ความรู้สึกว่าตนเขื่อง

ในสาขาจิตวิทยา ความรู้สึกว่าตนเขื่อง (อังกฤษ: grandiosity) หมายถึงความรู้สึกอย่างเพ้อฝันหรือไม่จริงว่า ตนเองดีกว่าเก่งกว่าคนอื่น เป็นทัศนคติที่คงยืน ซึ่งอาจแสดงออกเป็นการดูถูกคนอื่นว่าไม่เก่งไม่ดีเท่าตน และหมายถึงความรู้สึกว่าตนเป็นหนึ่งเดียว ว่ามีคนน้อยคนที่มีอะไรเหมือนกับตนเอง และมีคนพิเศษน้อยคนที่เข้าใจตนได้[1] ลักษณะสืบสายพันธุ์ทางบุคลิกภาพที่ทำให้รู้สึกเช่นนี้ โดยหลักสัมพันธ์กับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (NPD) แต่ก็ปรากฏในความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (ASPD) และในคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) หรือคราวเกือบฟุ้งพล่าน (hypomanic episode) ของโรคอารมณ์สองขั้ว[2]

ลักษณะสืบสายพันธุ์ทางบุคลิกภาพที่ทำให้รู้สึกเช่นนี้ยังเป็นองค์ประกอบของ reactive attachment disorder (RAD) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางความผูกพัน (attachment disorder) ที่รุนแรงและไม่สามัญโดยเกิดในเด็ก[3] RAD มีอาการเป็นพฤติกรรมที่มีปัญหาและไม่เหมาะสมทางพัฒนาการเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานการณ์ทางสังคมโดยมาก เช่น ความไม่เริ่มหรือไม่ตอบสนองต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยวิธีที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการอย่างคงยืน เป็นรูปแบบ "inhibited form" ของโรค[4][5]

Narcissist-Grandiose (oblivious) Subtype

[แก้]

ความรู้สึกว่าตนเขื่องขั้นเป็นโรคสัมพันธ์กับแบบย่อยอย่างหนึ่งจากสองแบบของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเอง (NPD)[6] ลักษณะของแบบย่อย narcissist-grandiose (โดยเทียบกับแบบย่อย narcissist-vulnerable) ก็คือ

  • หลงตัวเองแบบไม่รู้ตัว (oblivious narcissist) เพราะไม่รู้ว่าการกระทำของตนมีผลต่อคนอื่นอย่างไร หรือว่า คนอื่นมองตนอย่างไร
  • เห็นแต่ข้อไม่ดีของผู้อื่นและตำหนิผู้อื่นที่คุกคามความภูมิใจในตนเอง
  • มักจะรักษาความภูมิใจในตนด้วยการยกยอตนเองอย่างโต้ง ๆ (โม้เกินจริงว่าเก่ง หรือโม้เกินจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เพื่อแสดงว่าตนเองเก่ง)
  • ปฏิเสธจุดอ่อน กล่าวถึงความสามารถของตนเกินจริง
  • เที่ยวบังคับคนอื่นในขณะที่ทั้งตำหนิการกระทำของคนอื่นและเอาเครดิตสิ่งที่คนอื่นทำ
  • ต้องการสิทธิพิเศษเกินควร รู้สึกว่าตนพิเศษ เช่นใช้คำพูดว่า "คุณไม่รู้หรือว่าฉันคือใคร" เชื่อเกินจริงเกี่ยวกับความสำคัญ ความเก่ง ความสำเร็จ หรือความสามารถของตนเอง มีพฤติกรรมเชิงเจ้าเล่ห์เพทุบายเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ และหวังให้คนอื่นเชื่อฟัง ชื่นชม และให้สิทธิพิเศษแก่ตน หมกมุ่นใน "ความเพ้อฝันเกี่ยวกับความสำเร็จ อำนาจ ความฉลาดหลักแหลม รูปงาม หรือคู่ที่สมบูรณ์แบบ"
  • โกรธอย่างคงเส้นคงวาเมื่อไม่ได้ตามที่คาดหวังหรือเมื่อรู้สึกถูกดูหมิ่น โกรธเดือดดาลได้ง่าย มีปฏิกิริยารุนแรงเกิน อาจแสดงความดุร้ายเมื่อรู้สึกถูกดูหมิ่นแม้เพียงแล็กน้อย
  • ไม่สำนึกถึงความไม่ลงรอยของสิ่งที่ตนคาดหวังกับความจริง และไม่รู้ผลที่มันมีต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น
  • พูดถึงความเพ้อฝัน ความร่ำรวย ความสำเร็จ และสถานะที่ใหญ่โตเกินความจริงอย่างโต้ง ๆ
  • ไม่รู้ว่าความต้องการได้สิทธิพิเศษ (เช่นใช้เงินเกิน เอาเปรียบผู้อื่น) ทำให้คนอื่นมองตนไม่ดี
  • ปัญหาที่เกิดรอบ ๆ ตัวจะมองว่าไม่ได้เกี่ยวกับตน (คือไม่ใช่ความผิดของตน) และไม่ได้มีมูลฐานมาจากความคาดหวังที่ไม่สมเหตุผลของตน

