำกัด มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก และได้รับการส่งเสริมการลงทุน[4]

ปี พ.ศ. 2530 กันตนาร่วมกับบริษัท โตเอะ จำกัด ตั้งบริษัท กันตนา แอนิเมชัน จำกัด ผลิตงานแอนิเมชันระดับสากล[5]

ปี พ.ศ. 2532 กันตนากลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งในรอบ 17 ปี ในนามบริษัท กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด เริ่มจากภาพยนตร์แม่เบี้ย ตามด้วย วิมานมะพร้าว (พ.ศ. 2534), กาเหว่าที่บางเพลง (พ.ศ. 2537) และ ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540) ซึ่ง 3 เรื่องแรกผลิตร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[6]

ปี พ.ศ. 2541 ร่วมมือกับบริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโพสท์ จำกัด ตั้งบริษัท โอเรียลทัล โพสท์ จำกัด บริษัทที่มีเทคโนโลยีระดับโลกที่ครบวงจรที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

ปัจจุบัน

[แก้]

ปี พ.ศ. 2546 บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทุนจดทะเบียนถึง 850,000,000 บาท เนื่องจากมีความพร้อมมากขึ้น การจัดขยายโครงสร้างธุรกิจภายในลงตัวโดยแบ่งเป็นสายงานธุรกิจอย่างชัดเจน ได้แก่ สายธุรกิจรายการละครโทรทัศน์ สายธุรกิจภาพยนตร์และแอนิเมชั่น และสายธุรกิจการศึกษาและราชการสัมพันธ์ และยังพัฒนาโครงการใหญ่ (กันตนา มูฟวี่ ทาวน์) ในนามบริษัท กันตนา มูฟวี่ทาวน์ (2002) จำกัด ตั้งอยู่ ณ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ในพื้นที่ 800 กว่าไร่ มูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท

ปี พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา (ในขณะนั้น) ทอดพระเนตรภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง "ก้านกล้วย" รอบพิเศษ ในวันที่ 30 เมษายน ณ โรงภาพยนตร์ อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี รวมถึง ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จไปทอดพระเนตรในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน ยังความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งแก่บริษัท

ปี พ.ศ. 2553 บริษัท กันตนา เอ็ดดูเทนเมนท์ (อินเตอร์เนชั่นแนล) จำกัด ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาขึ้น โดยมีชื่อว่า สถาบันกันตนา และ กันตนาเทรนนิ่งเซ็นเตอร์

ปี พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง “เอคโค่ จิ๋วก้องโลก” (Echo Planet) รอบพิเศษ เป็นการส่วนพระองค์ ณ โรงภาพยนตร์ บางกอก แอร์เวย์ส บลู ริบบอน สกรีนส์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม ตามคำกราบบังคมทูลเชิญ

ปี พ.ศ. 2558 เครือกันตนาปรับการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรใหม่ โดยใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษว่า KANTANA เพื่อสร้างเอกลักษณ์ใหม่ยืนยันการเป็นผู้นำในการนำเสนอสิ่งใหม่ให้กับวงการอย่างต่อเนื่อง และการสื่อสารเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กร มุ่งมั่นเป็นผู้ผลิตและเจ้าของสื่อที่ได้รับการยอมรับและชื่นชอบมากที่สุดในระดับสากล  

ปี พ.ศ. 2559 วาระครบรอบปีที่ 65 ของกันตนา ที่นับเป็นเกียรติประวัติและสิริมงคลอย่างยิ่ง สำหรับผู้บริหารและบุคคลากรของเครือกันตนา รวมถึงคณาจารย์และนักศึกษาของสถาบันกันตนาทุกคนจากการที่สถาบันกันตนาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง “สายไปเสียแล้ว” นำมาผลิตภาพยนตร์สั้นเทิดพระเกียรติโดยนักศึกษาและคณาจารย์ของสถาบันฯ ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา อันเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยภาพ ทางการประพันธ์ให้เป็นที่ประจักษ์ และยังได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ตามคำกราบบังคมทูลเชิญ นอกจากนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาให้เกียรติร่วมแสดงนำในละคร ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน โดยทรงรับบท "อัมราภาชินี" และทรงขับร้องเพลงประกอบละคร

