การุณยฆาต (ละครโทรทัศน์)

การุณยฆาต
ภาพนักแสดงนำเรื่อง “ธนภพ ลีรัตนขจร” และ “กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม” ทางด้านขวามือและชื่อซีรีส์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในลักษณะแบบอักษรทางด้านซ้ายมือในโปสเตอร์ของซีรีส์
EnglishSpare Me Your Mercy
แนว
สร้างโดยศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์
เค้าโครงจาก
“การุณยฆาต (Euthanasia)”
โดย
  • Sammon
  • (นามปากกาของ
    พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร)
บทละครโทรทัศน์ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์
กำกับโดยวรวิทย์ ขัตติยโยธิน
แสดงนำ
ดนตรีโดยเทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดWeight of the Crown
โดย Edward McCormack
(เฉพาะตอนที่ 1 และ 8)
ดนตรีแก่นเรื่องปิด“เพียงนิทาน”
ขับร้องโดย ธนนท์ จำเริญ
ผู้ประพันธ์เพลงอัจฉริยา ดุลยไพบูลย์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนซีรีส์1
จำนวนตอน8
การผลิต
ผู้จัดละคร
ควบคุมงานสร้างนิพนธ์ ผิวเณร
สถานที่ถ่ายทำ
  • ชัยชาญ ชาญประสิทธิ์
  • ศุภากร รินคำ
กำกับภาพ
  • ศรัณย์ ศรีสิงห์ชัย
  • พงศธร ตำคำดี
ลำดับภาพฟูลเฮ้าส์ โปรดักชั่น จำกัด
กล้องหลายกล้อง [en]
ความยาวตอน50 – 60 นาที
(โดยประมาณในแต่ละตอน)
บริษัทผู้ผลิตเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
ออกอากาศ
สถานีโทรทัศน์
ออกอากาศ28 พฤศจิกายน 2567 (2567-11-28) –
25 ธันวาคม 2567 (2567-12-25)
ละครที่เกี่ยวข้อง
พฤติการณ์ที่ตาย

การุณยฆาต (อังกฤษ: Spare Me Your Mercy, แปลตรงตัว'คุณเมตตาไว้ชีวิตฉัน')[1] เป็นละครชุด (ซีรีส์) แนวสืบสวน, ระทึกขวัญ และโรแมนซ์ดรามา ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปี พ.ศ. 2567 กำกับการแสดงโดย วรวิทย์ ขัตติยโยธิน ร่วมกับการพัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และเขียนบทฉบับซีรีส์โดย ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (ทั้งสองคนนี้เคยร่วมงานกันมาก่อนในละคร “กาหลมหรทึก” เมื่อปี พ.ศ. 2561) โดยมี นิพนธ์ ผิวเณร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตละคร และหนึ่งในผู้อำนวยการผลิตของบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้อำนวยการสร้างซีรีส์เรื่องนี้ แสดงนำโดย “ต่อ – ธนภพ ลีรัตนขจร” และ “เจเจ – กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม[2]

แก่นเรื่องของซีรีส์เรื่องนี้ จะถ่ายทอดมุมมองที่หลากหลายทางสังคมในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับการการุณยฆาตในกระบวนการรักษาพยาบาล และการรักษาในเชิงการบริบาลบรรเทา หรือที่นิยมเรียกกันว่า “การรักษาแบบประคับประคอง” (Palliative Care) เพื่อเป็นการจัดการชีวิตในช่วงเวลาบั้นปลายของผู้ป่วยในภาวะโรคร้ายแรงระยะสุดท้าย[3] โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาสังคมในเชิงภาพรวมร่วมกัน[4]

ซีรีส์เรื่องนี้เป็นผลงานลำดับที่ 5 ที่อยู่ในชุดผลงานต้นฉบับของวันดี (oneD Original) โดยแพร่ภาพผ่านทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล “ช่องวัน 31” ในฉบับตัดต่อเอาเนื้อหาบางส่วนออกไป (เหมาะสมกับผู้รับชมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป) รวมถึงทางแอปพลิเคชัน “วันดี (oneD)”[2] และเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของ “อ้ายฉีอี้”[5] ในรูปแบบเนื้อหาฉบับสมบูรณ์ (Uncut) ซึ่งแพร่ภาพในประเทศไทยตามช่องทางเหล่านี้ในจำนวนตอนทั้งสิ้น 8 ตอนเท่านั้น โดยเริ่มการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ของแต่ละสัปดาห์ในช่วงเวลาดังกล่าว) ทั้งนี้ มีการแพร่ภาพซีรีส์เรื่องนี้ในต่างประเทศด้วยอย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ตามช่องทางบริการสื่อที่ทางเจ้าของช่องทางแต่ละแหล่งนั้น ๆ ได้ประชาสัมพันธ์เอาไว้ด้วย[6]

อนึ่ง เนื้อหาของซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงเค้าโครงเรื่องมาจากนวนิยายไทย แนวสืบสวนและยาโออิในชื่อเรื่องเดียวกันนี้ ที่ประพันธ์โดย Sammon[7] ซึ่งเป็นนามปากกาของ พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) โดยมีผลงานนวนิยายไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างเรื่อง “พฤติการณ์ที่ตาย (Manner of Death)”, “ทริอาช (Triage)” และริเริ่มการวางโครงเรื่องรวมทั้งร่วมเขียนบทในซีรีส์ไทยเรื่อง “โฟร์มินิทส์ [en] (4MINUTES)”[8]

โครงเรื่อง

[แก้]

เนื้อหาของโครงเรื่อง[9] อ้างอิงมาจากปกหลังของฉบับนวนิยายดั้งเดิมของเรื่อง “การุณยฆาต (Euthanasia)” จากบทประพันธ์ของ Sammon โดยสำนักพิมพ์วันเดอร์วาย (Onederwhy) เล่มที่ 1 ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562[7] จากชุดนวนิยายในชื่อเรื่องเดียวกันนี้ที่วางจำหน่ายในรูปแบบเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน 2 เล่ม[10] ซึ่งเนื้อหาแบบสมบูรณ์ในฉบับซีรีส์ ผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ได้ตกลงยินยอมร่วมกับผู้ประพันธ์ฉบับนวนิยาย เพื่อขอดัดแปลงโครงเรื่องบางส่วนให้แตกต่างไปจากฉบับนวนิยายดั้งเดิมตามที่กล่าวมาข้างต้น[11]

