ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ

ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ(จีน: 臭老九; พินอิน: chòu lǎo jiǔ) เป็นคำวิพากษ์วิจารณ์ของจีนสำหรับปัญญาชนที่ถูกนำมาใช้ในประเด็นหลักสองประการ[1]

คำศัพท์นี้มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งมองโกลผู้พิชิตจีนได้ระบุถึง "วรรณะ" ของจีนถึง 10 วรรณะ ได้แก่ ขุนนาง เจ้าหน้าที่ พระภิกษุสงฆ์ นักพรตลัทธิเต๋า แพทย์ กรรมกร นักล่า คณิกา (ลำดับที่เก้า)นักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อ และลำดับสุดท้ายคือขอทาน มีเพียงขอทานเท่านั้นที่มีฐานะที่ต่ำต้อยกว่าปัญญาชน[2] ราชวงศ์หยวนเชื่อว่านักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อไม่ได้นำผลิตภาพมาสู่สังคมและแม้แต่ยังขัดขวางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงถูกจัดเป็นชนชั้นวรรณะทางสังคมที่เก้าในช่วงสมัยนั้น ในปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 คำว่า "ค่านิยมเก่าทั้งเก้าที่เน่าเฟะ" มักจะถูกนำใช้เป็นคำพ้องซึ่งหมายถึงปัญญาชน และแสดงให้เห็นถึงเป็นที่รังเกียจของสังคมในสมัยนั้น ปัญญาชนไม่เป็นที่ไว้วางใจในช่วงการปฏิวัติและคอยแต่จะผลักดันให้เปลี่ยนแปลงตนเอง[3]

ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม "กลุ่มบัญชีดำทั้งเก้า" อันได้แก่ เจ้าของที่ดิน ชาวนาผู้ร่ำรวย ผู้ต่อต้านการปฏิวัติ ผู้มีอิทธิพลอันเลวทราม พวกฝ่ายขวา ผู้ทรยศ สายลับ นายทุน และปัญญาชน(ลำดับที่เก้า) ในขณะที่มักจะมีการกล่าวอ้างว่าเหมา เจ๋อตงเป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น ในปี ค.ศ. 1977 เติ้ง เสี่ยวผิงได้โต้แย้งว่าเป็นเพราะแก๊งออฟโฟร์ต่างหากที่เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น และเหมาเองก็เห็นว่าปัญญาชนยังคงมีคุณค่าในสังคม[4]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Li, Kwok-sing (1995). A Glossary of Political Terms of the People's Republic of China. Hong Kong: The Chinese University Press. pp. 27–28.
  2. Ya Se (雅瑟) and Qing Ping (青苹), eds. (2014). 中华词源 (Etymologies of China). Available on Google Books.
  3. Ip, Hung-yok (2004-11-23). Intellectuals in Revolutionary China, 1921-1949 (ภาษาอังกฤษ) (0 ed.). Routledge. doi:10.4324/9780203009932. ISBN 978-1-134-26520-6.
  4. Deng, Xiaoping (1984). "Mao Zedong Thought Must be Correctly Understood as an Integral Whole". Selected Works of Deng Xiaoping, Volume 2. Beijing: Foreign Language Press.