ดันเจียน!

ดันเจียน!
ฝากล่องแรกเริ่ม ค.ศ. 1975
คำที่มีชื่อเหมือนกันเดอะนิวดันเจียน! (ค.ศ. 1989)
คลาสสิกดันเจียน! (ค.ศ. 1992)
ผู้จัดทำทีเอสอาร์, อิงก์. (ค.ศ. 1975—1999)
วิซเซิดส์ออฟเดอะโคสต์ (ค.ศ. 2012—ปัจจุบัน)
ประเภทของเกมผจญภัย
จำนวนผู้เล่น1 ถึง 8 คน[1] หรือ 12 คน
ระยะเวลาติดตั้ง10 นาที
ระยะเวลาเล่น90 นาที[1]
โอกาสสุ่มการหมุนลูกเต๋า
เว็บไซต์http://dnd.wizards.com/products/tabletop-games/board-card-games/dungeon

ดันเจียน! (อังกฤษ: Dungeon!) เป็นเกมกระดานผจญภัย ค.ศ. 1975 ที่ออกแบบโดยเดวิด อาร์. เมแกร์รี, แกรี ไกแกกซ์, ไมเคิล เกรย์, สตีฟ วินเทอร์ และเอส. ชวาบ เผยแพร่โดยทีเอสอาร์, อิงก์.[2] ดันเจียน! จำลองบางแง่มุมของเกมเล่นตามบทบาทดันเจียนส์แอนด์ดรากอนส์ (D&D) ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1974 แม้ว่าเมแกร์รีจะมีต้นแบบของดันเจียน! พร้อมตั้งแต่ ค.ศ. 1972[3]

ดันเจียน! มีแผนที่ของดันเจียนหกชั้นที่เรียบง่ายพร้อมโถงทางเดิน, ห้อง และห้องโถงต่าง ๆ โดยผู้เล่นจะเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ กระดานเพื่อกำจัดมอนสเตอร์และรับสมบัติ ส่วนสมบัติที่สำคัญกว่าจะอยู่ในชั้นลึกของดันเจียนพร้อมกับมอนสเตอร์ที่แข็งแกร่งขึ้น ผู้เล่นเลือกคลาสตัวละครที่มีความสามารถแตกต่างกัน เป้าหมายของเกมคือการเป็นคนแรกที่กลับไปที่ห้องโถงเริ่มต้นพร้อมด้วยสมบัติที่กำหนดมูลค่าไว้

ฉบับดั้งเดิม

[แก้]

เดวิด เอ็ม. เอวัลต์ เขียนในหนังสือออฟไดซ์แอนด์เมนของเขา ได้อธิบายเกมฉบับดั้งเดิมของเมแกร์รีว่าเป็น "เกมกระดานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแบล็กมัวร์ซึ่งเป็นตัวแทนของการผลิตที่ทะเยอทะยานที่สุดของทีเอสอาร์จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ แผนที่เกมสี, การ์ดแบบกำหนดเอง, เหรียญ, ลูกเต๋า และหนังสือกติกาเล่มเล็ก ซึ่งทั้งหมดได้รับการบรรจุในกล่องที่น่าสนใจ"[4]

งานศิลปะและตัวหมากเกม

[แก้]
เดฟ เมแกร์รี เป็นผู้นำสมัยประชุมของดันเจียน! ที่การประชุมแกรีคอน โดยใช้ฉบับเผยแพร่ดั้งเดิม