การุณยฆาตกับการถกเถียงกันในสังคม


กรณีหนึ่ง ผ่านเรื่องราวของ “ร.ต.อ.วสันต์” หรือ “ผู้กองทิว”
ที่ย้ายกลับมาบ้านเกิด เพื่อมาดูแลแม่ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่วสันต์กลับมาไม่ทันดูใจแม่
ท่ามกลางความโศกเศร้า วสันต์ได้พบกับ “นพ.กันตภัทร” หรือ “หมอกันต์” หมอที่ดูแลแม่ในระยะสุดท้าย
หมอกันต์ทำให้วสันต์กลับมามีรอยยิ้มได้อีกครั้ง แต่วสันต์กลับสงสัยว่าการเสียชีวิตของแม่ไม่ใช่เรื่องปกติ อาจจะเป็นการฆาตกรรม

เมื่อคนที่เราอยากเชื่อใจ กลายเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม การตามหาความจริงครั้งนี้จะต้องแลกด้วยอะไร?

นักแสดง

[แก้]

ข้อมูลในรายชื่อนี้[12] เรียงลำดับชื่อของตัวละครโดยอ้างอิงจากลำดับการปรากฏชื่อของนักแสดงในกราฟิกส์เครดิตเปิดเรื่อง (Opening Title Sequence) รวมถึงอ้างอิงข้อมูลจากบทบรรยายใต้ภาพในภาษาไทย (ซับไตเติ้ล) จากทุก ๆ ตอนของฉบับซีรีส์ ที่แพร่ภาพจากบัญชีทางการของช่องวัน 31 ในเว็บไซต์ยูทูบ[13]

นักแสดงนำเรื่อง

[แก้]
  • ต่อ – ธนภพ ลีรัตนขจร ในบทบาท นพ.กันตภัทร อัครเมธี (หมอกันต์)
    แพทย์หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ครอบครัว ด้วยอดีตที่เจ็บปวด ทำให้เขาอยากเป็นหมอเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย เขาเชื่อว่ามนุษย์มีสิทธิ์เลือกที่จะตายอย่างมีศักดิ์ศรีและปราศจากความทรมาน
  • เจเจ – กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม ในบทบาท ร.ต.อ.วสันต์ คำบุญเรือง (ผู้กองทิว)
    ตำรวจหนุ่มผู้รักความถูกต้อง เขาตัดสินใจย้ายกลับมาประจำที่บ้านเกิดหลังสูญเสียแม่จากโรคมะเร็ง กระทั่งสงสัยว่าการตายของแม่อาจไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ และผู้ต้องสงสัยคนสำคัญอาจเป็นคนใกล้ตัว

นักแสดงสมทบ

[แก้]
  • คานธี วสุวิชย์กิต ในบทบาท ผอ.นพ.แพทย์สมศักดิ์ หล้าอมรชัย (ผอ.สมศักดิ์)
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่เข้มงวด เขายึดมั่นว่าหน้าที่หมอคือการช่วยชีวิต การการุณยฆาตจึงผิดทั้งจรรยาบรรณของแพทย์และผิดศีลธรรม แต่เบื้องหลังของเขาเองก็มีความลับดำมืดที่ไม่อาจบอกใครได้ซ่อนอยู่
  • ปริม – อัจฉรียา โพธิพิพิธธนากร ในบทบาท พญ.สุภาพร ดวงเนตร (หมอริน)
    แพทย์นิติเวชไฟแรง ที่เต็มไปด้วยความมั่นใจในตัวเอง เธอเลือกมาทำงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ด้วยจุดประสงค์ลึกลับที่ไม่มีใครรู้ นอกจากตัวเธอเอง
  • นัท – ศิวาวุธ ปุตระเศรณี ในบทบาท โจ (หมู่โจ)
    ตำรวจหนุ่มผู้ร่วมทำงานกับผู้กองทิวในแผนกสืบสวน
  • เฟรช – อริศรา วงษ์ชาลี ในบทบาท พย.อรอนงค์ แสงเป็ง (อร)
    หัวหน้าพยาบาลแผนกเวชศาสตร์ครอบครัว ผู้มากประสบการณ์ เธอเข้าใจความทุกข์ของผู้ป่วยและญาติอย่างลึกซึ้ง เป็นที่รักของทุกคนในโรงพยาบาล และพร้อมทุ่มเทสนับสนุนหมอกันต์ทุกอย่าง
  • เผือก – พงศธร จงวิลาส ในบทบาท ร.ต.ต.กวินทร์ ก่องทอง (หมวดกวิ้น)
    หัวหน้างานสอบสวน ตำรวจผู้มีนิสัยเรียบง่าย สบาย ๆ เป็นมิตรกับทุกคน ความเป็นกันเองทำให้เขาได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงานและชาวบ้าน เขาพร้อมทำทุกอย่างเพื่อยุติความอยุติธรรม
  • เอม – ภูมิภัทร ถาวรศิริ ในบทบาท ภก.ชาญชัย มณีรัตน์ (บอส)
    อดีตเด็กกำพร้าที่ต้องทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด ภายใต้บุคลิกที่เริงร่า เขาเก็บซ่อนความเจ็บปวดในอดีตเอาไว้