ปี พ.ศ. 2561 กระทรวงวัฒนธรรม พิจารณาคัดเลือกสุดยอดละครโทรทัศน์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 จากประชาชนรวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเข้าพิจารณาจำนวน 2,649 เรื่อง จนเหลือเพียง 99 เรื่อง ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดละครโทรทัศน์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 ในจำนวน 99 เรื่องดังกล่าว มีละครที่บริษัทกันตนาผลิตและได้รับเลือกจำนวน 16 เรื่อง ดังนี้ ขมิ้นกับปูน ชาติมังกร ซีอุย ตะวันชิงพลบ ตี๋ใหญ่ น้ำเซาะทราย บัวแล้งน้ำ บาปบริสุทธิ์ ปอปผีฟ้า ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด พิษสวาท ลอดลายมังกร สุสานคนเป็น ห้องหุ่น หางเครื่อง และอรุณสวัสดิ์ นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ยังได้ประกาศรายชื่อภาพยนตร์ 20 เรื่อง ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2561 หนึ่งในนั้นคือ ก้านกล้วย (2549) ภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติเรื่องแรกของไทย

ปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม สมสุข กัลย์จาฤก ประธานกิตติมศักดิ์เครือกันตนา ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทภาพยนตร์และละคร (ละครวิทยุ-ละครโทรทัศน์) เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

พิธีกรและนักแสดงในสังกัด

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]

Kantana KOL

กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส

  • ธนัท รัตนสิริพันธ์ (มาร์ค)
  • ชัยธัช ชีวมงคล (พาร์ท เคียราน)
  • พิมรภัส ผดุงวัฒนะโชค (โมบายล์ BNK48)
  • แพรวา สุธรรมพงษ์ (มิวสิค BNK48)
  • ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (ซี)
  • สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร (พี)
  • ลภัส งามเชวง (เติร์ด Trinity)
  • พลอยไพลิน ตั้งประภาพร (พลอย)
  • กฤษณ์ บุญญะรัง (บี้ เดอะสกา)
  • ณัฐสิทธิ์ โกฏิมนัสวนิชย์ (เบสท์)
  • นนทัช ธนวัฒน์ยรรยง (บอม)

อดีต

[แก้]

ผลงานรายการโทรทัศน์ / ละครโทรทัศน์

[แก้]

กันตนา ได้ผลิตรายการโทรทัศน์หลายประเภทเช่น เกมโชว์ ควิซโชว์ ทอล์คโชว์ วาไรตี้โชว์ เรียลลิตี้โชว์ สารคดี วาไรตี้คอเมดี้โชว์ รายการเพลง รายการเด็ก รายการข่าว และละคร เป็นจำนวนหลายร้อยรายการ เพื่อนำเสนอออกอากาศผ่านทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี, สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ภายหลังใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และปัจจุบันคือสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส), สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี, สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี, สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี, สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ช่อง 36, สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 โดยปัจจุบัน กันตนา กรุ๊ป มีรายการโทรทัศน์และละครที่กำลังออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระบบสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทีวี และในรูปแบบขายสิทธิ์ทางแอปพลิเคชัน LINE TV (รายการที่กำลังออกอากาศอยู่ เน้น ตัวหนา)

รายการทั่วไป

[แก้]

รายการที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ

[แก้]

ภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ก้านกล้วยผจญภัย ช่อง 7 (และนำกลับมาฉายทางช่อง บูมเมอแรง)
เพื่อนรัก ไลน์ทาวน์ (2556) ช่อง 5 (และนำกลับมาฉายทางช่อง บูมเมอแรง)
ชินจังจอมแก่น (2557 - 2559) ช่อง 9,ช่อง 3 HD
กองทัพหุ่นนักรบพิทักษ์จักรวาล (2557) ช่อง 9

ซีรีส์

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ยัยเป็ดขี้เหร่ Ugly Betty Thailand (2558) ช่องไทยรัฐทีวี (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส)
Gossip Girl Thailand (2558) ช่อง 3 (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนาเอฟวูโลชั่น จำกัด)
ยายกะลาตากะลี (2559-2560) ช่อง 7 และทางแอปพลิเคชัน iflix (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส)
INSTINCT ซ่อน ล่า หน้าสัตว์ (2562) LINE TV (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส)
เดอะ เดบิวต์..อวสานไอดอล (2564) ช่องวัน 31 และในแอปพลิเคชัน WETV (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส) ร่วมกับ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
อุ่นไอในใจเธอ (2564) ช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 ในแอปพลิเคชัน WETV (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส) (ได้รับลิขสิทธิ์จาก Tencent) ร่วมกับ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด
What's Zab Man! รักวุ่นวาย กับนายรสแซ่บ (2565) ช่อง Amarin TV ร่วมกับ บริษัท สตาร์ อันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด
สืบสันดาน (2567) ในสตรีมมิง เน็ตฟลิกซ์ (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส)
Zombie Killer นักฆ่าผีชีวะ (2568) ช่องวัน 31 (ผลิตภายใต้ชื่อกันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส) ร่วมกับ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

ละครโทรทัศน์

[แก้]

ดูบทความเพิ่มเติมที่ รายชื่อผลงานละครของกันตนา

  • แยกตามประเภทของละคร

เด็ก / เยาวชน

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ผีกุ๊กกิ๊ก (2530 ช่อง7)
วัยซน คนมหัศจรรย์ (ไอทีวี)
มหัศจรรย์วันเกิด (ไอทีวี)
แก๊งสืบ 07 (2548 ช่อง7)
นรสิงห์ (2548-2549 ไอทีวี)
อภินิหาร หุ่นกายสิทธิ์ (2549 ไอทีวี)
นะโม ฮีโร่ผู้น่ารัก (2550-2551 ทีไอทีวี (ออกอากาศจนถึงสมัยไทยพีบีเอส))
เกาะมหัศจรรย์ (2552 ช่อง7)
เพื่อนซ่า เทวดาจิ๋ว (2552 ช่อง7)
เพื่อนรักตัวยุ่ง (2552 ช่อง7)
นิทานทะลุมิติ (2552 ช่อง7)
สาวน้อยมหัศจรรย์ Wonder G (2553 ช่อง7)

ชีวิตวัยรุ่น

[แก้]
ชื่อเรื่อง
The Gang พลพรรครักแผ่นดิน (2552)
ทีมซ่าท้าฝัน (2553)
ศรัทธาหัวใจไปให้สุดฝัน Belief (2559)

สะท้อนสังคม / สถาบันครอบครัว / โรแมนติก / คอเมดี

[แก้]
ชื่อเรื่อง
เวิ้งระกำ (2531 ช่อง7)
มายา(2531 ช่อง7)
สมการวัย (2532/ ช่อง7)
สงครามเงิน (2532/ ช่อง7)
บัวแล้งน้ำ (2533 ช่อง7)
ผู้หญิงแถวหน้า (2533 ช่อง7)
ขมิ้นกับปูน (2533 ช่อง7)
ข้าวนอกนา (2533 ช่อง7)
กำแพงบุญ (2534 ช่อง7)
ด้วยเนื้อนาบุญ (2534 ช่อง7)
ชีวิตเปื้อนฝุ่น (2534 ช่อง7)
จะไม่มีช่องว่างระหว่างเรา (2535 ช่อง5)
อรุณสวัสดิ์ (2535 ช่อง7)ฺ
ลอดลายมังกร (2535 ช่อง7)
ดอกกระถินริมรั้ว (2535 ช่อง7)
น้ำเซาะทราย (2536 ช่อง7)
เรือนแรม (2536 ช่อง7)
สีวิกา (2536 ช่อง7)
ชิงช้าชาลี (2536 ช่อง7)
สะพานข้ามดาว (2537 ช่อง7)
ไม้ดัด (2537 ช่อง7)
ข้าวเปลือก (2537 ช่อง7)
ถนนสายสุดท้าย (2537 ช่อง7)
เท้งเต้ง (2538 (ช่อง5)
เสราดารัส (2538 (ช่อง7)
ผู้ชายไม้ประดับ (2538 ช่อง7)
ฉันจะบิน (ช่อง7)
บ้านสอยดาว (2539 ช่อง7)
กระท่อมไม้ไผ่ (2540 ช่อง7)
เจ้าสาวของอานนท์ (2542 ช่อง 5)
มิติใหม่หัวใจเดิม (2543 ช่อง7)
เมื่อเธอเป็นชาย แล้วนายเป็นหญิง (ช่อง 5)
รหัสหัวใจ (2548 ช่อง7)
รักติดลบ (2549 ช่อง7)
มนตราแห่งรัก (2552 ช่อง7)
วงเวียนหัวใจ (2552, 2564 ช่อง7)
วังน้ำค้าง (2552 ช่อง7)
ดอกบัวขาว (2552 ช่อง7)
รักซ่อนรส (2553, 2567 ช่อง 7)
หงส์ฟ้า (2553, 2565 ช่อง 7)
เงาหัวใจ (2553 ช่อง 7)
ด้วยแรงอธิษฐาน (2553 ช่อง7)
มอม (ช่อง5)
เทพบุตรมายา เทพธิดาจำแลง (ช่อง 7)
เจ้าสาวริมทาง (ช่อง 7)
เงากามเทพ (ช่อง 7)
ดุจดาวดิน (ช่อง 7)
มายาสีมุก (2556 ช่อง 7)
หางเครื่อง (ช่อง 5) (สร้างใหม่และฉายทาง ช่อง 7)
ล่ารักสุดขอบฟ้า (2557 ช่อง 7) ผลิตให้กับ บริษัท มุมใหม่ จำกัด
แหวนสวาท (2558 ช่อง 7)
จุมพิตพยัคฆ์สาว (2558 ช่อง 7)
แฝดล่องหน (2522, 2544, 2559 ช่อง 7)
เมียหลวง (2560 ผลิตให้กับบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ออกอากาศทางช่อง 3)
ประกาศิตกามเทพ (2561 ผลิตให้กับบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ออกอากาศทางช่อง 3)
แก้วกุมภัณฑ์ (2561 ผลิตให้กับบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ออกอากาศทางช่อง 3)
ทิวาซ่อนดาว (2562 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ช่อง 3)
รักแท้ของนายถึก (2562 ผลิตให้กับบริษัท จันทร์ 25 จำกัด ออกอากาศช่อง 3)
ปีศาจแสนกล (2564 ผลิตให้กับบริษัท ดีวันทีวี จำกัด ออกอากาศทางช่อง 3)

