![]() | |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | BindRen |
AHFS/Drugs.com | International Drug Names |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | การรับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | ไม่ถูกดูดซึม |
การจับกับโปรตีน | ไม่ถูกดูดซึม |
การเปลี่ยนแปลงยา | ไม่ถูกดูดซึม |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | ไม่ถูกดูดซึม |
การขับออก | อุจจาระ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider |
|
KEGG | |
ChEMBL | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | (C4H5ClN2)m(C3H6O)n |
![]() ![]() | |
![]() |
คอเลสติแลน (อังกฤษ: Colestilan, ชื่อการค้า BindRen) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นยาจับฟอสเฟต (phosphate binder)[1][2][3] และยังจัดเป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือดกลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid sequestrant) อีกด้วย[2][4][5]
คอเลสติแลนถูกใช้เป็นยาสำหรับรักษาภาวะฟอสเฟตสูงในเลือด (Hyperphosphataemia) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่จำเป็นต้องแยกสารผ่านเยื่อ (dialysis) ซึ่งรวมไปถึงผู้ป่วยที่ต้องชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง (peritoneal dialysis)[1][2][6][7] จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าคอเลสติแลนทำให้ระดับฟอสเฟตในกระแสเลือดลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการรับประทานคอเลสติแลนในขนาด 11.5 กรัม และ 13.1 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับฟอสเฟตในกระแสเลือดลงได้ 0.36 และ 0.50 มิลลิโมลต่อลิตร ตามลำดับ[3][7] นอกจากนี้ ผลของคอเลสติแลนทำให้ปริมาณกรดน้ำดีในร่างกายลดลง กระตุ้นการสังเคราะห์กรดน้ำดีทดแทนที่ตับ โดยการดึงเอาคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดและตับมาสร้างเป็นกรดน้ำดีทำให้ลดการสะสม ไขมันในตับและคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด จึงมีการนำเอาคอเลสติแลนมาใช้เพื่อลดระดับไขมันในเลือดด้วย แต่ยังคงอยู่ในขอบเขตที่จำกัด [5]
คอเลสติแลน มีจำหน่ายในชื่อการค้า BindRen เป็นยาเม็ดเคลือบขนาด 1 กรัม/เม็ด สีขาว รูปไข่ ยาว 20.2 มิลลิเมตร ส่วนกว้างที่สุด 10.7 มิลลิเมตร พร้อมกับมีตัวอักษร “BINDREN” สีชมพูพิมพ์อยู่ด้านหนึ่งของเม็ดยา [8]
ขนาดของคอเลสติแลนที่แนะนำต่อวัน คือ 6-9 กรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหารทันที (ทั้งผู้ที่ยังไม่เคยได้รับยาจับฟอสเฟตหรือผู้ที่เปลี่ยนยาจับฟอสเฟตชนิดอื่นมาเป็นคอเลสติแลน) ทั้งนี้ ควรติดตามระดับฟอสเฟตในกระแสเลือดเป็นระยะระหว่างการใช้คอเลสติแลน ในกรณีที่ระดับฟอสเฟตในกระแสเลือดยังไม่ถึงเป้าหมาย สามารถเพิ่มขนาดยาได้สูงสุดไม่เกิน 3 กรัมต่อวัน ในช่วงระยะห่าง 2-3 สัปดาห์ โดยขนาดของคอเลสติแลนสูงสุดที่มีการใช้ในการศึกษาทางคลินิกคือ 15 กรัมต่อวัน[8]
การใช้คอเลสติพอลในกลุ่มประชากรพิเศษส่วนใหญ่แล้วยังมีข้อมูลอยู่อย่างจำกัดหรือยังขาดข้อมูลถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ดังรายละเอียดต่อไปนี้:[8]
ห้ามใช้คอเลสติแลนในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินอาหารและผู้ที่แพ้ยานี้[2][6][8]
ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของคอเลสติแลนในกลุ่มผู้ป่วยต่อไปนี้ จึงควรระมัดระวังการใช้คอเลสติแลนในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว:[8]
อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้คอเลสติแลนในผู้ป่วยดังข้างต้น
คอเลสติแลนสามารถยับยั้งการถูกดูดซึมของยาอื่นได้ รวมไปถึงวิตามินที่ละลายในไขมัน (เอ, ดี, อี, และเค) และโฟเลท (Folate) ด้วย[1][2] ทำให้ระดับยาอื่นในกระแสเลือดลดลง จนเกิดปัญหาในการรักษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีช่วงการรักษาแคบหรือยาที่ใช้รักษาความเจ็บป่วยที่ร้ายแรง อย่างเช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยากันชัก เป็นต้น[6] ดังนั้นจึงควรรับประทานยาอื่นก่อนคอเลสติแลนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานคอเลสติแลนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง[7]
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากคอเลสติแลน ได้แก่ อาการข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ร่างกายขาดวิตามินและแคลเซียม รวมไปถึงการขาดวิตามินเค ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารได้[1][2][6][7] ในรายที่ท้องผูกรุนแรงหรือเรื้อรังอาจกลายเป็นริดสีดวงทวารได้[7]
คอเลสติแลนเป็นยาที่เกิดจากการเกิดพันธะกันระหว่างพอลิเมอร์ 2 ชนิด (Cross-linked copolymer) คือ 2-เมทิลิมิดาโซล (2-methylimidazole) และอิพิคลอโรไฮดริน (Epichlorohydrin) (ดังภาพ) โดยคอเลสติแลนออกฤทธิ์เป็นเรซินแลกเปลี่ยนไอออน (Ionn exchanger resin) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับฟอสเฟต, กรดน้ำดี, และยูเรค (Urate) ในร่างกาย โดยคอเลสติพอลจะจับกับสารทั้ง 3 ชนิดดังข้างต้นในทางเดินอาหาร เป็นผลให้สารเหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมกลับ (enterohepatic circulation) ทั้งนี้คอเลสติแลนนั้นไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และจะถูกขับออกจากร่างกายในรูปแบบของสารประกอบเชิงซ้อนที่จับอยู่กับไอออนเป้าหมายทั้ง 3 ชนิดดังข้างต้น[1]