นักแสดงรับเชิญ

[แก้]
  • กัปตัน – ภูธเนศ หงษ์มานพ ในบทบาท นพ.พิรอด คุณาวรรณ
    อาจารย์แพทย์ของหมอกันต์ในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์
  • แฟรงค์ – ภคชนก์ โวอ่อนศรี ในบทบาท เป้
    ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโรคร้ายแรงระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นสามีของพยาบาลอรอนงค์
  • เพียว – ดวงใจ หิรัญศรี ในบทบาท รวีวรรณ คำบุญเรือง
    แม่ของผู้กองทิวที่อยู่ในภาวะโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โดยอยู่ในความดูแลการรักษาของหมอกันต์ ซึ่งก่อนที่ผู้กองทิวจะเดินทางกลับมาหาเธอที่บ้านเกิดของผู้กองทิวนั้น จู่ ๆ เธอก็เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน
  • ปู – ยะสะกะ ไชยสร ในบทบาท สม
    สัปเหร่อที่เป็นผู้ป่วยในความดูแลของหมอกันต์ เขามีภาวะโรควิกลจริต โดยมักจะนำสัตว์ต่าง ๆ มากักขังไว้ เพื่อสังเวยต่อ "ผีกะ" ตามความเชื่อของเขา รวมถึงรู้เห็นความลับบางอย่างเกี่ยวกับหมอกันต์ด้วย
  • จา – จารุนันท์ พันธชาติ ในบทบาท อุไร แดนสม
    ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายในความดูแลของหมอกันต์ และเป็นคู่หมั้นของครีม แฟนสาวของเธอด้วย
  • กีวี่ – รัชนีบูล เพียรวิกรัยโสภณ ในบทบาท สา
    พี่สาวของผู้กองทิว ในช่วงเวลาที่นางรวีวรรณ ผู้เป็นแม่ของทั้งคู่ป่วยอยู่ เธอจะช่วยเหลือหมอกันต์ในการดูแลแม่ของพวกเขา
  • ธนเชษฐ นามวงค์ (เหินฟ้า ล้านนา) ในบทบาท จาปา
    ผู้ป่วยโรคร้ายแรงระยะสุดท้ายในความดูแลของหมอกันต์ เป็นพรานป่าที่ชาวบ้านในกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอเวียงสิงห์[a] จังหวัดลำปาง เคารพนับถือเป็นอย่างมาก
  • พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร ในบทบาทแพทย์หญิงในการดูแลการรักษาอาการโรคมะเร็งระยะสุดท้ายของ นพ.พิรอด[15]

การผลิต

[แก้]

การพัฒนา

[แก้]

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือในนามปากกา Sammon เจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิมของเรื่อง “การุณยฆาต (Euthanasia)”[7] ได้ประกาศสิทธิ์ในการนำโครงเรื่องไปดัดแปลงเป็นซีรีส์อย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยทางบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้สิทธิ์นั้นไป[16] รวมถึงข้อความจากผู้เขียนบทฉบับซีรีส์นี้คือ ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทละครทางโทรทัศน์เรื่อง “กาหลมหรทึก” (ดัดแปลงเค้าโครงเรื่องดั้งเดิมจากฉบับนวนิยายในชื่อเดียวกันนี้ ที่ประพันธ์โดย “ปราปต์”) ที่ประกาศว่าได้ร่วมเขียนบทซีรีส์เรื่องนี้ด้วย ในช่วงเวลาเดียวกัน[17]

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 บัญชีทางการของช่องวัน 31 และบัญชีทางการของแอปพลิเคชันวันดี ในเว็บไซต์ยูทูบ ได้เผยแพร่วิดีโอตัวอย่างซีรีส์ในชุด “ผลงานต้นฉบับของวันดี (oneD Original)” ความยาว 1 นาที 45 วินาที ซึ่งมีการแทรกตัวอย่างขนาดสั้นในฉบับซีรีส์ของเรื่องการุณยฆาตด้วย เท่ากับว่ามีการประกาศนักแสดงนำอย่างเป็นทางการแล้ว นั่นคือ “ต่อ – ธนภพ ลีรัตนขจร” และ “เจเจ – กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม”[18] และจะมีงานประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของซีรีส์เรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ร่วมกับซีรีส์เรื่องอื่น ๆ ด้วย ในงานประชาสัมพันธ์ที่มีชื่อว่า “oneD ORIGINAL 2024 PRESS CONFERENCE” ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการเผยแพร่ชุดวิดีโอตัวอย่างของซีรีส์แต่ละเรื่องฉบับนำเสนอแนวคิดเพื่อขอทุนสนับสนุน จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นมีตัวอย่างซีรีส์เรื่องการุณยฆาตด้วย ในความยาว 2 นาที 17 วินาที เผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบจากบัญชีทางการของช่องวัน 31[19] รวมทั้งมีการเปิดเผยรายละเอียดต่าง ๆ ของซีรีส์เรื่องการุณยฆาตในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Spare Me Your Mercy” รวมถึงเปิดเผยข้อมูลของนักแสดงเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง และผู้กำกับฉบับซีรีส์ นั่นคือ วรวิทย์ ขัตติยโยธิน จากผลงานการกำกับการแสดงของละครโทรทัศน์เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น เช่น “คุณชาย (To Sir, With Love)”, “ปาฏิหาริย์รักร้อยปี (Century of Love)” และ “กาหลมหรทึก”[2]

โดยขั้นตอนในการพัฒนาบทนี้ ศิริลักษณ์ได้ตกลงยินยอมขอดัดแปลงโครงเรื่องบางส่วนในการเขียนบทของฉบับซีรีส์ให้แตกต่างไปจากฉบับนวนิยายดั้งเดิมในชื่อเรื่องเดียวกัน ร่วมกับ พญ.อิสรีย์ ผู้เป็นเจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิม โดยศิริลักษณ์กล่าวในบทสัมภาษณ์ต่อทางผู้สื่อข่าวเอาไว้ว่า[4]

พญ.อิสรีย์ ให้ความคิดเห็นต่อการนำโครงเรื่องบางส่วนจากนวนิยายต้นฉบับสู่การดัดแปลงในฉบับซีรีส์ไว้ว่า[11]

ก่อนการผลิต

[แก้]

ในส่วนของการประชุมเพื่อวางแผนการถ่ายทำและวางบทบาทของตัวละครของฉบับซีรีส์ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่ง นิพนธ์ ผิวเณร ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตละคร บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาร่วมวางแผนการผลิตซีรีส์, วางบทบาทของตัวละคร และการถ่ายทำกับ ศิริลักษณ์ ในฐานะผู้พัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ ร่วมกับ วรวิทย์ ในฐานะผู้กำกับการแสดง พร้อมทั้งกลุ่มนักแสดงทั้งหมดได้เข้ามาอ่านบทของแต่ละตัวละครในซีรีส์เรื่องนี้ด้วย[21]

การถ่ายทำ

[แก้]

