ในบทความนี้
ชื่อตัวคือ
จอมี่นยุ ไม่มีนามสกุล
จอมี่นยุ |
---|
ကျော်မင်းယု |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 รัฐฉาน ประเทศพม่า[1] |
---|
เสียชีวิต | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (53 ปี) เรือนจำอี้นเซน ย่างกุ้ง ประเทศพม่า |
---|
ชื่ออื่น | โกจิมมี |
---|
การศึกษา | มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (RASU – ภาควิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 3) |
---|
รับโทษ | ประหารชีวิต |
---|
สถานะทางคดี | ถูกประหารโดยการแขวนคอ |
---|
คู่สมรส | นีลาเต้น (နီလာသိန်း) |
---|
บุตร | 1 คน |
---|
บิดามารดา | - ทินยุ (ဦးတင်ယု - บิดา)
- อะมาหญุ่น (ဒေါ်အမာညွန့် - มารดา)
|
---|
จอมี่นยุ (พม่า: ကျော်မင်းယု, Kyaw Min Yu) หรือที่รู้จักในชื่อ โกจิมมี (Ko Jimmy; 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) เป็นนักเขียนและนักโทษการเมืองชาวพม่า และสมาชิกของกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 (၈၈ မျိုးဆက် ကျောင်းသားများ) เขาถูกประหารในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[2] หลังจากถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่ยึดอำนาจในการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2564[3]
จอมี่นยุมีชื่อเสียงในช่วงการก่อการกำเริบ 8888 ในฐานะนักกิจกรรมนักศึกษา[4][5] เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึง 2546 จากการเข้าร่วมในเหตุการณ์ 8888[6] และต่อมาเขาถูกจำคุกอีกห้าปีหลังจากร่วมการประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันกับกลุ่มนักศึกษารุ่น 88 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[7]
เขาเขียนหนังสือแนวพัฒนาตนเองเรื่อง การสร้างมิตรภาพ (မိတ်ဖြစ်ဆွေဖြစ်) ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีในปี พ.ศ. 2548[8] เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555 เขาตีพิมพ์นวนิยายเรื่อง พระจันทร์ในทะเลสาบอี้นเล่ (လမင်းဆန္ဒာအင်းလေးကန်) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ระหว่างถูกจำคุกในเมืองตองจี[8] ขณะรับโทษในตองจี เขาเขียนเรื่องสั้นการเมืองแนวหลังสมัยใหม่จำนวนหนึ่ง ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้นามปากกาว่า Pan Pu Lwin Pyin[8] โกจิมมีแปลนวนิยายมากมายรวมทั้ง เทวากับซาตาน และ รหัสลับดาวินชี ขณะถูกจำคุก[8]
การรัฐประหารในพม่า พ.ศ. 2564 และการประหารชีวิต
[แก้]
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 หลังรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 จอมี่นยุและบุคคลที่มีชื่อเสียงอีก 6 คน[9] ได้แก่ มี่นโกไนง์ (မင်းကိုနိုင်), มโย่ยานนองเต้น (မျိုးရန်နောင်သိန်း), อี้นเซนอองโซ่ (အင်းစိန်အောင်စိုး), มองมองเอ้ (မောင်မောင်အေး), ปานแซโล (ပန်ဆယ်လို) และลี่นลี่น (လင်းလင်း) ถูกตั้งข้อหาและออกหมายจับตามมาตรา 505(ข) (၅၀၅(ခ)) แห่งประมวลกฎหมายอาญาของสภาการบริหารแห่งรัฐในข้อหายุยงให้เกิดความไม่สงบต่อรัฐและคุกคาม "ความสงบสุขของสาธารณะ" ผ่านการเผยแพร่ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์[10][11][12][13] เขาถูกจับกุมในอำเภอดะโกนของนครย่างกุ้งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564[14] ศาลทหารพม่าได้พิพากษาเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2565 ให้ประหารชีวิตจอมี่นยุภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศ จากการติดต่อกับคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ, รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) และกองกำลังป้องกันประชาชน (PDF)[3] เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 มีการประกาศว่า จอมี่นยุถูกประหารชีวิตพร้อมกับเซยาตอ (ဇေယျာသော်) และนักเคลื่อนไหวอีกสองคน[2][15]