ซิทคอม

[แก้]
ชื่อเรื่อง
หอพักเฮี้ยนอลเวง (2565 ผลิตให้กับบริษัท มีคุณอนันต์ จำกัด ช่อง 7 เอชดี)

บู๊แอ็คชั่น

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ทิมมวยไทย (2526 ช่อง 5)
ลูกผู้ชายไม้ตะพด (2528 , 2555 , 2567 ช่อง 7), และออกอากาศซ้ำทางมิราเคิล
มาเฟียซาอุ (2529 ช่อง 5)
สารวัตรเถื่อน (2530 ช่อง 7)
เล็บครุฑ (2530 ช่อง 5)
ตะรุเตา (2531 ช่อง 7)
ร้อยป่า (2531 ช่อง 5)
สายลับสองหน้า (2532 ช่อง 7)
ทูตมรณะ (2533 ช่อง 7)
สารวัตรใหญ่ (2537 ช่อง 7)
เลือดเข้าตา (2538 ช่อง 5)
ยอดตำรวจหญิง (2538 ช่อง 7)
หักลิ้นช้าง (2539 ช่อง 7)
ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก (2539 ช่อง 5)
สันติบาล (2539 ช่อง 5)
ชุมทางเขาชุมทอง (2540 ช่อง 5)
เล็กใหญ่ไม่เกี่ยวขอเอี่ยวด้วยคน (2547 ช่อง 7)
นางฟ้าเดินดิน (2547 ช่อง 7)
โม่งแดง (2548 ช่อง 7)
นักสู้นอกสังเวียน (2551 ช่อง 5)
เย้ยฟ้าท้าดิน (2551 ช่อง 7)
ราชินีจ้าวสังเวียน (2552 ช่อง 5)
รหัสโลกันตร์ (2552 ช่อง 7)
ป่านางเสือ (2554 ช่อง 7)
เสือสั่งฟ้า (2554 ช่อง 7)
นางฟ้ากับมาเฟีย (2554 ช่อง 7)
ป่านางเสือ 2 (2555 ช่อง 7)
เสือสั่งฟ้า 2 พยัคฆ์ผยอง (2556 ช่อง 7)
นักสู้มหากาฬ (2556ช่อง 7) (ผลิตให้กับ บริษัท มุมใหม่ จำกัด )
กุหลาบไฟ (2556 ช่อง3) (ผลิตให้กับ บริษัท ดีวันทีวี จำกัด)
ตะพดโลกันตร์ (2558 ช่อง 7)
เหยี่ยวรัตติกาล (2559 ช่อง 7)
ฝ่าดงพยัคฆ์ (2562 ช่อง พีพีทีวี)
ยอดรักนักรบ (2562 ช่อง 7)
สัจจะในชุมโจร (เสือสั่งฟ้า 3) (2565 ช่อง 7)

