ปลาตะเพียนปากหนวด | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Hypsibarbus |
สปีชีส์: | H. pierrei |
ชื่อทวินาม | |
Hypsibarbus pierrei (Sauvage, 1880) | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
สำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่น ดูที่ Hypsibarbus vernayi
ปลาตะเพียนปากหนวด หรือ ปลาปากคีบแดง (ชื่อท้องถิ่น) (อังกฤษ: Yellow eyed silver barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hypsibarbus pierrei) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
เป็นปลาในสกุลปลาตะพากชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย มีลักษณะเหมือนปลาตะพากทั่วไป มีลำตัวกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่เวียดนามและมาเลเซีย เป็นปลาที่กินพืชน้ำ, ไส้เดือนน้ำ และแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร
โดยปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงนั้น พบชุกชุมในช่วงปลายปี คือ เดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นปลาเศรษฐกิจในชุมชน ที่ชนพื้นถิ่นจับมารับประทานและขายกันในท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิต [2] [3]