เกมฉบับดั้งเดิมมีหนังสือกติกา, เกมกระดานผ้าไวนิลพับได้, ตัวหมากการเล่นสไตล์พาร์ชีซีสี่สี (ขาว, น้ำเงิน, แดง และเขียว), ลูกเต๋าหกด้านหนึ่งคู่ และการแบ่งประเภทมอนสเตอร์รหัสสีต่าง ๆ รวมถึงการ์ดสมบัติสำหรับดันเจียนหกชั้น งานศิลปะบนหน้าการ์ดเป็นสีดำและสีขาว ในขณะที่ด้านหลังมีสีที่แบ่งตามชั้น ได้แก่ สีทองสำหรับชั้นแรก, สีส้มสำหรับชั้นที่สอง, สีแดงสำหรับชั้นที่สาม, สีม่วงแดงสำหรับชั้นที่สี่, สีเขียวสำหรับชั้นที่ห้า และสีน้ำเงินสำหรับชั้นที่หก เกมดั้งเดิม (ค.ศ. 1975) มีคลาสตัวละครสี่คลาส ได้แก่ เอลฟ์, ฮีโร, ซูเปอร์ฮีโร และพ่อมด (ฮีโรและซูเปอร์ฮีโรเป็นนักรบ โดยซูเปอร์ฮีโรมีพลังมากกว่า) ซึ่งโดยปกติแล้วจะแสดงด้วยตัวหมากสีเขียว, น้ำเงิน, แดง และขาวตามลำดับ สำหรับ 'นิวดันเจียน' ใน ค.ศ. 1989 มีหกคลาส ได้แก่ นักรบ, เอลฟ์, คนแคระ, พ่อมด, พาลาดิน และโจร[ต้องการอ้างอิง] ส่วน 'คลาสสิกดันเจียน' ใน ค.ศ. 1992 มีหกคลาสเหมือนกัน[5] เนื่องจากมีตัวหมากการเล่นหลายชิ้น จึงสามารถตั้งค่ารูปแบบเกมที่กำหนดเองได้ด้วยคลาสตัวละครที่กำหนดมากกว่าหนึ่งคลาส (โดยใช้ตัวหมากที่มีสีตามอำเภอใจ) แต่โดยปกติเกมจะเกี่ยวข้องกับผู้เล่นในการเลือกคลาสต่าง ๆ ส่วนในเกมเวอร์ชัน ค.ศ. 2012 ที่วางจำหน่ายภายใต้ชื่อแบรนด์ดันเจียนส์แอนด์ดรากอนส์ มีตัวละครเอก ได้แก่ อันธพาล, นักบุญ, นักสู้, และพ่อมด[6] ซึ่งสามารถรองรับผู้เล่นได้สูงสุด 8 คน[1]

  • ดั้งเดิม (ค.ศ. 1975): เอลฟ์, ฮีโร, ซูเปอร์ฮีโร, พ่อมด
  • นิวดันเจียน (ค.ศ. 1989): นักรบ, เอลฟ์, คนแคระ, พ่อมด, พาลาดิน, โจร
  • คลาสสิกดันเจียน (ค.ศ. 1992): นักรบ, เอลฟ์, คนแคระ, พ่อมด, พาลาดิน, โจร[5]
  • ดันเจียน! (ค.ศ. 2012): อันธพาล, นักบุญ, นักสู้, พ่อมด[6] (ชายและหญิงของแต่ละคลาส)
  • ดันเจียน! (ค.ศ. 2014): อันธพาล, นักบุญ, นักสู้, พ่อมด (ชายและหญิงของแต่ละคลาส)

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ในฉบับดั้งเดิม การ์ดมอนสเตอร์และสมบัติมีขนาดค่อนข้างเล็ก คือประมาณ 1.375 นิ้วคูณ 1 นิ้ว เมื่อเริ่มเกม สิ่งเหล่านี้จะถูกสุ่มและวางคว่ำหน้าลงเพื่อเติมเต็มห้องดันเจียน สมบัติทั้งหมดจะถูกวางก่อน จากนั้นมอนสเตอร์จะอยู่เหนือ จากนั้นการ์ดมอนสเตอร์เพิ่มเติมถูกวางไว้ในห้องโถง ซึ่งเป็นห้องขนาดใหญ่ที่ทางแยกสำคัญทั่วกระดาน มอนสเตอร์เหล่านี้ถูกวางไว้สามตัวต่อหนึ่งห้องโถง โดยมีเพียงมอนสเตอร์อันดับต้น ๆ ในกองที่พบเมื่อพยายามผ่านห้องโถง

การ์ดมอนสเตอร์ระบุจำนวนขั้นต่ำรวมจากสองลูกเต๋าที่ต้องทอยเพื่อกำจัดมอนสเตอร์ หากผู้เล่นหมุนเพื่อกำจัดมอนสเตอร์ได้ต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด จะมีการหมุนครั้งที่สองเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้เล่น ผลลัพธ์ของผู้เล่นที่แพ้การต่อสู้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

  • การต่อสู้อาจจบลงด้วยการปลีกตัว โดยที่ผู้เล่นอยู่ในห้องซึ่งไม่ได้รับอันตราย
  • ผู้เล่นอาจถูกบังคับให้ล่าถอย, สูญเสียสมบัติหนึ่งหรือสองชิ้นในกระบวนการ
  • ผู้เล่นอาจถูกบังคับให้ล่าถอย และสูญเสียตาเดิน
  • ผู้เล่นอาจได้รับบาดเจ็บสาหัส, สูญเสียสมบัติทั้งหมด และถูกนำกลับไปที่พื้นที่เริ่มต้น
  • ในกรณีที่เลวร้าย ผู้เล่นอาจถูกฆ่า และสูญเสียสมบัติทั้งหมด

