ตีนนก

ตีนนก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Lamiaceae
สกุล: Vitex
สปีชีส์: V.  pinnata
ชื่อทวินาม
Vitex pinnata
L.
กิ่งของต้นตีนนก
ต้นตีนนกในป่า
ต้นตีนนก

ตีนนก หรือสมอตีนเป็ด ลือแบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex pinnata ชื่อสามัญอื่นๆของพืชนี้ได้แก่ ในศรีลังกาเรียก "Milla" ในอินโดนีเซียเรียกลาบัน ในเกาะซูลาเวซีเรียก "gulimpapa" ในพม่าเรียก "kyetyo po" ในมาเลเซียเรียกเลอบัน "leban" และในฟิลิปปินส์เรียก "molave" เป็นไม้ต้นในวงศ์ Lamiaceae ลำต้นแตกเป็นสะเก็ด เปลือกสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ใบประกอบแบบฝ่ามือ ดอกช่อ กลีบดอกสีน้ำเงินหรือสีม่วงเข้ม ผลเดี่ยวทรงกลม สุกแล้วเป็นสีม่วงเข้มจนเกือบดำ

เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ ใบใช้ตำแล้วพอกแผล ผลใช้แก้อาการบิด[1] ไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตรและที่อยู่อาศัย [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 155
  2. มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 66