วิธีคุมกำเนิดแต่ละแบบมีความต้องการจากผู้ใช้ ผลข้างเคียง และประสิทธผลต่างกัน โดยแต่ละแบบอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางบางชนิด สารฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการหลั่งนอกจำเป็นต้องใช้หรือปฏิบัติทุกครั้งที่ร่วมเพศ ส่วนวิธีอื่น เช่น ฝาหรือหมวกครอบปากมดลูก ฟองน้ำคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยหญิง สามารถใส่ไว้ก่อนหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศ โดยต้องถอดถุงยางอนามัยหญิงทันทีหลังร่วมเพศและก่อนยืนขึ้น ส่วนวิธีคุมกำเนิดโดยใช้สิงกีดขวางบางแบบสำหรับผู้หญิงอาจต้องทิ้งไว้ในช่องคลอดหลายชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ สารฆ่าเชื้ออสุจิอาจถูกใช้ไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศขึ้นอยู่กับแบบที่ใช้ นอกจากนี้ยังควรใส่ถุงยางอนามัยชายขณะองคชาตแข็งตัวก่อนสอดใส่
หลังการทำหมันทั้งหญิงและชาย ติดตั้งห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือฝังฮอร์โมน ก็ไม่ต้องทำอะไรก่อนร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ห่วงอนามัยคุมกำเนิดต้องติดตั้งและถอดออกโดยแพทย์เท่านั้น และอาจต้องเปลี่ยนทุก 5–12 ปี ขึ้นอยู่กับแบบ ผู้ใช้สามารถไปพบแพทย์เพื่อถอดห่วงอนามัยออกได้ทุกเมื่อหากต้องการมีลูก ในทางตรงข้าม การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวรและไม่ต้องทำอะไรอีกหลังการผ่าตัด
ยาคุมกำเนิดแบบฝังใช้ได้เป็นเวลา 3 ปี โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรหลังการฝังจนต้องถอดออก ยาเม็ดคุมกำเนิดจะต้องรับประทานทุกวันถึงจะให้ผลดี ส่วนวิธีอื่นที่ใช้ฮอร์โมนอาจมีความต้องการน้อยกว่า เช่น ยาแปะที่ต้องเปลี่ยนทุกอาทิตย์ วงแหวนคุมกำเนิดที่ต้องเปลี่ยนสองครั้งต่อเดือน ยาฉีกคุมกำเนิดที่ต้องฉีดทุกเดือน และยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (MPA) ที่ต้องฉีดทุกสามเดือน หากใช้การนับระยะปลอดภัยต้องวัดสัญญาณการเจริญพันธุ์เป็นประจำทุกวันเพื่อเฝ้าดูและบันทึก หากต้องการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูก (LAM) จำเป็นต้องให้นมลูกทุก ๆ 4–6 ชั่วโมง
วิธีคุมกำเนิดแต่ละแบบมีความต้องการจากผู้ใช้ต่างกัน วิธีที่แทบไม่ต้องจดจำหรือทำอะไร หรือต้องไปพบแพทย์น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ถูกเรียกว่าเป็นวิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้[1] วิธีเหล่านี้ได้แก่ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด การทำหมัน[1] วิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้มีอัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้องและในการใช้แบบทั่วไปใกล้เคียงกันมาก
การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนและ LAM ต้องการความเอาใจใส่ระดับหนึ่ง วิธีที่ใช้ฮอร์โมนอาจต้องนัดพบแพทย์ทุก 3 เดือนเพื่อรับยา ยาเม็ดคุมกำเนิดต้องรับประทานทุกวัน แผ่นแปะคุมกำเนิดต้องเปลี่ยนทุกอาทิตย์ วงแหวนคุมกำเนิดต้องเปลี่ยนทุกเดือน ยาฉีดคุมกำเนิดต้องฉีดทุกสามเดือน การคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกต้องทำตามกฎทุกวัน โดยประสิทธิผลอาจลดลงหากไม่ทำตามอย่างเคร่งครัด
วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นมีความต้องการจากผู้ใช้สูงกว่านี้[2] การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง การหลั่งนอก และการใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิจำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่ร่วมเพศ การนับระยะปลอดภัยอาจต้องนับรอบประจำเดือนทุกวัน อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปของวิธีเหล่านี้อาจสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราเมื่อใช้อย่างถูกต้อง[3]
วิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีอาจมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน โดยผลข้างเคียงไม่เกิดกับผู้ใช้ทุกคน วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิผลต่ำมักมีโอกาสเสียงสูงที่จะมีผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