หากการโจมตีครั้งแรกของผู้เล่นล้มเหลว การตายจากการโจมตีของมอนสเตอร์จะมีโอกาสเพียง 1 ใน 36 เท่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะบนลูกเต๋า 2 ลูก (บนลูกเต๋า 6 เหลี่ยมสองลูก) หากตัวละครผู้เล่นเสียชีวิต ผู้เล่นสามารถเริ่มตัวละครใหม่ได้ที่ช่องว่างเริ่มต้นหลังจากเสียตาเดิน หากหลังจากการต่อสู้ตัวละครผู้เล่นยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการกำจัดมอนสเตอร์ เขาหรือเธอสามารถกลับไปพยายามกำจัดมอนสเตอร์ตัวเดิมได้ ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องล่าถอย, ทิ้งสมบัติ และเสียตาเดิน

เมื่อมอนสเตอร์ถูกกำจัด การ์ดสมบัติใด ๆ ที่อยู่ภายใต้การ์ดมอนสเตอร์จะตกเป็นของผู้เล่นที่ได้รับชัยชนะ การ์ดสมบัติได้แสดงมูลค่าเหรียญทอง และมีตั้งแต่ถุงทองมูลค่า 250 เหรียญทองในชั้นแรกไปจนถึงเพชรมหึมามูลค่า 10,000 เหรียญทองในระดับชั้นลึกที่หก สมบัติบางอย่าง เช่น ดาบวิเศษ และแก้วสารพัดนึก ได้แปรเปลี่ยนรูปแบบการเล่น โดยดาบได้เพิ่มในการต่อสู้ซึ่งประชิดตัวของผู้เล่น ในขณะที่แก้วสารพัดนึกได้อนุญาตให้ผู้เล่นละทิ้งการเคลื่อนที่ รวมถึงใช้เวลาในการมองดูการ์ดมอนสเตอร์และสมบัติในห้องโดยไม่ต้องเข้าไปในห้องดังกล่าว สิ่งเหล่านี้มีมูลค่าเหรียญทองน้อยที่สุดสำหรับสมบัติในชั้นที่กำหนดของดันเจียน

ชั้นดันเจียน

[แก้]

หกชั้นของดันเจียนได้เสนอช่วงของความยากในเหล่ามอนสเตอร์ที่สอดคล้องกับช่วงของมูลค่าในสมบัติ มอนสเตอร์ชั้นแรกมักจะอ่อนแอที่สุด ในขณะที่มอนสเตอร์ชั้นหกโดยทั่วไปจะมีพลังมากที่สุด[7] การ์ดมอนสเตอร์จำนวนเล็กน้อยไม่ใช่เหล่ามอนสเตอร์ แต่เป็นกับดักที่เปิดทางไถลลงไปที่ทิ้งตัวละครที่พบพวกมันเข้าไปในห้องที่ลึกขึ้นหนึ่งชั้น หรือขังตัวละครไว้ในกรงเป็นเวลาหลายตา

คลาสตัวละคร

[แก้]

แต่ละคลาสมีความได้เปรียบเฉพาะ

  • ฮีโร เป็นคลาสพื้นฐานระดับค่า "เฉลี่ย" ซึ่งในการชนะเกม ฮีโรจะต้องรวบรวม 10,000 ชิ้นทอง (GP) เท่านั้น
  • เอลฟ์ มีโอกาสเป็นสองเท่าของผู้อื่นจะผ่านประตูลับ โดยทำเครื่องหมายด้วยเส้นประในดันเจียน (1 ถึง 4 ครั้งในการทอยลูกเต๋าหกด้าน ในขณะที่ตัวอื่น ๆ ทั้งหมดต้องทอย 1 หรือ 2 ครั้ง) ซึ่งในการชนะเกม เอลฟ์จะต้องรวบรวม 10,000 ชิ้นทอง (GP) เท่านั้น
  • ซูเปอร์ฮีโร เป็นนักสู้ประชิดตัวที่ทนทานที่สุดในดันเจียน โดยซูเปอร์ฮีโรต้องเสาะหา 20,000 ชิ้นทอง (GP)
  • พ่อมด มีคาถาเวทย์มนตร์ ซึ่งเกมนี้อนุญาตให้ยิงลูกไฟหรือสายฟ้าโจมตีเข้าไปในห้องโดยไม่ต้องต่อสู้แบบประชิดตัว และคาถาเทเลพอร์ตเพื่อเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วผ่านดันเจียนจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง ทั้งนี้ พ่อมดต้องเสาะหา 30,000 ชิ้นทอง (GP)

จำนวนสมบัติที่ต้องใช้ในการชนะเกมจะแตกต่างกันไปตามคลาสของตัวละครในทางทฤษฎี โดยสิ่งนี้ทำให้โอกาสในการชนะเกมเท่ากัน และทำให้ตัวละครที่ทรงพลังน้อยกว่าสามารถอยู่ชั้นบนของดันเจียนได้