มีการศึกษาความแตกต่างระหว่างแบบย่อย grandiose (เขื่อง) กับ vulnerable (อ่อนไหว) โดยพบว่า

สิ่งที่พบโดยรวมนี้ยืนยันทฤษฎีและงานวิจัยในอดีตที่แสดงว่า คนไข้แบบเขื่องไม่รู้ถึงผลที่ตนมีกับผู้อื่น และดังนั้น จึงมีทัศนคติที่ไม่สมจริงเกี่ยวกับตนเองเทียบกับคนอื่น (Gabbard, 1989, 1998; Kernberg, 1975; Kohut, 1971, 1977). จริงดังนั้น การไม่รู้ถึงผลที่มีต่อคนอื่นเป็นสิ่งที่ Gabbard (1989) นำป้าย "oblivious narcissists" (คนหลงตัวเองแบบไม่รู้ตัว) มาอธิบายอาการที่ปรากฏทางสังคม และแยกคนไข้ให้ต่างกับคนไข้แบบอ่อนไหว คนไข้หลงตัวเองแบบเขื่องหวังให้คนอื่นสนใจตนตลอดโดยไม่วอกแวก และไม่รู้ผลที่ความต้องการสิทธิพิเศษของตนมีต่อคนอื่น และเพราะสามารถธำรงรักษาภาพพจน์ว่าตนเขื่องด้วยการยกยอตนเอง คนไข้หลงตัวเองแบบเขื่องจึงไม่อ่อนไหวเท่ากับคนไข้แบบอ่อนไหว ต่อผลทางอารมณ์ที่เกิดจากการคุกคามการคาดหวังสิทธิพิเศษ (เช่น ความทุกข์ ไม่ภูมิใจในตนเอง กลัวปัญหากับผู้อื่น)

— Interpersonal Analysis of Grandiose and Vulnerable Narcissism[7]

ส่วนย่อยเกี่ยวกับความคิดว่าตนเขื่องในแบบสัมภาษณ์คนไข้โรคหลงตนเอง คือ Diagnostic Interview for Narcissism (DIN) ฉบับที่สองเป็นไปดังต่อไปนี้[8]

ในอาการฟุ้งพล่าน

[แก้]

ในอาการฟุ้งพล่าน ความคิดว่าตนเขื่องจะมีกำลังมากกว่าในโรคหลงตัวเอง คนไข้อาจโอ้อวดความสำเร็จที่จะเกิดในอนาคต[9]: 421  หรือโอ้อวดคุณสมบัติตัวเองเกินจริง[9]: 413 & หมายเหตุ  คนไข้อาจเริ่มทำอะไรที่ทะเยอทะยานอย่างไม่สมเหตุผล ก่อนหน้าที่คนอื่นหรือตัวเองจะโค่นความทะเยอทะยานนั้นลง[10]

ในโรคจิต

[แก้]

ในแบบคำถามประเมินโรคจิตคือ Hare Psychopathy Checklist-Revised (PCL-R) ความคิดว่าตนเขื่องอยู่ในส่วน Factor 1 Facet 1:Interpersonal[11] บุคคลที่ผ่านเกณฑ์นี้จะปรากฏว่าหยิ่งและโอ้อวด และอาจมองอนาคตของตนในแง่ดีเกินจริง คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) ให้ข้อสังเกตว่า บุคคลที่ผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (ASPD) มักมีภาพพจน์ของตัวเองดีเกินจริง อาจปรากฏเป็นคนสำคัญตน ยึดมั่นความเห็นของตน หยิ่ง และมักดูถูกคนอื่น

การทดสอบความจริง

[แก้]

