บีมายอายส์

บีมายอายส์
ภาษาที่ใช้ได้มากกว่า 180 ภาษา
ผู้ก่อตั้งฮัน เยอร์เกิน วิแบร์ก (Hans Jørgen Wiberg)
ยูอาร์แอลhttps://www.bemyeyes.com/
ลงทะเบียนต้อง
ผู้ใช้อาสาสมัครมากกว่า 6.8 ล้านคน; ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นมากกว่า 520,000 คน
เปิดตัว2015

บีมายอายส์ (อักษรโรมัน: Be My Eyes) เป็นแอปมือถือสัญชาติเดนมาร์กที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยคนตาบอดและผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นให้สามารถรับรู้วัตถุและผ่านพ้นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้ ชุมชนออนไลน์ซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครที่มีการมองเห็นปกติจะได้รับภาพและวิดีโอจากผู้ใช้งานโดยสุ่ม และช่วยเหลือผ่านทางระบบข้อความสด ปัจจุบัน แอปมีให้บริการบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ ไอโอเอส[1][2]

การใช้งาน

[แก้]

การใช้งานแอปจากปลายทางผู้ใช้ที่มีความบกพร่องในการมองเห็น จะเริ่มต้นที่การถ่ายทอดสดแสดงภาพ วัตถุ หรือเหตุการณ์ต่อหน้าผ่านกล้องมือถือ ผู้ใช้จะถูกมอบหมายจับคู่โดยสุ่มกับอาสาสมัครที่พูดภาษาเดียวและอยู่ในเขตเวลาเดียวกับผู้ใช้ ผ่านทางโทรศัพท์หรือระบบข้อความ อาสาสมัครจะสามารถอธิบายวัตถุตรงหน้าและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ เช่น นำทางให้ผู้ใช้ขยับกล้อง, อ่านวิธีการใช้งาน หรือแม้แต่เก็บกวาดของที่ทำหกได้ สำหรับระบบการคุยผ่านข้อความ จะมีระบบสังเคราะห์คำซึ่งจะอ่านออกเสียงข้อความนั้นออกมาให้แก่ผู้ใช้ฟังได้ กระบวนการของแอปนี้สนับสนุนให้ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตนเองมากขึ้น[3][4][5][6][7][8]

การพัฒนา

[แก้]

แอปเป็นผลงานการพัฒนาและทำการตลาดโดยพลเมืองเดนมาร์ก ฮันส์ เยอร์เกิน วีแบร์ก (Hans Jørgen Wiberg) โดยเริ่มต้นจากที่เขาพบว่าซอฟต์แวร์พูดคุยทางวิดีโอที่มีอยู่ เช่น สกัยป์ หรือ เฟซไทม์ ไม่ได้สร้างขึ้นมาให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นใช้ได้ ในการพัฒนาแอปนี้ เขาได้ร่วมกับสมาคมเพื่อคนตาบอดเดนมาร์ก (Danish Association of the Blind) และองค์การอื่น ๆ

แอปถูกนำเสนอสู่สาธารณะครั้งแรกในงานแสดงผลงานสำหรับบริษัทสตาร์ตอัปหนึ่งในปี 2012 และแอปถูกปล่อยให้ใช้งานครั้งแรกในปี 2015[9] สำหรับไอโอเอส ส่วนรุ่นสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถูกปล่อยในปี 2017[10]

บริษัทสามารถรวบรวมเงินทุนกว่า $650,000 จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งซิลิคอนแวลเลย์, ไมโครซอฟต์ และนักลงทุนใจบุญต่าง ๆ[11]

เสียงตอบรับ

[แก้]

แอปได้รับคำชมว่าง่ายสำหรับการใช้งาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อกังวลจากที่แอปขาดการป้องกันข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการถูกส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลที่สามได้[12]

รางวัล

[แก้]
  • รางวัลสตาร์ตอัปนอร์ดิก (Nordic Startup Awards) สาขา "สตาร์อัปเทกเพื่อสังคมที่ดีที่สุด" ("Best Social Entrepreneurial Tech Startup"), เดนมาร์ก[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Be My Eyes: Blinden Menschen per App zum Sehen verhelfen". 30 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-12.
  2. "Press Resources". www.bemyeyes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  3. "I tried Be My Eyes, the popular app that pairs blind people with helpers". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  4. 'Be My Eyes' app helps blind people do everyday things (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน), สืบค้นเมื่อ 2021-11-02
  5. Levy, Ari (2016-03-21). "How iPhones help fix unemployment for the blind". CNBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  6. "BBC World Service - People Fixing The World, Lend Me Your Eyes". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  7. 'Be My Eyes' app helps blind people do everyday things (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2021-11-02
  8. "Video Tech Breakthrough Helps The Blind See". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  9. Lindsay, Jessica (2018-06-28). "This app lets you be a blind person's eyes from anywhere in the world". Metro (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  10. "The long-awaited Android version of Be My Eyes has arrived". www.bemyeyes.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  11. Weimer, Marco (2017-10-23). "Wie dieses Startup Blinden zum Sehen verhilft". Business Insider (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  12. Bunz, Karsten. "Damit Blinde wieder sehen können: Kostenlose App hilft". CHIP Online (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
  13. "Press Resources". www.bemyeyes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.