ประจิน จั่นตอง | |
---|---|
ประจิน ใน พ.ศ. 2559 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (3 ปี 262 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (1 ปี 166 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 (0 ปี 354 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ |
ถัดไป | อาคม เติมพิทยาไพสิฐ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
รักษาราชการแทน | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559 (0 ปี 2 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุตตม สาวนายน (รัฐมนตรีว่าการ) |
ถัดไป | กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
รักษาราชการแทน | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (0 ปี 90 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ถัดไป | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (รัฐมนตรีว่าการ) |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2497[1] อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก |
คู่สมรส | จินตนา จั่นตอง[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2522–2557 |
ยศ | พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการทหารอากาศ |
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2497) เป็นนักการเมืองและทหารอากาศชาวไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง[2] ประธานกรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[3] กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา[4] กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
อดีตรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ลำดับที่ 22[5] โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหาร ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555[6] และได้มีพิธีมอบธงประจำตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศจาก พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่โรงเรียนนายเรืออากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[7][8] และเป็นอดีตกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ประจิน จั่นตอง เกิดที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรชายของแย้ม (บิดา) และปิ่น (มารดา) เมื่ออายุได้ 9 ปี ต้องย้ายตามบิดาและครอบครัวไปอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์[9] จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอุตรดิตถ์รุ่น 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 13 (ตท.13), โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 20 (นนอ.20), วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 48 (วปรอ.48) และสำเร็จการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ. 2556 พล.อ.อ. ประจิน ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารอากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554[1]
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ประจิน เข้ากระทำพิธีรับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ โดยได้เปิดเผยความตั้งใจที่จะสานต่อทางยุทธศาสตร์ที่ผู้บัญชาการทหาร (ผบ.ทอ.) คนเดิม (พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์) ได้วางไว้ ตลอดจนการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท และปฏิบัติภารกิจกองทัพอากาศควบคู่กับรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติผู้สื่อข่าวตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการให้ว่า "บิ๊กจิน"[10][11]
ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 คณะกรรมการบริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีมติให้ พล.อ.อ. ประจิน ซึ่งดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริษัทฯ คนที่หนึ่ง อยู่แต่เดิม ขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม แทนอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ลาออกจากการเป็น ประธานกรรมการบริษัทฯ[12]
ประจิน ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[13] และทำหน้าที่รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกหน้าที่หนึ่ง กระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ถูกปรับมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ดูแลรับผิดชอบงานกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ[14]
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559 ได้มีมติแต่งตั้งให้พลอากาศเอกประจินในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมารักษาการในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อีกตำแหน่งหนึ่งแทนนาย อุตตม สาวนายน ที่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559[15]
ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด[16]
ก่อนหน้า | ประจิน จั่นตอง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล ยงยุทธ ยุทธวงศ์ |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 61) (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อนุทิน ชาญวีรกูล | ||
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 61) (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
สมศักดิ์ เทพสุทิน | ||
สถาปนาตำแหน่ง | รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ครม. 61) (16 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ (รัฐมนตรี) | ||
อุตตม สาวนายน (รัฐมนตรี) |
รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ครม. 61) (13 กันยายน พ.ศ. 2559 – 15 กันยายน พ.ศ. 2559) |
ล้มเลิกตำแหน่ง | ||
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ | ||
พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557) |
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง |