การฉีก

Mending the Tears, ภาพพิมพ์โดย Winslow Homer (1888), พิพิธภัณฑ์ศิลปะลอสแอนเจลิสเคาน์ตี

การฉีก คือการทำลายวัสดุออกเป็นชิ้น ๆ โดยใช้แรงโดยไม่ใช้เครื่องมือตัด รอยฉีกในกระดาษ, ผ้า, หรือวัตถุอื่น ๆ ที่คล้ายกัน อาจเป็นผลจากความพยายามโดยเจตนาด้วยมือเปล่าหรือเป็นอุบัติเหตุ แตกต่างจากการตัดซึ่งมักจะเป็นเส้นตรงหรือมีแบบแผนที่ควบคุมด้วยเครื่องมือเช่น กรรไกร รอยฉีกมักจะไม่เรียบและส่วนใหญ่มักไม่ได้วางแผนไว้ ยกเว้นการฉีกตามเส้นประ เช่นที่พบในม้วนกระดาษชำระหรือกระดาษเช็ดมือ ซึ่งถูกตัดบางส่วนมาก่อนแล้วทำให้การฉีกจะได้เส้นตรง

วัสดุต่าง ๆ มีความเปราะบางต่อการฉีกแตกต่างกัน วัสดุบางชนิดอาจทนทานต่อการฉีกเมื่ออยู่ในรูปแบบสมบูรณ์ แต่เมื่อมีการตัดหรือฉีกเล็กน้อย วัสดุนั้นจะถูกทำให้เสียหาย และความพยายามในการฉีกต่อเนื่องตามเส้นนั้นจะใช้แรงน้อยลง

วัสดุสามารถถูกวัดคุณสมบัติต้านทานการฉีกได้ด้วยวิธีทดสอบมาตรฐาน มีมาตรฐานหลายแบบที่ใช้ทั่วโลก ตัวแปรที่มีผลต่อความแข็งแรงในการฉีกได้แก่ รูปทรงของชิ้นทดสอบ, ความเร็วในการยืด, และอุณหภูมิ[1]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rubber, vulcanized or thermoplastic -- Determination of tear strength -- Part 1: Trouser, angle and crescent test pieces". BS ISO 34-1:2004. 2004. p. 7.