การหลั่งนอก การนับระยะปลอดภัย และการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกแทบไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ ผู้ใช่ที่แพ้ยางพาราอาจสามารถเปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่น เช่น ถุงยางอนามัยจากโพลียูเทนหรือฝาครอบมดลูกคุมกำเนิดที่ทำจากซิลิโคน นอกจากนี้การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางมักถูกใช้ร่วมกับสารฆ่าเชื้ออสุจิที่อาจให้ผลข้างเคียง เช่น การระคายเคืองตรงอวัยวะเพศ การติดเชื้อในช่องคลอด และการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
การทำหมันถือว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่ความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่ำ แม้บางคนหรือองค์กรอาจไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้[4][5] การทำมันหญิงเป็นการผ่าตัดที่ใหญ่กว่าการทำหมันชาย และความเสี่ยงสูงกว่า ในประเทศอุตสาหกรรม อัตราการเสียชีวิตหลังการทำหมันหญิงอยู่ที่ 4 คนต่อการผูกท่อรังไข่ 100,000 ครั้ง ส่วนในผู้ชายอยู่ที่เพียง 0.1 คนต่อการตัดท่อนำอสุจิ 100,000 ครั้ง[6]
หลังใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ผู้ใช้อาจมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในช่วง 3–6 เดือนแรกหากใช้ Mirena และหากใช้ ParaGard อาจมีอาการประจำเดือนมามากหรือปวดประจำเดือนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม "99% ของผู้ใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดมีความพึงพอใจหลังใส่" ข้อดีของห่วงอนามัยคือการที่ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาอย่างรวดเร็วหลังถอดห่วงอนามัย[7]
วิธีคุมกำเนิดแบบใช้ฮอร์โมนมีจำนวนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเยอะที่สุด[8]
ถุงยางอนามัยทั้งหญิงและชายสามารถใช้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หากใช้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก[9][10] ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดแบบอื่นเมื่อต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[11]
วิธีคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางแบบอื่น เช่น ฝาครอบปากมดลูก อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ช่วงบน ส่วนการคุมกำเนิดแบบอื่นแทบไม่สามารป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เลย
อัตราการล้มเหลวคำนวนโดยใช้ดัชนีเพอร์ล (Pearl Index) หรือวิธีตารางชีพ (life table method) อัตราใน "การใช้อย่างถูกต้อง" (perfect-use rate) มาจากการที่ทำตามกฎหรือวิธีอย่างถูกต้องทุกครั้งที่ร่วมเพศ
อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปสูงกว่าในการใช้อย่างถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้:
ตัวอย่างเช่น ผู้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอาจได้รับข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับความถี่ที่ต้องรับประทาน อาจลืมรับประทานยา หรือลืมไปซื้อยา
ตารางด้านล่างแสดงอัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปและในการใช้อย่างถูกต้อง ตัวเลขอยู่ในรูปแบบจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปีของผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีโดยแบ่งเป็นสีต่าง ๆ
สีฟ้า | ต่ำกว่า 1% | ความเสี่ยงต่ำกว่า |
สีเขียว | ถึง 5% | |
สีเหลือง | ถึง10% | |
สีส้ม | ถึง 20% | |
สีแดง | มากกว่า 20% | ความเสี่ยงสูงกว่า |
สีเทา | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล |
ตัวอย่างเช่น อัตราการล้มเหลว 20% แปลว่า ผู้หญิง 20 คนจาก 100 คน ตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ปีแรก อัตราอาจเกิน 100% หากผู้หญิงทุกคนโดยเฉลี่ยตั้งครรภ์ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ในกรณีที่ผู้หญิงทุกคนตั้งครรภ์ทันทีอัตราจะเป็นอนันต์
ในคอลัมน์ความต้องการจากผู้ใช้ วิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้กับผู้ใช้ (ต้องการการดูแลน้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี) มีพื้นหลังสีฟ้า
หลายวิธีอาจสามารถใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับสารฆ่าเชื้ออสุจิ อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้องถูกประมาณว่าใกล้เคียงกับเมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิด[1] อย่างไรก็ตามการคำนวนอัตราล้มเหลวเมื่อใช้หลายวิธีร่วมกันอาจไม่ค่อยแม่นยำ เพราะประสิทธิผลของแต่ละวิธีอาจไม่อสิระหากไม่ใช่กรณีที่ใช้อย่างถูกต้อง[13]