แม้ว่าฮีโรจะไม่มีข้อได้เปรียบใด ๆ แต่ด้วยคุณสมบัติที่จำเป็นในการชนะเกม ฮีโรจึงทุ่มสุดตัวสำหรับคลาสตัวละครที่ต้องใช้สมบัติน้อยที่สุดในการชนะ โดยแข็งแกร่งกว่ามอนสเตอร์ส่วนใหญ่ มากกว่าเอลฟ์เล็กน้อย

เอลฟ์และฮีโรเหมาะที่สุดสำหรับชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แต่บางครั้งอาจเสี่ยงไปชั้นที่ 3 เพื่อรับสมบัติที่มากกว่า ส่วนซูเปอร์ฮีโรนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับชั้นที่ 4 ในขณะที่พ่อมดจำเป็นต้องไปสู่ชั้นที่ 6 เพื่อรับสมบัติที่เพียงพอสำหรับการสะสม 30,000 ชิ้นทองที่พวกเขาต้องการเพื่อเอาชนะ อนึ่ง ชั้นที่ 5 ไม่ค่อยมีใครมาเยือนเนื่องจากการรวมกันของห้องที่เข้าถึงยาก และบรรดามอนสเตอร์ที่ยากสำหรับเอลฟ์, ฮีโร หรือซูเปอร์ฮีโรที่จะกำจัด ตลอดจนสมบัติน้อยกว่ามอนสเตอร์ชั้น 6 ที่พ่อมดสามารถสังหารได้

กติกาบ้าน

[แก้]

ผู้เล่นบางคนสร้างคลาสตัวละครของตัวเอง เช่น อัลทราฮีโร, พ่อมดเอลฟ์ และนักรบเวทมนตร์ บริษัททีเอสอาร์ยังพิมพ์กติการูปแบบอย่างเป็นทางการบางประการในนิตยสารสเตรทีจิกรีวิวและดรากอน โดยมอบการ์ดพิเศษและคลาสตัวละครใหม่

ฉบับต่อมา

[แก้]

กติกาที่มีมอนสเตอร์และคลาสตัวละครใหม่ได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 1976 ส่วนดันเจียน! ฉบับปรับปรุงใหม่ได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 1980, 1981, 1989 และ 1992 ซึ่งเกมดั้งเดิมนี้มีความหลากหลายของพื้นผิวการเล่นที่สามารถม้วนและพับได้ และมีข้อดีคือสามารถวางมอนสเตอร์ตัวเล็กและการ์ดสมบัติไว้ในห้องต่าง ๆ ที่ปรากฎบนกระดานได้อย่างง่ายดาย ส่วนค่าคงที่ตลอดทุกฉบับของดันเจียน! เป็นส่วนสำคัญที่เรียบง่ายเข้าใจได้เร็วของสภาพแวดล้อมดันเจียนส์แอนด์ดรากอนส์ที่ซับซ้อนยิ่งกว่า

ในฉบับหลัง ๆ นั้นมีกติกาสำหรับคลาสเพิ่มเติม โดยแต่ละคลาสจะมีข้อได้เปรียบหรือกติกาที่แตกต่างกัน และต้องใช้สมบัติในจำนวนต่างกันเพื่อชนะเกม

หลายฉบับยังได้รับการเผยแพร่ในประเทศอื่น ๆ รวมถึงเวอร์ชันโดยอัลเทนบูร์เกอร์อุนด์ชตรัลซุนเดอร์สปีลคาร์เทิน-ฟาบรีเคิน ซึ่งเป็นบริษัทผลิตไพ่ในประเทศเยอรมนี และบริษัทเจดโคเกมส์ในประเทศออสเตรเลีย โดยเวอร์ชันเจดโคเกมส์มีลักษณะคล้ายกับเกมเวอร์ชันสหรัฐดั้งเดิมมาก แต่เปลี่ยนมาใช้กระดานเล่นที่เป็นแผนที่กระดาษแข็งแบบบางแทนแบบผ้าไวนิล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Niebling, William (November 15, 2012). "Review: 'Dungeon!' (Board Game)". ICv2 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 27, 2018.
  2. "The History of TSR". Wizards of the Coast. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-04. สืบค้นเมื่อ 2005-08-20.
  3. Paterson, Jon (2012). Playing at the World: A History of Simulating Wars, People and Fantastic Adventures from Chess to Role Playing Games. San Diego: Unreason Press. p. 185. ISBN 978-0615642048.
  4. Ewalt, David M. (2013). Of Dice and Men: The Story of Dungeons & Dragons and the People Who Play It. Scribner. p. 99. ISBN 978-1-4516-4052-6.
  5. 5.0 5.1 "Review: The Classic Dungeon". Critical Hits. May 9, 2008.
  6. 6.0 6.1 Ewalt, David M. (October 31, 2012). "Dungeon! Fantasy Board Game - Review". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 27, 2018.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wired

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]