ซีรีส์เรื่องนี้เริ่มต้นการถ่ายทำฉบับสมบูรณ์ในวันแรกเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[22] จนถึงวันยุติการถ่ายทำเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567[23] โดยทีมงานซีรีส์ใช้สถานที่ถ่ายทำส่วนใหญ่ในหลาย ๆ พื้นที่ของจังหวัดลำปาง[24] และจังหวัดเชียงใหม่ เช่น บ้านป่าเหมี้ยง ในจังหวัดลำปาง ซึ่งในซีรีส์เรื่องนี้นำเสนอว่าพิ้นที่แห่งนี้คือบ้านเกิดของหนึ่งในตัวละครนำเรื่อง[25] เป็นต้น

ทั้งนี้ พญ.อิสรีย์ และ นพ.พงศกร จินดาวัฒนะ ได้เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะฉากที่มีการอ้างอิงข้อมูลทางการแพทย์ร่วมด้วย[c]

หลังการผลิต

[แก้]

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 บัญชีทางการของแอปพลิเคชันวันดี ในเว็บไซต์ยูทูบ ได้เผยแพร่วิดีโอตัวอย่างซีรีส์เรื่องนี้ในฉบับสมบูรณ์เพื่อพร้อมออกอากาศ ความยาว 1 นาที 55 วินาที[27] โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ คือ จำนวนตอนทั้งหมดของซีรีส์เรื่องนี้ รวมถึงช่วงเวลาการออกอากาศครั้งแรกของแต่ละตอนในรูปแบบตัดต่อ ทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และบริการสื่ออื่น ๆ (หรือที่เรียกช่องทางนี้กันโดยทั่วไปว่า “ดูละครหรือซีรีส์ย้อนหลัง”) ในรูปแบบฉบับสมบูรณ์ (Uncut) ทั้งหมดเพียง 8 ตอนเท่านั้น วันละ 1 ตอนในการออกอากาศตามที่ทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในแต่ละแหล่งเป็นผู้กำหนด ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ มีการจัดงานประชาสัมพันธ์ซีรีส์เรื่องนี้ในฉบับสมบูรณ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567[28]

ซีรีส์เรื่องนี้ได้ทีมงานจากหลากหลายสายงานด้านโปรดักชัน มาร่วมสร้างสรรค์การผลิตผลงานให้กับซีรีส์เรื่องนี้ เช่น บริษัท “สวัสดีทวีสุข จำกัด” ในด้านงานครีเอทีฟ, บริษัท “คัลเลอ ฟิล์ม จำกัด” ในด้านควบคุมศิลปกรรม, บริษัท “ฟูลเฮ้าส์ โปรดักชั่น จำกัด” ในด้านงานลำดับภาพ,[29] บริษัท “ไวท์ ไลท์ สตูดิโอ จำกัด” ทางด้าน Digital intermediate และบริษัท “กบาลใส อนิเมชั่น จำกัด” ทางด้านเทคนิคพิเศษทางภาพ เช่น ฉากที่ในบริบทด้านภาพ มีเนื้อหาละเอียดอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหา[c]

เพลงประกอบ

[แก้]

ด้านเพลงขับร้องประกอบซีรีส์เรื่องนี้ เป็นผลงานการประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ และเรียบเรียงโดย ชลทัศน์ ชาญศิริเจริญกุล ในชื่อเพลง “เพียงนิทาน” ขับร้องโดย ธนนท์ จำเริญ[30] ทั้งนี้ มีการเผยแพร่เพลงดังกล่าวในฉบับสมบูรณ์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ทางบริการสตรีมมิงเพลงในแต่ละแหล่ง[31] แล้วตามมาด้วยฉบับมิวสิกวิดีโอ ความยาว 4 นาที 21 วินาที โดยเผยแพร่ในบัญชีทางการของ ONE MUSIC ทางเว็บไซต์ยูทูบ ในวันเดียวกัน[32]

อนึ่ง เนื้อหาบางช่วงบางตอนในซีรีส์เรื่องนี้ มีการนำเพลง “สายลมเหนือ”[d] ฉบับที่ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง[34] มาแทรกเพื่อเพิ่มมิติการเล่าเรื่องของเนื้อหาเอาไว้ด้วย[13]

ดนตรีประกอบ

[แก้]

ทีมงานจาก Banana Sound Studio ของ เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องของละคร “เลือดข้นคนจาง” มารับผิดชอบด้านดนตรีประกอบ (สกอร์) ให้กับซีรีส์เรื่องนี้[35] ทั้งนี้ ในส่วนของดนตรีเปิดเรื่องในแต่ละตอนจะแตกต่างกันไป ตามมิติทางด้านอารมณ์ของเนื้อหาในตอนนั้น ๆ[13] โดยรายชื่อดนตรีเปิดเรื่องทั้งหมดของซีรีส์ มีข้อมูลตามที่ระบุไว้ภายในตาราง ดังนี้

ตอนที่ วันที่ออกอากาศหรือแพร่ภาพ ชื่อเพลงประกอบในส่วนดนตรีเปิดเรื่อง ผู้ประพันธ์ ความยาว (นาที) เจ้าของลิขสิทธิ์
1 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 Weight of the Crown[36] Edward McCormack 2:32 Fired Earth Music.Ltd
2 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 รอเพิ่มเติมข้อมูล
3 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
4 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567
5 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพียงนิทาน[31] (ฉบับบางส่วน) อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ 4:16 GMM Music PCL.
6 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567 รอเพิ่มเติมข้อมูล
7 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567
8 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 Weight of the Crown Edward McCormack 2:32 Fired Earth Music.Ltd

แก่นเรื่อง

[แก้]

พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือในนามปากกา Sammon เจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิมของซีรีส์เรื่องนี้ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการถ่ายทอดแก่นเรื่องจริง ๆ ไว้ว่า[37]

ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้พัฒนางานสร้าง (โชว์รันเนอร์) และผู้เขียนบทฉบับซีรีส์ ได้กล่าวถึงจุดประสงค์ในการถ่ายทอดแก่นเรื่องจริง ๆ ของซีรีส์เรื่องนี้ไว้ว่า[4]

คำวิจารณ์

[แก้]

การเผยแพร่และการตอบรับจากผู้ชม

[แก้]

ลักษณะการออกอากาศ

[แก้]