สืบสวนสอบสวน / บู๊แอ็คชั่น / คอเมดี้

[แก้]
ชื่อเรื่อง
เจ้าสาวสลาตัน (2557 ช่อง 7)
คู่หูคู่เฮี้ยน (2557 ช่อง 7)
คู่หูคู่เฮี้ยน 2 (2558 ช่อง 7)

ดราม่า / บู๊แอ็คชั่น / โรแมนติก / คอมเมดี

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (2544 ช่อง 7 บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด

และ 2559 ช่อง 3 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด)

ปิ่นอนงค์ (2555 ช่อง 7 ผลิตให้กับ บริษัท มุมใหม่ จำกัด , 2567 ผลิตให้กับ บริษัท ดีวันทีวี จำกัด)
จากศัตรูสู่หัวใจ (2563 ช่อง 7 ผลิตให้กับ บริษัท มุมใหม่ จำกัด)

แฟนตาซี / ไสยศาสตร์ / พีเรียดย้อนยุค

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ตุ๊กแก (2526 ช่อง 7)
สุสานคนเป็น (2534 ช่อง7 สร้างใหม่ปี 2545 และปี 2557 ช่อง 7)
แม่เบี้ย (2534 ช่อง 7)
ทายาทอสูร (ช่อง 5 (พ.ศ. 2535), นำกลับมาทำใหม่และฉายทางช่อง 7 และออกอากาศซ้ำทางมิราเคิล (พ.ศ. 2544) และสร้างใหม่เพื่อมาฉายทางช่อง3 (พ.ศ. 2559))
เทพบุตรสุดเวหา (ช่อง 5, ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล และสร้างใหม่และฉายทางช่อง3 พ.ศ. 2558)
ห้องหุ่น (ช่อง 7) นำกลับมาทำใหม่ ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ฉายทางช่อง3 พ.ศ. 2558)
คนทะเล (ช่องไอทีวี)
สัญญาณลวง (ช่อง 5)
สุรีย์รัตน์ล่องหน (2532-2533 ช่อง 5)
สายฟ้าสลาตัน (ช่อง 7)
เพชรตาแมว (ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล)
ผีพยาบาท (ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล)
บ้านผีเพี้ยน (ช่อง 7)
เขี้ยวเสือไฟ (ช่อง 9)
หุบเขากินคน (ช่อง 7)
นกออก (ช่อง 7)
คนส่งกรรม (ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางไอทีวี และมิราเคิล)
ธิดาซาตาน (2549 ช่อง 7, 2564 พีพีทีวี)
ปอบผีฟ้า (2552 ช่อง 7)
สุดหัวใจเจ้าชายเทวดา (2554 สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์)
ธิดาพญายม (2556 ช่อง 7)
วัยมันพันธุ์อสูร (2557 ช่อง 7)
เจ้านาง (2537 ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล จากนั้นสร้างใหม่และฉายทางช่อง 7 พ.ศ. 2558)
จุมพิตพยัคฆ์สาว (2558 ช่อง 7)
เงินปากผี (พ.ศ. 2528 ช่อง 5, พ.ศ. 2549 ไอทีวี, และสร้างใหม่ พ.ศ. 2561 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ช่อง3 )

สิ่งลี้ลับ

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ปีศาจในโลงศพ (2532 ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล)
ห้องหุ่น (2546 ช่อง 7 และนำมาทำซ้ำอีกครั้งในปี 2558 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ช่อง 3)
วังนางโหง (2560 ช่อง 7 (ดัดแปลงจากหนังสือนวนิยายชุดเบญจมรณา))
ตุ๊กตาผี (2562 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ช่อง 3 (ดัดแปลงจากละครวิทยุเรื่องตุ๊กตาหยก))
ผมอาถรรพ์ (2563 ในนาม บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด ช่อง 3 (ดัดแปลงจากหนังสือนวนิยายชุดวิกฤตรัก))