หากรู้หรือคิดว่าวิธีคุมกำเนิดอาจไม่ได้ผล เช่น เมื่อถุงยางอนามัยรั่ว ผู้ใช้สามารถใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 72–120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยควรใช้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์เท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะประสิทธิผลลดลงเมื่อเวลาผ่านไป[14]
ตารางแสดงอัตราการตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ปีแรก
วิธีคุมกำเนิด | ชื่อสามัญ/ยี่ห้อ | อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไป (%) | อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้อง (%) | ประเภท | วิธีใช้ | ความต้องการจากผู้ใช้ |
---|---|---|---|---|---|---|
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง | Implanon,[ref 1] Jadelle,[ref 2] the implant | 0.05 (1 of 2000) |
0.05 | โปรเจสเตอโรน | ฝังใต้ผิวหนัง | ทุก 3-5 ปี |
การตัดหลอดนำอสุจิ[ref 1] | การทำหมันชาย | 0.15 (1 of 666) |
0.1 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด[ref 3] | Lunelle, Cyclofem | 0.2 (1 of 500) |
0.2 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | ฉีด | ทุกเดือน |
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน[ref 1] | Mirena, Skyla, Liletta | 0.2 (1 of 500) |
0.2 | ในมดลูกและโปรเจสเตอโรน | ใส่ในมดลูก | ทุก 3-7 ปี |
Essure[ref 4] | การทำหมันหญิง | 0.26 (1 of 384) |
0.26 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
การผูกท่อรังไข่[ref 1] | การทำหมันหญิง | 0.5 (1 of 200) |
0.5 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
ห่วงอนามัยเคลือบทองแดง[ref 1] | Paragard, Copper T, the coil | 0.8 (1 of 125) |
0.6 | ในมดลุกและทองแดง | ใส่ในมดลูก | ทุก 3 ถึง 12+ ปี |
Forschungsgruppe NFP symptothermal method, teaching sessions + application[ref 1][15] | Sensiplan by Arbeitsgruppe NFP (Malteser Germany gGmbh) | 1.8[note 1] (1 of 55) |
0.4 | ทางพฤติกรรม | Teaching sessions, observation, charting and evaluating a combination of fertility symptoms | เข้าเรียนสามครั้ง + ใช้ทุกวัน |
การคุมกำเนิดโดยการให้นมลูก (สำหรับ 6 เดือนแรกหลังคลอดเท่านั้น; ไม่นับหากเริ่มมีประจำเดือน)[ref 5][note 2] | ecological breastfeeding | 2 (1 of 50) |
0.5 | ทางพฤติกรรม | ให้นมลูก | ทุกไม่กี่ชั่วโมง |
2002[16] cervical cap and spermicide (discontinued in 2008) used by nulliparous[ref 6][note 3][note 4] | Lea's Shield | 5 (1 of 20) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (MPA) [ref 1] | Depo Provera, the shot | 6 (1 of 17) |
0.2 | โปรเจสเตอโรน | ฉีด | ทุก 12 อาทิตย์ |
การฉีดเทสโทสเตอโรนสำหรับผู้ชาย (วิธีอยู่ในขั้นทดลองและยังไม่ได้รับการยอมรับ)[17] | Testosterone Undecanoate | 6.1 (1 of 16) |
1.1 | เทสโทสเตอโรน | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ | ทุก 4 อาทิตย์ |
1999 cervical cap and spermicide (replaced by second generation in 2003)[ref 7] | FemCap | 7.6[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] (estimated) (1 of 13) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
แผ่นแปะคุมกำเนิด[ref 1] | Ortho Evra, the patch | 9 (1 of 12) |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | แปะบนผิวหนัง | ทุกอาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)[ref 1] | ยาคุม | 9 (1 of 11)[18] |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน + ยาหลอก [19] | รับประทาน | ทุกวัน |
Ethinylestradiol/etonogestrel วงแหวนช่องคลอด[ref 1] | NuvaRing, the ring | 9 (1 of 11) |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | ใส่ในช่องคลอด | ใส่ไว้ 3 อาทิตย์ / พัก 1 อาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดียว)[ref 1] | POP, minipill | 9[18] | 0.3 | โปรเจสเตอโรน + ยาหลอก[19] | รับประทาน | ทุกวัน |
Ormeloxifene[ref 8] | Saheli, Centron | 9 | 2 | SERM | รับประทาน | ทุกอาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน | Plan B One-Step® | no data | no data | ลีโวนอร์เจสเตรล | รับประทาน | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Standard Days Method[ref 1] | CycleBeads, iCycleBeads | 12 (1 of 8.3) |
5 | ทางพฤติกรรม | นับวันตั้งแต่มีประจำเดือน | ทุกวัน |