ข้อมูลที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ อ้างอิงมาจากการประชาสัมพันธ์ของทางเจ้าของช่องทางบริการสื่อในแต่ละแหล่งนั้น ๆ สำหรับการออกอากาศซีรีส์เรื่องนี้ทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และแพร่ภาพในบริการสื่อผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยการออกอากาศในครั้งแรกนั้นเริ่มต้นจากทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องวัน 31 ก่อน แล้วจึงเริ่มการแพร่ภาพผ่านช่องทางบริการสื่อต่าง ๆ หลังจากนั้น ตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในตาราง ดังนี้

พื้นที่การรับชม สถานีโทรทัศน์
และบริการสื่อ
เวลาที่เริ่มการแพร่ภาพ จำนวนตอนทั้งหมด รูปแบบของเนื้อหา
GMT+07:00
(UTC+07:00)
ช่วงระยะของวัน
ที่เริ่มต้นการแพร่ภาพตอนใหม่
ประเทศไทย ช่องวัน 31 (one31)[9] 20:30 น.
จนถึง 21:30 น.
(โดยประมาณ
และรวมช่วงเวลาที่มีโฆษณาคั่น)
28 พฤศจิกายน
จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567
8 ตอน ฉบับตัดต่อ
เอาเนื้อหาบางส่วนออกไป
(เหมาะสมกับผู้รับชม
ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป
)
แอปพลิเคชันวันดี[38] 20:30 น. ฉบับสมบูรณ์
(Uncut)
อ้ายฉีอี้ (iQIYI)
ทั้งทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน[5]
22:00 น.
หลายประเทศ
ยูทูบ (YouTube)
(ยกเว้นในประเทศไทย, เกาหลีใต้,
ญี่ปุ่น และฮ่องกง)[39]
ประเทศญี่ปุ่น บลูมพลัส (bloom+)
ในแอมะซอนไพรม์วิดีโอ
(Amazon Prime Video)[40]
00:30 น.

เรตติ้ง

[แก้]

ข้อมูลที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ อ้างอิงมาจากการแพร่ภาพซีรีส์เรื่องนี้เฉพาะทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ช่องวัน 31 นำมาออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ นั่นคือ ตั้งแต่เวลา 20:30 น. จนถึง 21:30 น. (โดยประมาณ และรวมช่วงเวลาที่มีโฆษณาคั่น) ทุกวันพุธ และวันพฤหัสบดี ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ในฉบับตัดต่อเอาเนื้อหาบางส่วนออกไป (เหมาะสมกับผู้รับชมที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป) รวมทั้งหมด 8 ตอนจบเท่านั้น โดยมีรายละเอียดของตัวเลขเรตติ้งโดยเฉลี่ยไม่ปัดเศษ ที่อ้างอิงข้อมูลมาจากการสำรวจเรตติ้งของ AGB Nielsen [en] เฉพาะการออกอากาศทั่วประเทศไทยทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ในกลุ่มผู้ชมตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป[41]

ซึ่งตัวเลขค่าหน่วยเปอร์เซนต์ตามที่แสดงไว้ในตาราง คือตัวเลขค่าเรตติ้งที่เก็บสำรวจมาได้ โดย ค่าตัวเลขสูงสุดจะแสดงเป็นสีฟ้าตัวหนา และ ค่าตัวเลขต่ำสุดจะแสดงเป็นสีแดงตัวหนา ตามที่ระบุไว้ภายในตารางนี้ ดังนี้

ตอนที่ วันที่ออกอากาศ AGB Ratings [en]
ทั่วประเทศ
1 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 2.200%
2 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 1.801%
3 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567 1.788%
4 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567 2.045%
5 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 2.221%
6 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567 1.836%
7 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 1.868%
8 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 1.743%
ค่าเฉลี่ยต่อตอน 1.93775%

ความคิดเห็นจากผู้ชม

[แก้]

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

เนื่องจากมีประชาชนให้ความสนใจต่อประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการการุณยฆาต และการรักษาแบบประคับประคอง รวมถึงวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ในกลุ่มเวชศาสตร์ครอบครัวที่ถ่ายทอดเนื้อหาผ่านซีรีส์เรื่องนี้ ในภายหลังจากที่ซีรีส์เรื่องนี้เริ่มออกอากาศไปแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงได้เกิดสิ่งที่สืบเนื่องจากซีรีส์เรื่องนี้เกิดขึ้นมา ดังนี้

