ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา

สถานที่ตั้งของประเทศบอตสวานา

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา อิงถึงพืชและสัตว์ของประเทศบอตสวานา โดยประเทศบอตสวานา 90 เปอร์เซ็นต์ถูกครอบคลุมโดยนิเวศน์แบบสะวันนา ที่แตกต่างจากไม้พุ่มหญ้าสะวันนาในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในพื้นที่แห้งแล้งไปจนถึงต้นไม้สะวันนา ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้และทุ่งหญ้าในพื้นที่เปียก[1] แม้ภายใต้สภาพอากาศร้อนของทะเลทรายคาลาฮารี ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์เอาตัวรอดอยู่ โดยประเทศนี้มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ของพืช และ 650 สายพันธุ์ของต้นไม้[2] พืชผักและผลไม้ป่าของที่นี่ยังมีความสำคัญอย่างมากกับประชากรในชนบทที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย และเป็นแหล่งที่มาหลักของอาหาร, เชื้อเพลิง และยาสำหรับคนที่อาศัยอยู่จำนวนมาก[3]

มีอุทยานแห่งชาติสามแห่งและอุทยานเจ็ดแห่งซึ่งเป็นที่พักอาศัยของสัตว์ป่าครอบครองพื้นที่ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ของประเทศบอตสวานา โดยมีอุทยานแห่งชาติสามแห่งดังกล่าว คือ อุทยานแห่งชาติโชบ, เอ็นไซแพนกับอุทยานแห่งชาติแมคเกดิคเกดี และวนอุทยานกาลากาดีทรานสฟรอนเทียร์ ส่วนอุทยานเจ็ดแห่ง ประกอบด้วย อุทยานคาลาฮารีกลาง, อุทยานกาโบโรเน, อุทยานคัตเซ, อุทยานแมนนีเยลานอง, อุทยานมอน และอุทยานโมเรมี นอกจากนี้ ยังมีเขตสงวนพันธุ์ขนาดเล็กของเอกชนอยู่อีกแห่งหนึ่ง[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ทะเลทรายคาลาฮารีกับพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย [[Image:{{{4}}}|{{{5}}}px|ทะเลทรายคาลาฮารีกับพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย]]
ทะเลทรายคาลาฮารีกับพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย

มีทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งทอดตัวชายแดนตะวันตกของมันเข้าไปในประเทศแอฟริกาใต้, นามิเบีย และแองโกลา ที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบแบน ซึ่งครอบคลุมประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ของประเทศบอตสวานา ที่รู้จักกันในฉายา "ดินแดนแห่งความหิวกระหาย"[5] ซึ่งแท้จริงแล้ว มันถูกปกคลุมด้วยพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย, ทุ่งหญ้า, ไม้แคระ และพุ่มไม้หนาม นอกเหนือจากเนินเขากระจัดกระจายและหุบเขา ระบบเนินทรายทางภาคใต้ส่วนหนึ่งมีลักษณะเป็นกระทะที่เต็มไปด้วยน้ำในช่วงฤดูฝน ที่หล่อเลี้ยงสัตว์ป่าและพรรณพืชด้วยสารอาหารและหญ้าที่มีอยู่[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Behnke, Alison (1 February 2009). Botswana in Pictures. Twenty-First Century Books. p. 14. ISBN 978-1-57505-953-2. สืบค้นเมื่อ 3 April 2011.
  2. "Botswana:Plants". Kidcyber.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 3 April 2011.
  3. D.M.T. Motlhanka, P. Motlhanka and T. Selebatso. "Edible Indigenous Wild Fruit Plants of Eastern Botswana" (PDF). Gaborone: Department of Basic Sciences, Botswana College of Agriculture, International Journal of Poultry Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 3 April 2011.
  4. Michael Main (31 October 2001). African adventurer's guide to Botswana. Struik. pp. 206–. ISBN 978-1-86872-576-2. สืบค้นเมื่อ 5 April 2011.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 "Geographical Info". Official website of the Botswana Tourism Organisation. 2006. สืบค้นเมื่อ 4 April 2011.