บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็ง | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เอสเอ็นเค[a][b] |
ผู้จัดจำหน่าย | เอสเอ็นเค |
กำกับ | โชจิ โยชิกาวะ |
อำนวยการผลิต | จิฮิโระ อามาโนะ ทากาชิ นิชิยามะ โยชิฮิโระ ทากาโอกะ |
ออกแบบ | ชิโร โอโนะ |
โปรแกรมเมอร์ | เอ็ม. คนโด ที. นากามูระ ที. ยามาซากิ |
ศิลปิน | ฮิโตชิ คาเนมารุ เคซูเกะ โนซาวะ คิมิฮิโระ ฮาซูโอะ |
เขียนบท | คัตสึฮิโกะ ชิบะ ทัตสึจิ ยามาซากิ |
แต่งเพลง | อากิฮิโระ อูจิดะ ฮิโรโตมิ อิโมโตะ เคียวโกะ นากะ |
ชุด | ซามูไรสปิริตส์ |
เครื่องเล่น | นีโอจีโอ ซีดี เพลย์สเตชัน เซกา แซตเทิร์น |
วางจำหน่าย | |
แนว | เล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็ง[c][d] เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทสำหรับระบบนีโอจีโอ ซีดี ของบริษัทเอสเอ็นเค ซึ่งเล่าเหตุการณ์ของซามูไรสปิริตส์ และชินซามูไรสปิริตส์: ฮาโอมารุจิโงกูเฮ็ง โดยละเอียดยิ่งขึ้น รวมถึงเกมนี้ได้รับการพอร์ตสู่ระบบเซกา แซตเทิร์น และเพลย์สเตชัน
การตั้งค่าพื้นฐานของเกมนั้นคล้ายกับคอนโซลวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทส่วนใหญ่ ดังเช่นไฟนอลแฟนตาซี เหล่าตัวละครท่องไปในโลกปกติ, เข้าสู่เมืองและดันเจียน ตลอดจนเข้าสู่การต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นบนหน้าจอแยกต่างหาก ส่วนตัวเลือกเมนูช่วยให้สามารถสวมใส่เกราะและอุปกรณ์เสริม รวมถึงการใช้ไอเทมต่าง ๆ
ในตอนเริ่มต้น ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกให้เลือกจากหกตัวละครเพื่อเป็นตัวละคร "หลัก" ของเรื่อง[4] โครงร่างพื้นฐานของโครงเรื่องไม่ได้แตกต่างกันมากนักสำหรับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่แต่ละเรื่องมีบทสนทนาในเกมที่แตกต่างกัน และแต่ละฉากก็มีฉากพิเศษเฉพาะซึ่งจะลงข้อปลีกย่อยของตัวละครมากขึ้น[5] นอกจากนี้ เพื่อปรับความต่อเนื่องของตัวละครให้ดียิ่งขึ้น เรื่องราวบางส่วนจึงได้รับการแก้ไขเล็กน้อยตามบทที่เลือก ในระหว่างเกม ตัวละครอีกสองตัวสามารถเข้าร่วมคณะได้ (เว้นแต่ตัวละครเอกคือเก็นจูโร ซึ่งได้คู่หูในเรื่องที่สองของเขาเท่านั้น)[6] นอกจากนี้ บทที่สองยังแนะนำตัวละครใหม่ ชื่อชิปปูโนะเรอง (疾風の鈴音) ซึ่งชื่อแปลคร่าว ๆ ว่า "เสียงกังวานแห่งวายุ"[7] โดยตัวละครทั้งหมดจากเกมซามูไรโชดาวน์สองภาคแรกต่างได้ปรากฏตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยชั่วคราว, อุปกรณ์วางแผน หรือศัตรู[8]