พีเรียดย้อนยุค / ดราม่า / บู๊แอ็คชั่น

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ชาติมังกร (ช่อง 5, นำกลับมาทำใหม่และฉายทางช่อง 7 ปี 2543)
เพลิงพระนาง (พ.ศ. 2539 ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล และนำมาสร้างใหม่ ออกอากาศทางช่อง 7 พ.ศ. 2560)
นายขนมต้ม (2539 ช่อง 7)

สร้างจากชีวิตจริง

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ตี๋ใหญ่ (ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล)
โผน กิ่งเพชร (ช่อง 5)
ซีอุย (ช่อง 5 ออกอากาศซ้ำทางช่องมิราเคิล)

สร้างสรรค์สังคม

[แก้]
ชื่อเรื่อง
บาปบริสุทธิ์ (ช่อง 5) (นำกลับมาสร้างใหม่ทางช่อง7 ในชื่อ บาปบริสุทธิ์ LIVE ปี 2560)
แก้วจอมแก่น (ช่อง 5)
อนันตาลัย (ไอทีวี)
รายากูนิง (2551) (ไทยพีบีเอส)
ละครชีวิตจริง ชุด 84000 (2554) ช่อง 5
ลูกผู้ชายหัวใจทองคำ (2562) ช่อง 5 โดย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ไวรัส วัยเลิฟ (2564) ช่อง 7 เอชดี
พิภพมัจจุราช (2566, 2567) ช่อง 7 เอชดี และ ช่อง 3 เอชดี

เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัติย์

[แก้]
ชื่อเรื่อง
กษัตริยา/มหาราชกู้แผ่นดิน ละครพระราชประวัติของ "พระวิสุทธิกษัตรีย์" และ "พระสุพรรณกัลยา" (ช่อง 5)
ละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ชุด "รักพระเจ้าอยู่หัว" เรื่อง "ผู้ให้" (ช่อง 7)
ละครเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ชุด "ใต้ร่มพระบารมี" เรื่อง "เพลงแห่งแสงตะวัน"   (ช่อง 7 ปี 2559)
ละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ต้นน้ำของแผ่นดิน” (ช่อง 5 ปี 2559)
ละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ป่ารักน้ำ” (ช่อง 5 ปี 2560)
ละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ป่ารักษ์ช้าง” (ช่อง 5 ปี 2561)
ละครเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ป่าปลูกรัก” (ช่อง 5 ปี 2562)
ละครชุด บ้านของเรา เรื่อง “ลูกผู้ชายหัวใจทองคำ” ชุดบ้านของเรา (ช่อง 5 ปี 2562)

ผลงานอื่น ๆ

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
ชื่อเรื่อง
ผีพยาบาท (2503)
ลูกกรอก (2506)
เย้ยฟ้าท้าดิน
เพชรตาแมว (2515)
แม่เบี้ย (2532)
วิมานมะพร้าว (2534)
กาเหว่าที่บางเพลง (2537)
ท้าฟ้าลิขิต (2540)
สุริโยทัย (สร้างร่วมกับ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชันแนล) (2544)
ก้านกล้วย (สร้างร่วมกับ สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชันแนล) (2549)
ก้านกล้วย 2 (2552)
คนไททิ้งแผ่นดิน (2553)
อินทรีแดง (สร้างร่วมกับ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น) (2553)
เอคโค่ จิ๋วก้องโลก (2555)
กฤๅฏาภินิหาร 8-14 ธันวาคม 2555 (ผลิตในโครงการภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ "เทิดเกล้า") (2555)
ห้องหุ่น (2557)
อวสานโลกสวย (2559)
มือปราบสัมภเวสี The Lost Case (2560)
The Up Rank อาชญาเกม (สร้างร่วมกับ เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล) (2565)
ธี่หยด 2 (สร้างร่วมกับ เมเจอร์ จอยน์ ฟิล์ม และ บีอีซีฟิล์ม) (2567)
สุสานคนเป็น (Tomb Watcher) (2568)

การ์ตูนแอนิเมชันที่ร่วมผลิตกับต่างประเทศ

[แก้]
ชื่อเรื่อง
เซเลอร์มูน (ภาคR) (ร่วมงานกับโตเอ คาบูกิ ไคซะ)
ดราก้อนบอล Z (ร่วมงานกับโตเอ คาบูกิ ไคซะ)
ชินจังจอมแก่น (ลิขสิทธิ์จาก ทีวีอาซาฮี)
โดราเอมอน เดอะมูฟวี่ (สิขสิทธิ์จาก โตโฮ) (และร่วมงานกับ เอ็ม พิคเจอร์ส)

โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม

[แก้]
  • กันตนา ได้จัดตั้ง บริษัท มิก้า มีเดีย จำกัด ร่วมกันกับ บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด ในประเทศกัมพูชา เพื่อจัดตั้ง สถานีโทรทัศน์กองยุทธพลเขมระภูมินทร์ช่อง 5 โดยได้รับสัมปทานจาก กองทัพบกกัมพูชา หรือ กระทรวงกลาโหมกัมพูชา โดยส่งโทรทัศน์สีภาคพื้นดินในระบบวีเอชเอฟ ช่อง 5 (VHF - Band 2 - Ch.5) จากราชธานีพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และออกอากาศผ่านดาวเทียม ไทยคม 5 กันตนาได้เป็นเจ้าของช่องที่ประเทศเวียดนามอีก 1 ช่อง บริหารงานกว่า 15 ปีและได้ประมูลทีวีประเทศพม่าได้อีก5ช่อง สัญญา15 ปี
  • กันตนา ก่อตั้งทีวีดาวเทียม ช่อง มิราเคิล ซึ่งเป็นช่องแนวลี้ลับทั้งหมด
  • กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกันเปิด บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด โดยได้ก่อตั้งช่อง ช่องเอ็มชาแนล (M Channel), ช่องบูมเมอแรง (Boomerang Thailand) ช่องทีเอ็นที (TNT) และช่องทูนามิ

กลุ่มธุรกิจและบริษัทในเครือกันตนา

[แก้]

1.ธุรกิจคอนเทนต์และโปรดักชั่น (Content & Production)

[แก้]
  1. บริษัท กันตนา มีเดีย แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
  2. บริษัท กันตนา มูฟวี่ ทาวน์ (2002) จำกัด
  3. บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด
  4. บริษัท กันตนา โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด
  5. บริษัท สาระดี จำกัด
  6. บริษัท มีคุณอนันต์ จำกัด
  7. บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด
  8. บริษัท กันตนา มิวสิค ดิสทริบิวชั่น จำกัด

2.ธุรกิจโปรดักชั่น เซอร์วิส (Production Service)

[แก้]
  1. บริษัท กันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
  2. บริษัท กันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (เวียดนาม) จำกัด
  3. บริษัท กันตนา โปรดักชั่น เซอร์วิส จำกัด
  4. บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด
  5. บริษัท กันตนา แอนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด
  6. บริษัท กันตนา เจแปน คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด

3.ธุรกิจเอ็ดดูเคชั่น (Education & Admins)

[แก้]
  1. บริษัท กันตนา เอ็ดดูเทนเมนท์ (อินเตอร์เนชั่นเนล) จำกัด
  2. สถาบันกันตนา

4.ธุรกิจอีเวนท์และนิวบิส (Event & New Biz)

[แก้]
  1. บริษัท กันตนา สปอร์ต แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
  2. บริษัท เค พรีแคสท์ คอนสตรั๊คชั่น จำกัด

นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่แยกตัวออกมาคือ บริษัท มุมใหม่ จำกัด บริหารงานโดยธีระศักดิ์ พรหมเงิน ผลิตละครให้ช่อง 7 และ บริษัท ดีวันทีวี จำกัด บริหารงานโดยพรสุดา ต่ายเนาวคง ผลิตละครให้ช่อง 3

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 บัณฑิตกุล, อรวรรณ (July 2003). "52 ปีกันตนากรุ๊ป". นิตยสารผู้จัดการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
  2. "เสียงที่ก้องกังวานกว่ากึ่งศตวรรษ วิถีวิจัยสร้างสรรค์บนงานประพันธ์ สมสุข กัลย์จาฤก
  3. 3.0 3.1 3.2 "ระลึกละครกันตนา-ททบ.5". โอเคเนชั่น. 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 ""กันตนา" เก้าอี้สามขาในโลกธุรกิจบันเทิงตราบเท่าที่ยังเข้าใจโลกของการเปลี่ยนแปลง.…THE SHOW MUST GO ON". นิตยสารผู้จัดการ. December 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
  5. ""กันตนา" ปลุกกระแสแอนิเมชั่นไทย ส่ง "ก้านกล้วย" โกอินเตอร์ฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "เจ็ดสีสี่ทศวรรษ". โอเคเนชั่น. 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]