![]() | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
คาบสมุทรมลายู: | |
![]() | 2,326 (2010)[1] |
![]() | 200[2] |
ภาษา | |
ภาษายะฮาย, ภาษามลายู | |
ศาสนา | |
ศาสนาชาติพันธุ์ (ส่วนใหญ่), อิสลาม, คริสต์ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
เซมัง (ชาวบาเติก, ชาวลาโนฮ์), เนกริโต (ชาวมานิก, เนกริโตฟิลิปปิน, ชาวอันดามัน) |
ชาวยะฮาย หรือ เยไฮ, ยาไฮ, จาไฮ เป็นชนพื้นเมือง (โอรังอัซลี) ขอกลุ่มชนเซมังที่พบในรัฐเปรักและรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย และประเทศไทยบางพื้นที่ พวกเขามีผิวดำ มักมีผมหยิก และมีลักษณะใบหน้าแบบเอเชีย[3] พวกเขาเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์ และฝึกทำเกษตรกรรมแบบถางโค่นและเผาป่าเป็นครั้งคราว[4]
ชาวยะฮายเชื่อในระบบศาสนากับกาแร (Karei ออกเสียงว่า "Karεy") เป็นพลังเหนือธรรมชาติที่ควบคุมการกระทำและพฤติกรรมของพวกเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการดึงดูดกาแรในทางลบ จึงมีข้อห้ามและกฎหลีกเลี่ยงที่ต้องปฏิบัติตาม พวกเขาเชื่อว่ากาแรสามารถทำให้กลัวหรือดึงดูดด้วยกลิ่นต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของกาแร เช่น กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของเครย์ฟิชไหม้[5] ดังนั้น สิ่งนี้จึงนำไปคำศัพท์เกี่ยวกับกลิ่นที่หลากหลายในภาษายะฮาย[5] ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พบในชาวมานิกในประเทศไทยด้วย[6]
ชาวยะฮาย ซึ่งดั้งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถิ่นฐานถาวรในส่วนต่าง ๆ ของอุทยานหลวงแห่งรัฐเบอลุมในฐานะแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว พวกเขาอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว และน่าจะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน โรงเรียน บริการสุขภาพ และอื่น ๆ[7] นั่นส่งผลให้ทรัพยากรหมดไป อัตราการตายของชาวยะฮายในหมู่บ้านริมแม่น้ำเกอจาร์สูงถึง 50% ในกลุ่มเด็ก เนื่องจากเซอราวัน ซึ่งทำให้ประชากรที่นั่นลดลงจาก 600 คน เหลือเพียง 400 คน[8][9]
พลวัตของประชากรชาวยะฮายในประเทศมาเลเซียเป็นไปตามนี้:-
ปี | 1960[10] | 1965[10] | 1969[10] | 1974[10] | 1980[10] | 1993[11] | 1996[10] | 2000[12] | 2003[12] | 2004[13] | 2010[1] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประชากร | 621 | 546 | 702 | 769 | 740 | 1,049 | 1,049 | 1,244 | 1,843 | 1,843 | 2,326 |