ส่วนการต่อสู้มีตัวเลือกในการป้อนการเคลื่อนไหวจากจอยสติกสำหรับท่าพิเศษต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับในเกมอาร์เคด แทนที่จะเพียงแค่เลือกการเคลื่อนไหวจากรายการ[9]
ในขณะที่สามารถซื้อและติดตั้งเกราะรวมถึงอุปกรณ์เสริมได้ ตัวละครแต่ละตัวจะมีอาวุธเหมือนเดิมตลอดทั้งเกม บรรดาตัวละครสามารถแวะเยี่ยมช่างตีเหล็กเพื่อปรับสภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่อาวุธของพวกเขา ช่างตีเหล็กเหล่านี้ยังสามารถใส่อาวุธเข้ากับหนึ่งในธาตุต่าง ๆ ของเกม ซึ่งทำให้การโจมตีปกติของอาวุธและการเลือกท่าพิเศษมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการต่อสู้กับศัตรูบางตัว[10]
ประวัติการพัฒนาของเกมนี้มีเรื่องราวพอสมควร ภาคนี้ได้รับการประกาศให้พัฒนาใน ค.ศ. 1995[1] และเกิดความล่าช้าหลายครั้งของกระบวนการ แต่ในที่สุด ก็มีการเปิดตัวในอีกไม่กี่ปีต่อมา ซึ่งบางครั้ง ก็มีข่าวลือหนาหูว่าเกมภาคนี้จะไม่มีการออกวางตลาด[ต้องการอ้างอิง] ส่วนการเปิดตัวในสหรัฐมีการวางแผนไว้สำหรับไตรมาสที่สามของ ค.ศ. 1997 (เพียงไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวในญี่ปุ่น)[2] แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นจริง
เกมนี้จะแบ่งออกเป็นสามตอน:[1] ได้แก่หนึ่งตอนสำหรับแต่ละตอนจากสามเกมในซีรีส์ ในขณะที่เกมนี้ผูกขาดระบบนีโอจีโอ ซีดี ชั่วครู่ชั่วยาม แต่การพัฒนาและแรงกดดันทางการเงินทำให้บริษัทเอสเอ็นเคเปิดตัวสำหรับอีกสองระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยทางเอสเอ็นเคตัดสินใจว่าแต่ละเวอร์ชันจะมีเพียงสองในสามตอน ด้วยเหตุนี้ผู้เล่นจำเป็นต้องซื้อเกมสองชุดเพื่อได้เรื่องราวทั้งหมด แผนนี้ส่งผลให้เกิดการต่อต้านอย่างมากจากแฟน ๆ และถูกยกเลิกไป[ต้องการอ้างอิง]
ในที่สุด ด้วยเหตุแห่งการพัฒนา ฝ่ายบริหารจึงตัดสินใจทิ้งบทที่สามทั้งหมด และมุ่งเน้นไปที่สองบทแรกเท่านั้น เพื่อให้เกมวางจำหน่ายเร็วขึ้น
แม้ว่ารูปแบบการเล่นหลักจะคล้ายกันมากระหว่างเวอร์ชันต่าง ๆ แต่ก็มีความแตกต่างด้านความสวยงาม และรูปแบบการเล่นระหว่างเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี กับเพลย์สเตชัน/แซตเทิร์น
ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างสามเวอร์ชันคือโหมดโบนัสซึ่งจะปลดล็อกหลังจากเอาชนะเกม[11]
จากข้อมูลของนิตยสารแฟมิซือ ชินเซ็ตสึซามูไรสปิริตส์บูชิโดเร็ตสึเด็งในระบบนีโอจีโอ ซีดี ขายได้มากกว่า 20,256 ชุดในสัปดาห์แรกที่วางตลาด[12] รวมถึงทางนิตยสารแฟมิซือยังรายงานว่าทั้งเวอร์ชันเพลย์สเตชัน กับเซกา แซตเทิร์น ขายได้มากกว่า 37,353 ชุดและ 28,122 ชุดตามลำดับในสัปดาห์แรกที่วางตลาดเช่นกัน[12]