การทดลองรีคัฟเวอรี หรือการทดลองประเมินผลแบบสุ่มของการรักษาโรคโควิด-19 (Randomised Evaluation of COVID-19 therapy (RECOVERY) Trial) เป็นการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่สำหรับผู้ป่วยในสหราชอาณาจักรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ที่มีการติดเชื้อที่รุนแรง[1][2][3] จนถึงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การทดลองประกอบด้วย แนวทางที่ได้รับการเสนอหกอย่าง คือ การนำยาเก่า 5 ชนิด มาใช้รักษาโควิด-19 และการรักษาโดยใช้น้ำเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน (convalescent plasma)[1]
การรักษาต่อไปนี้ได้รับการจัดสรรโดยการสุ่มใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรง:[1]
การทดลองรีคัฟเวอรี เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่[1][6] เมื่อผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 เข้าร่วมในการทดลอง พวกเขาจะถูกสุ่มโดยอัตโนมัติเพื่อรับการรักษาแนวทางใดแนวทางหนึ่ง (หรืออาจได้รับการรักษาตามมาตรฐานปรกติ) วัตถุประสงค์หลักของการทดลองคือ "ให้การประเมินที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ ผลของการรักษาที่มีต่อการเสียชีวิตทุกสาเหตุที่ 28 วันหลังจากการสุ่มครั้งแรก"[1][6] เป็นการทดลองแบบเปิด ซึ่งผู้ที่ได้รับการรักษา และแพทย์ที่เข้าร่วมทั้งคู่ต่างทราบว่าการรักษาแบบใดที่กำลังดำเนินการอยู่[1]
เป็นการทดลองทางคลินิกแบบปรับได้หลายแนวทาง สามารถเพิ่มการรักษาใหม่เข้าไปในการศึกษาวิจัยในขณะที่ดำเนินไปและ "แนวทาง" การรักษาอื่น ๆ จะไม่ใช้กับผู้ลงทะเบียนใหม่เพื่อความปลอดภัย[3]
โครงการวิจัยได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดภาระการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งในเวลานั้น (มีนาคม พ.ศ. 2563)[7] กำลังเผชิญกับการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาจะมีเป็นจำนวนมาก[8]
การทดลองดำเนินการโดยภาควิชาสุขภาพประชากรนัฟฟิลด์ (Nuffield Department of Population Health) ของคณะแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด นำโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮอร์บี (Peter Horby) และโครงการยังเกี่ยวเนื่องกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายพันคนที่โรงพยาบาลบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) 175 แห่งในสหราชอาณาจักร[5][7]
การทดลองเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และมีระยะเวลาโดยประมาณจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564[6] จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 มีผู้ได้ลงทะเบียนร่วมการทดลองซึ่งเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรมากกว่า 11,800 ราย[4]
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563 การทดลองระบุว่าการใช้ไฮดรอกซีคลอโรวิน ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 ไม่มีประโยชน์ทางคลินิก[5]
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มีการตีพิมพ์ผลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยาเดกซาเมทาโซนในปริมาณต่ำ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงหนึ่งในสามในผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องการเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากการติดเชื้อจากโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง และลดลงหนึ่งในห้าสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาด้วยออกซิเจน แต่ไม่มีประโยชน์ (และมีความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย) ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการรักษา[9]
มีการแจ้งเตือนการรักษาในวันเดียวกันกับที่มีการประกาศข่าวผลการทดลอง[10] และหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ในสหราชอาณาจักร ได้แนะนำอย่างยิ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติทางคลินิกทั่วสหราชอาณาจักรในทันที แม้ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์[11]
อุปสงค์สำหรับยาเดกซาเมทาโซนเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากการตีพิมพ์รายงาน ฉบับก่อนตีพิมพ์ (preprint)[12]
จากผลการทดลองเบื้องต้นของโครงการรีคัฟเวอรี ที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐได้ออกเอกสารแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 โดยแนะนำให้ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ซึ่งใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่ต้องใช้การรักษาด้วยออกซิเจน และแนะนำให้งดใช้เดกซาเมทาโซน ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการรักษา[13]
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบผลการทดลองได้รายงานว่า ไม่มีประโยชน์ทางคลินิกจากการใช้ยาโลปินาเวียร์/ริโตนาเวียร์ ในผู้ป่วย 1,596 คนในโรงพยาบาล ที่ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงใน 28 วันของการรักษา[4] จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ผลการทดลองนี้ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่[4]