ด้านวิชาการ

[แก้]
  • งานสัมมนาในรูปแบบพอดแคสต์ทางระบบออนไลน์ ในหัวข้อ “ทำความรู้จัก ‘Palliative Care’ ผ่านซีรีส์ ‘การุณยฆาต (Spare Me Your Mercy)’” ภายใต้ความร่วมมือของกลุ่ม Peaceful Death ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี และทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องวัน 31 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567 รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดและบันทึกสำเนาวิดีโอของงานสัมมนาดังกล่าวสำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะชนผ่านบัญชีทางการของช่องวัน 31 ในเว็บไซต์ยูทูบ และบัญชีทางการของช่องวัน 31, ข่าวช่องวัน และกลุ่ม Peaceful Death ในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก โดยเป็นการเชิญบุคลากรจากกลุ่ม Peaceful Death มาร่วมสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือในนามปากกา Sammon เจ้าของบทประพันธ์ฉบับนวนิยายดั้งเดิม, วรวิทย์ ขัตติยโยธิน ผู้กำกับซีรีส์, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทซีรีส์, ตัวแทนผู้ประกาศข่าวจากทางช่องวัน 31 และทีมแพทย์ด้านการดูแลประคับประคอง จาก Koon Palliative Care Hospital ในประเด็นความสำคัญของการบริบาลบรรเทา หรือ “การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care)” รวมทั้งหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดังกล่าว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายดำเนินการสัมมนาครั้งนี้คือ ปัญชาดา ผ่องนพคุณ[42]
  • งานสัมมนาทางระบบออนไลน์ ในหัวข้อ “การุณยฆาต: มุมมองจากแพทย์ จริยศาสตร์ และศาสนา” ภายใต้ความร่วมมือของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2568 รวมทั้งมีการถ่ายทอดสดสำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะชนผ่านบัญชีทางการในชื่อว่า “Muresd ศาสนาและจริยศาสตร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล” ทางเว็บไซต์เฟสบุ๊ค โดยเป็นการเชิญ พญ.อิสรีย์ มาร่วมสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณาจารย์จากหลักสูตรศาสนาและจริยศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเด็นที่ว่าด้วยกระบวนการทางการแพทย์อย่างการการุณยฆาตนั้น มีผลลัพธ์และข้อสรุปจากมุมมองทางด้านจริยศาสตร์และศาสนาในแต่ละศาสนาอย่างไรบ้าง โดยมีรายนามจากคณาจารย์ที่เข้ามาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้[43] มีดังนี้
  1. รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา
  2. ผศ.ดร.ประทีป ฉัตรสุภางค์
  3. อ.วรพงษ์ เจริญวงษ์
  • งานสัมมนาในชื่อว่า “การุณยฆาตกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต” ภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับกลุ่ม Peaceful Death ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องวัน 31 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2568 แล้วใช้อาคารศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นสถานที่จัดงานสัมมนา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับ “สิทธิการตายดี” ในประเทศไทย รวมทั้งเปิดพื้นที่สนทนาให้กับประชาชน บุคลากรสุขภาพ สหวิชาชีพ สร้างความเข้าใจในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมพิจารณาการปรับปรุงระบบกฎหมายและนโยบายการดูแลสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีหัวข้อในการสัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามลำดับ ภายในงานสัมมนาครั้งนี้[44] ดังนี้
  1. การเสวนาในหัวข้อ “จากวรรณกรรม ซีรีส์ ถึงบทสนทนาเรื่องการตายดีของสังคมไทย” โดย พญ.อิสรีย์ ร่วมกับ วรวิทย์, ศิริลักษณ์ และทีมงานผู้ผลิตซีรีส์เรื่องนี้
  2. การบรรยายในหัวข้อ “ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการุณยฆาตและการดูแลแบบประคับประคอง” โดย เอกภพ สิทธิวรรณธนะ นักจัดการความรู้โครงการชุมชนกรุณา จากกลุ่ม Peaceful Death ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี
  3. การเสวนาในหัวข้อ “ช่องว่างการดูแลแบบประคับประคองในระบบสุขภาพไทย สังคมไทยพร้อมหรือไม่กับการุณยฆาต” โดย พญ.อิสรีย์ ร่วมกับ พญ.จิราภา คชวัตร แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว ด้านการดูแลแบบประคับประคอง จากศูนย์ชีวาประทีป โรงพยาบาลสิรินธร, พิวัฒน์ ศุภวิทยา นักวิจัยนโยบายระบบสุขภาพ และ วรรณา จารุสมบูรณ์ ประธานโครงการชุมชนกรุณา จากกลุ่ม Peaceful Death ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี
  4. กิจกรรมเวิร์คช้อปรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ “พระราชบัญญัติอยู่ดีตายดี[45] โดยมีวิทยากรจากโครงการชุมชนกรุณา ของกลุ่ม Peaceful Death ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี

ในสื่ออื่น ๆ

[แก้]
  • การร่วมเข้ามาให้สัมภาษณ์ของ วรวิทย์ ร่วมกับ ศิริลักษณ์ และ พญ.อิสรีย์ ในรายการ “ตรงประเด็น” โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และแพร่ภาพในเว็บไซต์ของทางสถานีด้วย เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ในหัวข้อหลักคือ “เข้าถึง? สิทธิตายดี”[46]