บุคคลที่คิดว่าตนเขื่องยังสำนึกได้ว่าความคิดของตนไม่สมจริง (คือ ยังรู้ว่า พฤติกรรมของตนจัดว่าไม่ปกติ) เทียบกับคนที่มีอาการหลงผิดว่าตนเขื่อง (grandiose delusion) ผู้ไม่สามารถรู้ตามจริงได้ คนบางพวกอาจสับเปลี่ยนระหว่างภาวะสองอย่างเช่นนี้ คือตอนแรกคิดใหญ่โตเพ้อฝันที่ตนก็เข้าใจว่าไม่จริง แต่ตอนหลังกลายเป็นความหลงผิดเต็มตัวที่คนไข้เชื่อว่าเป็นจริง[12]

จิตวิเคราะห์และความรู้สึกว่าตนเขื่อง

[แก้]

จิตแพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกันผู้มีชื่อเสียงในเรื่องทฤษฎีจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และโรคหลงตัวเอง คือ Otto Kernberg เห็นว่า ความรู้สึก/ความคิดว่าตนเขื่องขั้นเป็นโรคเกิดจากความรู้สึกในวัยเด็กเกี่ยวกับความเป็นคนพิเศษ อุดมคติส่วนตน และความเพ้อฝันถึงพ่อแม่อุดมคติ[13]

ส่วนนักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรีย-อเมริกันผู้มีชื่อเสียงในเรื่อง self psychology คือ Heinz Kohut เห็นความรู้สึก/ความคิดว่าตนเขื่องว่าเป็นเรื่องปกติทางพัฒนาการ และจะเป็นภาวะโรคก็ต่อเมื่อส่วนที่เขื่องและส่วนที่ถ่อมตัวของตัวตน แยกจากกันอย่างเด็ดขาด[14] เขาแนะนำให้รักษาโดยอดทนต่อลักษณะเช่นนั้นของคนไข้ แล้วช่วยรวมส่วนที่เขื่องกลับเข้ากับตัวตนที่มีความคาดหวังสมจริง[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Ronningstam, Elsa F (2005). Identifying and Understanding the Narcissistic Personality. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-803396-7.
  2. คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต พิมพ์ครั้งที่สี่, Text Revision (DSM-IV-TR) American Psychiatric Association (2000)
  3. King MC. "Reactive Attachment Disorder: A Review" (PDF). Journal of Special Education. 1–4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-01.
  4. DSM-IV-TR (2000) American Psychiatric Association, p. 129.
  5. Schechter DS; Willheim E (July 2009). "Disturbances of attachment and parental psychopathology in early childhood". Child and Adolescent Psychiatric Clinics of North America. 18 (3): 665–686. doi:10.1016/j.chc.2009.03.001. PMC 2690512. PMID 19486844.
  6. Gabbard, G. O. (1989). "Narcissists divided into two sub types: vulnerable and grandiose". Bulletin of the Menninger Clinic (53): 527–532.
  7. Dickinson, Kelly A.; Pincus, Aaron L. (2003). "Interpersonal Analysis of Grandiose and Vulnerable Narcissism". Journal of Personality Disorders (17(3)): 188–207.
  8. Gunderson JG, Ronningstam E, Bodkin A (July 1990). "The diagnostic interview for narcissistic patients". Archives of General Psychiatry. 47 (7): 676–180. doi:10.1001/archpsyc.1990.01810190076011. PMID 2360861.
  9. 9.0 9.1 Goffman E (1972). Relations in Public: Microstudies of the Public Order. Pelican Books. ISBN 978-0-14-021614-1.
  10. Skynner R, Cleese J (1994). Families and how to survive them. London. pp. 168–169. ISBN 978-0-7493-1410-1.
  11. Harpur, TJ; Hare, RD; Hakstian, AR (1989). "Two-factor conceptualization of psychopathy: Construct validity and assessment implications". Psychological Assessment. 1 (1): 6–17. doi:10.1037/1040-3590.1.1.6.
  12. Fenichel, Otto (1946). The Psychoanalytic Theory of Neurosis. London. pp. 421, 444.
  13. Kernberg, Otto F (1990). Borderline Conditions and Pathological Narcissism. London. p. 265.
  14. Klein, Josephine (1994). Our Need for Others. London. p. 222.
  15. Siegal, Allen M (1996). Heinz Kohut and the psychology of the Self. p. 95.