ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
ชัยวุฒิ ใน พ.ศ. 2565
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(2 ปี 163 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
ถัดไปประเสริฐ จันทรรวงทอง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
(3 ปี 245 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(7 ปี 331 วัน)
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสิงห์บุรี
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 55 วัน)
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2561
(6 ปี 107 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (53 ปี)
อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–2547)
ชาติไทย (2547–2551)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ (2540–2565)[1]

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (เกิด 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) ชื่อเล่น โอ๋ เป็นนักการเมืองชาวไทย รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสิงห์บุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี

ประวัติ

[แก้]

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ที่ตำบลบางพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เป็นบุตรนายสมศักดิ์ และนางภรณี[2] และเป็นพี่ชายของ โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์

ชัยวุฒิ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]

ชัยวุฒิ เคยสมรสกับ นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ สมาชิกพรรคเพื่อไทยและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 1 สมัย มีบุตร-ธิดา 3 คน

การทำงาน

[แก้]

ชัยวุฒิเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยทำงานอยู่ที่ธนาคารกสิกรไทย เคยทำงานในตำแหน่งวิศวกรบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์[4][5][6]

งานการเมือง

[แก้]

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เข้าสู่งานการเมืองโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสิงห์บุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการการเงินการคลัง สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย[7] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย และชนะการเลือกตั้ง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[8]

ในปี พ.ศ. 2557 หลังจากสิ้นสุดการตัดสิทธิทางการเมือง ก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสิงห์บุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

ในปี พ.ศ. 2561 ชัยวุฒิได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

ในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สภาลุกเป็นไฟ! สส.เพื่อไทยตลบมุ้ง ‘ชัยวุฒิ’ ปมหย่าร้าง-เอื้อประโยชน์ ‘บัดดี้’
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. เช็กโผปรับครม. รู้จัก"ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์” ผงาดจ่อคุม “ดีอีเอส”
  4. คนตามข่าว : ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ 11 อรหันต์เฟ้นผู้สมัคร พปชร.
  5. เปิดประวัติ 2 แคนดิเดต ลุ้นนั่ง 'รมว.ศึกษาธิการ' เข้าสเปก ในดวงใจ บิ๊กตู่7
  6. เส้นทางว่าที่ รมต.'ชัยวุฒิ’ จาก'ดร.อาทิตย์' ถึง‘พล.อ.ประวิตร’
  7. พรรคประชาธิปัตย์ ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย[ลิงก์เสีย]
  8. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๖๕ ง หน้า ๒, ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
ก่อนหน้า ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ถัดไป
อิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
ประเสริฐ จันทรรวงทอง