คนป่วนสายฟ้า | |
---|---|
กำกับ | อุดม อุดมโรจน์ |
เขียนบท | อุดม อุดมโรจน์ |
อำนวยการสร้าง | อุดม อุดมโรจน์ |
นักแสดงนำ | ชาคริต แย้มนาม เจษฎาภรณ์ ผลดี ซอนย่า คูลลิ่ง บิลลี่ โอแกน วัชระ ปานเอี่ยม ชยุต บุรกรรมโกวิท |
ผู้บรรยาย | ชาคริต แย้มนาม |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น |
วันฉาย | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 |
ความยาว | 97 |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
คนป่วนสายฟ้า (อังกฤษ: Destiny Upside Down อักษรโรมัน: Khon Puan Sai Fa) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2540 โดย อุดม อุดมโรจน์ ของค่าย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, เจษฎาภรณ์ ผลดี, ซอนย่า คูลลิ่ง และบิลลี่ โอแกน
พ่อแม่ของอิท หรืออิทธิพล เป็นเพื่อนกับพ่อแม่ของแทนคุณ ทั้งคู่เกิดพร้อมกัน ที่โรงพยาบาลเดียวกัน และหมอทำคลอดคนเดียวกัน โดยห่างกันแค่ 1 นาทีเท่านั้น อิทนั้นไม่ชอบหน้าแทนคุณตั้งแต่เป็นทารกแล้ว อิทอยู่ในครรภ์แม่นาน 10 เดือน ถึงคลอด ขณะที่แทนคุณเพียง 7 เดือนเท่านั้น อิทเมื่อเข้าเรียน เป็นคนที่เรียนเก่งมาก ทำอะไรก็ได้ที่ 1 ตลอด แต่เมื่อทั้งคู่โตขึ้นและเข้ามหาวิทยาลัย กลับต้องเจอกับแทนคุณ อิทเมื่อจะมีแฟน คือ จิ๊ก แทนคุณก็มี แป๋ว เป็นแฟน วันหนึ่ง อิทได้ถูกทาบทามเข้าสู่วงการบันเทิง อิทได้แสดงเป็นพระเอกเรื่องแรก แทนคุณก็ตามมาด้วย แต่กลับได้เพียงบทประกอบ แต่ใครต่อใครรวมถึงจิ๊กก็แห่มาสนใจแต่แทนคุณ อิทขณะนั้นได้ขอให้เพิ่มบทแก่แทนคุณ จนในที่สุดแทนคุณก็เป็นพระเอกอีกคนคู่กับอิท ขณะที่จิ๊กก็กำลังจะตีจากจากอิทไปหาแทนคุณอีกด้วย อิทจึงต้องร่วมกับ พี่เปี่ยม และจก พี่ชายของจิ๊ก ตามล่าตัวแทนคุณ
คนป่วนสายฟ้า เป็นภาพยนตร์จากการอำนวยการสร้าง บทภาพยนตร์และกำกับ โดย อุดม อุดมโรจน์ เกี่ยวกับชาย 2 คน ที่เกิดมาพร้อมกันทั้งคู่ และต้องถูกชะตากรรมลิขิตให้มาพบเจอกันตลอด แม้จะไม่ถูกกันก็ตาม [1]
โดยถือเป็นบทบาทการแสดงอย่างเป็นทางการครั้งแรกของ ชาคริต แย้มนาม ซึ่งขณะนั้นเป็นพิธีกร และทำให้ชาคริตได้เข้าชิงรางวัลทางการแสดงเป็นครั้งแรก เป็นการแสดงครั้งที่ 2 ของ เจษฎาภรณ์ ผลดี หลังจากแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจาก 2499 อันธพาลครองเมือง เมื่อต้นปีเดียวกัน[2] เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของ ซอนย่า คูลลิ่ง ที่ก่อนหน้านั้นเป็นนางแบบและแสดงนำในละครโทรทัศน์[3] และเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ บิลลี่ โอแกน ได้ได้รับรางวัลนักแสดงสมทบยอดเยี่ยมในปีนั้น[4]
ฉากบนรถไฟในตอนท้ายเรื่องนั้นใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 2 เดือน และถือเป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ที่จะสื่อความหมายในแบบภาพยนตร์อิสระ จัดว่าทำได้ค่อนข้างล้ำสมัยพอสมควร[5]
ปี พ.ศ. | รางวัล | สาขา | โดย | ผล |
---|---|---|---|---|
2540 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 7 | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | บิลลี่ โอแกน | ได้รับรางวัล |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม | ชาคริต แย้มนาม | เข้าชิง | ||
รางวัล Cinemag Spirit Awards ครั้งที่ 2 | นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | บิลลี่ โอแกน | ได้รับรางวัล |