เพิ่มเติม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เป็นอำเภอที่ทางทีมงานของซีรีส์เรื่องนี้สมมุติขึ้น อำเภอนี้ไม่มีอยู่จริงในจังหวัดลำปาง โดยในช่วงก่อนที่จะเริ่มออกอากาศตอนแรกทางสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ได้มีการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ตามช่องทางโซเชียลมีเดียของทางสถานี ซึ่งมีสื่อประชาสัมพันธ์ส่วนหนึ่งระบุถึงอำเภอดังกล่าวที่เกิดขึ้นภายในเนื้อหาของซีรีส์[14]
  2. มาจากคำว่า “No Children” หมายถึงฉากในละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน ในที่นี้อ้างอิงถึงฉากที่ในบริบทด้านภาพ มีเนื้อหาละเอียดอ่อน และฉากที่ในบริบทของตัวละครมีเพศสัมพันธ์[20]
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงจากการปรากฏชื่อของทีมงานและบริษัทต่าง ๆ ผู้ร่วมสร้างซีรีส์นี้ในกราฟิกส์เครดิตปิดเรื่อง (Closing Credits Sequence) ในทุก ๆ ตอนของฉบับซีรีส์[26]
  4. ทำนองเพลงนี้แรกเริ่มนั้นเป็นการนำเพลง “เดซีเบลล์ (ไบซีเคิลบิลต์ฟอร์ทู)” ที่ประพันธ์โดย แฮร์รี เดเคอร์ มาดัดแปลงและเรียบเรียงเนื้อเพลงภาษาไทยเข้าไปใหม่โดย ไสล ไกรเลิศ ในฉบับที่ขับร้องโดย วิเชียร ภู่โชติ เป็บฉบับแรก[33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. iQIYI US (4 ธันวาคม 2024), Spare Me Your Mercy will be released on iQIYI (ภาษาอังกฤษ), p. iQIYI US ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  2. 2.0 2.1 2.2 Smart (8 กุมภาพันธ์ 2024). "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ เปิดตัว oneD ORIGINAL ส่งซีรีส์ฉีกกรอบละครไทย 5 เรื่องลงแอป oneD การปรับตัวครั้งใหญ่ของสื่อทีวีสู่ Content Creator". marketingoops.com. Marketing Oops!. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  3. ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล (7 มีนาคม 2019). "เกิด แก่ ไม่อยากเจ็บ แล้วตายเลยดีไหม? มอง 'การุณยฆาต' แบบรอบด้าน". thestandard.co. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2024.
  4. 4.0 4.1 4.2 ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (8 ธันวาคม 2024). "เบื้องหลังมายา - 'ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์'แจงชัด ซีรีส์'การุณยฆาต'ต่างจากนิยาย". ข่าวสด (Interview). สัมภาษณ์โดย จิรณัฏฐ์ จงประสพมงคล. ประเทศไทย: ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  5. 5.0 5.1 iQIYI Thailand (19 พฤศจิกายน 2024), ศรัทธาในความเชื่อกำลังสั่นคลอน เมื่อคนทำหน้าที่รักษาถูกสงสัยว่าอาจเป็นคนพรากชีวิต, p. iQIYI Thailand ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  6. BL network (23 พฤศจิกายน 2024). "Tai BL dorama 'Spare Me Your Mercy' no yokoku dōga arasuji shutsuen-sha shichō hōhō nado no jōhō o shōkai!" タイBLドラマ「Spare Me Your Mercy」の予告 動画・あらすじ・出演者・視聴方法などの情報を紹介! [แนะนำตัวอย่างละครบีแอลของไทย “การุณยฆาต” ทั้งวีดีโอ เรื่องย่อ นักแสดง และวิธีการรับชม!]. bl-n.com (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  7. 7.0 7.1 7.2 Sammon (1 สิงหาคม 2019). การุณยฆาต [Euthanasia]. goodreads.com (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). กรุงเทพฯ: Onederwhy. ISBN 9-786168174-24-1. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  8. พญ.อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร (15 กุมภาพันธ์ 2024). "สวมชุดกาวน์แล้วก้าวมาเขียนนิยาย คุยกับ 'SAMMON' นักเขียนนิยายดังในร่างคุณหมอ". The MATTER (Interview). สัมภาษณ์โดย Siravitch Boonprasitthikarn. ประเทศไทย: The MATTER. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  9. 9.0 9.1 ผู้จัดการออนไลน์ (23 พฤศจิกายน 2024). "โครงเรื่องย่อซีรีส์ 'การุณยฆาต'". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  10. Sammon (1 มกราคม 2023). การุณยฆาต 2 [Euthanasia 2]. goodreads.com (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). กรุงเทพฯ: Onederwhy. ISBN 9-786168174-41-8. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  11. 11.0 11.1 Sammon (23 พฤศจิกายน 2024), 💉การุณยฆาตในนิยายกับในซีรีส์แตกต่างกันยังไง, p. Sammon ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, และคงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารเอาไว้อย่างครบถ้วน
  12. nowadaysgirl (3 ธันวาคม 2024). "เปิดวาร์ป 7 นักแสดง การุณยฆาต Spare Me Your Mercy ซีรีส์แนวดราม่าสืบสวน". entertainment.trueid.net. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2024.
  13. 13.0 13.1 13.2 วรวิทย์ ขัตติยโยธิน (ผู้กำกับการแสดง) (23 พฤศจิกายน 2024). FULL EP | การุณยฆาต | one31 (Television production). ประเทศไทย: เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  14. ช่องวัน 31 (28 พฤศจิกายน 2024), เมื่อหลักฐานพยายามบอกว่า เรื่องนี้มันมีอะไรมากกว่าปกติ ความตายไม่ใช่จุดจบ..., p. ช่องวัน 31 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, เริ่มตอนแรก คืนนี้ เวลา 20:30 น.
  15. Isaree Siriwankulthon (28 ธันวาคม 2024), ดาราสาวท่านหนึ่งได้ร่วมเฟรมกับต่อธนภพและพี่กัปตัน, p. Isaree Siriwankulthon ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  16. Sammon (4 ธันวาคม 2022), ไม่ปิดอีกต่อไปเพราะผู้จัดเปิดเอง 555, p. Sammon ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, อยู่ที่ช่องวันนะคะ ฝากติดตามแล้วก็ให้กำลังใจทีมงานกันค่ะ
  17. ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (4 ธันวาคม 2022), คุยกันเบาๆ ลืมไปว่าคุณนักเขียนของเราเค้าดัง, p. Lux ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, ฝากติดตามแล้วก็ให้กำลังใจทีมงานกันค่ะ
  18. ช่อง one31 (28 พฤศจิกายน 2023). ครั้งแรกกับ oneD Original พบกัน กุมภาพันธ์ 2024 นี้ | oneD Original | one สนั่นจอ 2024 (Trailer). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  19. วรวิทย์ ขัตติยโยธิน (ผู้กำกับการแสดง) (7 กุมภาพันธ์ 2024). การุณยฆาต | OFFICIAL TEASER | oneD ORIGINAL (Trailer). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  20. เคทอี้ฟาง (27 มกราคม 2022). "• #XYแซ่บEP13 : เมื่อ 'จูบ' ซีรีส์วายไทย กลายเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แล้วระดับไหนถึงพอดี?". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  21. ช่องวัน 31 (26 มิถุนายน 2024), เริ่มเลย! ซีรีส์ที่แฟนจับตา “การุณยฆาต” จาก oneD Original กับการเคลื่อนไหวล่าสุด, p. ช่องวัน 31 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทและ Showrunner ของซีรีส์, หวอ-วรวิทย์ ขัตติยโยธิน ผู้กำกับ พร้อมทีมนักแสดง ต่อ-ธนภพ, เจเจ-กฤษณภูมิ, เผือก-พงศธร, คานธี วสุวิชย์กิต, เอม-ภูมิภัทร, เฟรช-อริศรา, ปริม-อัจฉรียา, ยะสะกะ ไชยสร เริ่มการ Read through (อ่านบท) เป็นครั้งแรก