ฝาครอบปากมดลูกและสารฆ่าเชื้ออสุจิ[ref 1] | 12 (1 of 6) |
6 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
Plastic contraceptive sponge with spermicide used by nulliparous[ref 1][note 4] | Today sponge, the sponge | 12 | 9 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
2002[16] cervical cap and spermicide (discontinued in 2008) used by parous[ref 6][note 3][note 5] | Lea's Shield | 15 (1 of 6) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
1988 cervical cap and spermicide (discontinued in 2005) used by nulliparous[ref 9][note 4] | Prentif | 16 | 9 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ถุงยางอนามัยชาย[ref 1][18] | Condom | 18 (1 of 5) |
2 | สิ่งกีดขวาง | สวมบนองคชาตที่แข็งตัว | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ถุงยางอนามัยหญิง[ref 1] | 21 (1 of 4.7) |
5 | สิ่งกีดขวาง | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
การหลั่งนอก[ref 1] | withdrawal method, pulling out | 22 (1 of 5)[20] |
4 | ทางพฤติกรรม | ถอนองคชาตออกมา | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Symptoms-based fertility awareness ex. symptothermal and calendar-based methods[ref 1][note 6][note 7] | TwoDay method, Billings ovulation method, Creighton Model | 24 (1 of 4) |
3–4 | ทางพฤติกรรม | Observation and charting of basal body temperature, cervical mucus or cervical position | Throughout day or daily[note 8] |
Calendar-based methods[ref 1] | the rhythm method, Knaus-Ogino method, Standard Days method | no data | 5 | ทางพฤติกรรม | Calendar-based | ทุกวัน |
Plastic contraceptive sponge with spermicide used by parous[ref 1][note 5] | Today sponge, the sponge | 24 (1 of 4) |
20 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Spermicidal gel, foam, suppository, or film[ref 1] | 28 (1 of 4) |
18 | สารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
1988 cervical cap and spermicide (discontinued in 2005) used by parous[ref 9][note 5] | Prentif | 32 | 26 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
การสัญญาว่าจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์[note 9][21] | 50–57.5 (estimated) (1 of 2) |
no data | ทางพฤติกรรม | คำสัญญา | ครั้งเดียว | |
ไม่คุมกำเนิด (ร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน)[ref 1] | 85 (6 of 7) |
85 | ทางพฤติกรรม | ไม่คุมกำเนิด | ครั้งเดียว | |
ยาหลอก[22] | 200[note 10] (ทุกคนตั้งครรภ์หลังผ่านไปครึ่งปี) |
200 | ยาหลอก | รับประทาน | ทุกวัน | |
วิธีคุมกำเนิด | ชื่อสามัญ/ยี่ห้อ | อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไป (%) | อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้อง (%) | ประเภท | วิธีใช้ | ความต้องการจากผู้ใช้ |
การวางแผนครอบครัวโดยการคุมกำเนิดเป็นหนึ่งในนโยบายด้านสุขภาพที่คุ้มทุนที่สุด[23] ค่าใช้จ่ายของการคุมกำเนิดรวมค่าใช้จ่ายตอนใช้ (ค่าอุปกรณ์ ค่าเรียนวิธีใช้ ค่าไปพบแพทย์), ค่าใช้จ่ายหากวิธีล้มเหลว (การตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งเอง การทำแท้ง การทำคลอด ค่าเลี้ยงดูบุตร), และค่าใช้จ่ายเมื่อมีผลข้างเคียง[24] การคุมกำเนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยการลดการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจและลดการติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การทำหมันชายมักถูกกว่าการทำหมันหญิงมาก
การนับระยะปลอดภัยและการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกเป็นวิธีโดยพฤติกรรมที่แทบไม่มีค่าใช้จ่าย
การไม่คุมกำเนิดเป็นตัวเลือกที่แพงที่สุด แม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ ทว่ามีอัตราการล้มเหลวสูงสุดจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ตามมาสูงที่สุด
วิธีที่มีประสิทธิผลสูงสุดและคุ้มทุนที่สุดคือวิธีที่ให้ผลนาน แม้วิธีเหล่านี้มักมีค่าใช้จ่ายตอนใช้ค่อนข้างสูง แต่นับว่าเป็นการประหยัดเงินในภายหลัง[25] การคุมกำเนิดลดค่าใช้จ่ายของทั้งระบบสาธารณสุขและผู้รับประกัน
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year=
/ |date=
ไม่ตรงกัน (help)