จอมี่นยุเกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ในรัฐฉาน ทางตะวันออกของพม่า ในช่วงเวลาของการก่อการกำเริบ 8888 เขาเป็นนักศึกษาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ย่างกุ้ง (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง)[15]
เขาสมรสกับนีลาเต้น นักเคลื่อนไหวทางการเมือง[16] พวกเขาพบกันขณะถูกจองจำหลังเหตุการณ์ 8888 และแต่งงานกันหลังจากที่ทั้งคู่ได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2547[15] ทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ เนชีมี่นยุ (နေခြည်မင်းယု)[17]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ขณะที่จอมี่นยุถูกประหารชีวิต เขามีอายุ 53 ปี[2][15][18]
- မိတ်ဖြစ်ဆွေဖြစ် [การสร้างมิตรภาพ] (2548)[8]
- လမင်းဆန္ဒာအင်းလေးကန် [พระจันทร์ในทะเลสาบอี้นเล่] (2555)[8]
- ↑ "Political Prisoner Profile No. 0050" (PDF). Assistance Association for Political Prisoners (Burma). 7 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Myanmar junta executes four democracy activists" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "Myanmar military tribunal sentences prominent activist, former lawmaker to death". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2022.
- ↑ "The Story of Ko Jimmy". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). 6 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "Myanmar activist arrested in junta raid: wife". sg.news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ Andrews, Jim (4 กันยายน 2007). "A Very Special Kind of Courage". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
- ↑ Beech, Hannah (16 มกราคม 2012). "With U.S.-Burma Ties on the Mend, Will a Lifting of Sanctions Be Next?". Global Spin. TIME. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Another student leader, another book". The Myanmar Times. 17 กันยายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "Tatmadaw charges activists, public figures for crimes against the state". The Myanmar Times. 14 กุมภาพันธ์ 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2022.
- ↑ ကိုမင်းကိုနိုင်၊ ကိုဂျင်မီ၊ အဆိုတော်လင်းလင်း ၊ အင်းစိန်အောင်စိုး၊ ကိုမျိုးရန်နောင်သိမ်း၊ ပန်ဆယ်လို နှင့် မောင်မောင်အေး တို့အား ရာဇသတ်ကြီး ပုဒ်မ ၅၀၅(ခ)ဖြင့် တရားစွဲထားပြီး ဖမ်းဝရမ်းထုတ်ထားကြောင်း တပ်မတော် ကြေညာ. Eleven Media Group (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ ကိုမင်းကိုနိုင်အပါအဝင် နာမည်ကြီး လူပုဂ္ဂိလ် (၇)ဦးကို ဖမ်းဝရမ်းထုတ် [Issued an arrest warrant of 7 famous people including Min Ko Naing]. The Voice Weekly (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2022.
- ↑ ကိုမင်းကိုနိုင်အပါအဝင် ခုနစ်ဦးကို စစ်အစိုးရ ဖမ်းဝရမ်းထုတ်. Radio Free Asia (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ ကိုမင်းကိုနိုင်၊ ကိုဂျင်မီ၊ အဆိုတော်လင်းလင်းတို့ အပါအဝင် (၇) ဦးကို ဖမ်းဝရမ်းထုတ်. Duwun (ภาษาพม่า). 13 กุมภาพันธ์ 2021.
- ↑ "Myanmar junta arrests 88 Generation leader Ko Jimmy". Myanmar NOW (ภาษาอังกฤษ). 24 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Murphy, Brian (26 กรกฎาคม 2022). "Kyaw Min Yu, Myanmar activist known as Ko Jimmy, executed at 53". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.
- ↑ Bodenham, Patrick (28 พฤษภาคม 2012). "Home of the free: the Burmese family that democracy brought back". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ ၈၈ မျိုးဆက် ခေါင်းဆောင် မနီလာသိန်း ထောင်ပြောင်းပေးရေး တောင်းဆို. Radio Free Asia (ภาษาพม่า). 20 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "Myanmar: Military executes four democracy activists including ex-MP". BBC News. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2022.