  22. วรวิทย์ ขัตติยโยธิน (5 กรกฎาคม 2024), วันที่ 1 #การุณยฆาต, p. Worawit K ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2025
  23. วรวิทย์ ขัตติยโยธิน (31 สิงหาคม 2024), Day 32 Wrap [เลิกกอง วันที่ 32], p. Worawit K ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2025
  24. คนบนดอย โฮมสเตย์ บ้านป่าเหมี้ยง (28 พฤศจิกายน 2024), ฝากละคร ❤️ การุณยฆาต ทางช่อง one31 ❤️ด้วยนะค่ะ, p. คนบนดอย โฮมสเตย์ บ้านป่าเหมี้ยง ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024
  25. ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (30 พฤศจิกายน 2024), โลเคชั่นที่ทีมงาน #การุณยฆาต เลือกเป็นบ้านของคุณแม่รวีวรรณ แม่ผู้กองวสันต์, p. Lux ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, ใครสนใจไปตามรอยได้ค่ะ แนะนำๆ
  26. ช่องวัน 31 (28 พฤศจิกายน 2024), #การุณยฆาตEp1 พรุ่งนี้ฟังพร้อมกันเต็มๆ, p. ช่องวัน 31 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  27. วรวิทย์ ขัตติยโยธิน (ผู้กำกับการแสดง) (19 พฤศจิกายน 2024). การุณยฆาต | OFFICIAL TRAILER | oneD ORIGINAL (Trailer). เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  28. The People (21 พฤศจิกายน 2024). "'ช่องวัน31' เปิดตัว 2 ซีรีส์จาก oneD Original 'ทิชา' & 'การุณยฆาต' ส่งท้ายปี 'ใบเฟิร์น-พีช-ต่อ-เจเจ' นำทีม PRESS CONFERENCE". thepeople.co. The People. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  29. Manussa Vorasingha (25 ธันวาคม 2024), 20.30 น.วันนี้ ซีรีส์เรื่อง "การุณยฆาต" จะฉาย EP.8 ซึ่งเป็น EP สุดท้ายแล้ว ก็เลยอยากเขียนอะไรเป็นที่ระลึกถึงงานลำดับภาพของชาวคณะ Foolhouse เอาไว้หน่อย, p. Manussa Vorasingha ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  30. PRSociety (3 ธันวาคม 2024). "'นนท์-ธนนท์' ส่งเรื่องราวความรักบทใหม่!! ผ่านเพลง 'เพียงนิทาน' จากซีรีส์ 'การุณยฆาต'". prsociety.info. PRSociety. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  31. 31.0 31.1 อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ (ผู้ประพันธ์เพลง) (29 พฤศจิกายน 2024). เพียงนิทาน (เพลงจากซีรีส์ การุณยฆาต) (Audio music). GMM Music Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  32. อัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ (ผู้ประพันธ์เพลง) (29 พฤศจิกายน 2024). เพียงนิทาน (เพลงจากซีรีส์ การุณยฆาต) – NONT TANONT (Music video). GMM Music Public Company Limited. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  33. ลุงแมวน้ำ (15 ธันวาคม 2013). "เช้าวันหยุดกับลุงแมวน้ำ: วันหวานกับสายลมเหนือ". uncaseal.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2024. เพลง สายลมเหนือ นี้ เป็นเพลงในจังหวะควิกวอลตซ์ (quick waltz) ทำนองเพลงเอามาจากเพลงฝรั่งที่ชื่อ Daisy Bell
  34. Zach_Jirarat. "สุเทพ วงศ์กำแหง – สายลมเหนือ". discogs.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2024.
  35. Banana Sound Studio (21 พฤศจิกายน 2024), ศรัทธาในความเชื่อกำลังสั่นคลอน เมื่อคนทำหน้าที่รักษาถูกสงสัยว่าอาจเป็นคนพรากชีวิต, p. Banana Sound Studio ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024
  36. Edward McCormack (ผู้ประพันธ์เพลง) (24 ตุลาคม 2023). Weight of the Crown (Audio music) (ภาษาอังกฤษ). Fired Earth Music Limited. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.
  37. Sammon (23 พฤศจิกายน 2024), #การุณยฆาต #SpareMeYourMercy แซมเขียนเรื่องการุณยฆาตขึ้นมาด้วยความตั้งใจที่จะสื่อสารเรื่องการดูแลแบบ Palliative care, p. Sammon ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, ขอบคุณทางช่อง One31 ที่ให้โอกาสนำการุณยฆาตไปดัดแปลงเป็นซีรีส์
  38. oneD (19 พฤศจิกายน 2024), เมื่อคนที่เราอยากเชื่อใจ กลายเป็นผู้ต้องสงสัยคดีฆาตกรรม, p. oneD ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, ทางแอป oneD เวอร์ชัน UNCUT
  39. ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ (19 พฤศจิกายน 2024), ซีรีส์ #การุณยฆาต ตปท. ดูได้ทางยูทูปช่องวันนะคะ, p. Lux ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, แฟนนิยายหรือแฟนซีรีส์ลองติดตามข่าวกันได้ค่ะ
  40. bloome (21 พฤศจิกายน 2024), SPARE ME YOUR MERCY, Nihon tenkai & bloome+ nite, Dokusen senkō haishin kettei. SPARE ME YOUR MERCY ㊗️日本展開&💠bloome+にて 🔫独占先行配信決定🩺🎊 [ซีรีส์ “การุณยฆาต” มาถึงในประเทศญี่ปุ่น และบลูมพลัสตัดสินใจเผยแพร่ล่วงหน้าแต่เพียงผู้เดียว] (ภาษาญี่ปุ่น), p. 【bloome】公式アカウント ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024
  41. Naja drama (26 ธันวาคม 2024), เรตติ้งทั่วประเทศ อายุ 15+, p. Naja drama ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2024, เรตติ้งนี้วัดจากผู้ชมสดทางโทรทัศน์ 15+ ช่องวัน31เท่านั้น!
  42. Peaceful Death (10 ธันวาคม 2024), Podcast Live ชวนทำความรู้จัก ‘Palliative Care’ ผ่านซีรีส์ การุณยฆาต, p. Peaceful Death ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024
  43. Muresd ศาสนาและจริยศาสตร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล (17 ธันวาคม 2024), มองรอบด้านกับประเด็น “การุณยฆาต” เพราะจริยศาสตร์และศาสนาไม่ได้มีคำตอบตายตัวเพียงคำตอบเดียว, p. Muresd ศาสนาและจริยศาสตร์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เฟซบุ๊ก, สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024
  44. ช่องวัน 31 (20 ธันวาคม 2024), จากวรรณกรรม สู่ซีรีส์ “การุณยฆาต” Spare Me Your Mercy ที่สร้างความตื่นตัวให้สังคมสนใจเกี่ยวกับสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต, p. ช่องวัน 31 ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์), สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2024, เพื่อเปิดพื้นที่สนทนาให้กับประชาชน บุคลากรสุขภาพ สหวิชาชีพ สร้างความเข้าใจในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในประเทศไทย
  45. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (3 มีนาคม 2007). "พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (16 ก): 4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2024 – โดยทาง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข
  46. ตรงประเด็น (20 ธันวาคม 2024). เข้าถึง? สิทธิตายดี (Television production). ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลฉบับซีรีส์

[แก้]

เกี่ยวกับแก่นเรื่องของฉบับซีรีส์

[แก้]

ผู้ประพันธ์โครงเรื่องดั้งเดิม

[แก้]