ปลาอีคุด | |
---|---|
Acanthopagrus berda (Forsskål, 1775) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลากะพง |
วงศ์: | วงศ์ปลาจาน |
สกุล: | แอแคนโธฟากรัส Acanthopagrus (Forsskål, 1775) |
สปีชีส์: | Acanthopagrus berda |
ชื่อทวินาม | |
Acanthopagrus berda (Forsskål, 1775) | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาอีคุด (หรือสะกดว่า ปลาอีคลุด; อังกฤษ: Picnic seabream; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthopagrus berda) ปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอีคุด หรือ วงศ์ปลาจาน (Sparidae)
มีลำตัวกว้าง และแบนข้าง ส่วนโค้งนูนของหัวและสันหลังต่างกับท้องมาก หัวโต นัยน์ตาโปน จะงอยปากทู่ ปากเล็ก มุมปากยื่นเข้ามาเป็นแนวใต้จุดกึ่งกลางนัยน์ตา ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่แข็งปลายแหลม 11 ก้าน และก้านครีบแขนง 10-13 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน ก้านครีบอันกลางใหญ่และยาวกว่าก้านครีบอื่น ๆ และก้านครีบแขนง 11 หรือ 11 ก้าน ครีบอกยาวปลายแหลม ครีบท้องค่อนข้างใหญ่ และมีก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่แข็งปลายแหลม 1 ก้าน ครีบหางปลายเป็นแฉกไม่ลึก ลำตัวเป็นสีเทาอมดำ ท้องสีขาวอมดำ ครีบหลังและครีบก้นมีขอบดำเปราะ ๆ เกล็ดมีความเงางาม
มีความยาวเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่งที่เป็นทราย ตั้งแต่บริเวณน้ำตื้น ๆ ถึงน้ำลึกประมาณ 50 เมตร พบได้ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
เป็นปลาเศรษฐกิจ เนื้อค่อนข้างแข็งจึงนิยมนำไปต้มมากกว่าวิธีการปรุงอย่างอื่น จึงทำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลาหม้อแตก" หรือ "ปลากูกู" ในหมู่ชาวมุสลิม[2] นอกจากนี้แล้วยังนับว่าเป็นปลาเพียงไม่กี่ชนิดในวงศ์เดียวกันนี้ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับน้ำกร่อยหรือน้ำจืดสนิทได้ จึงมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ไม่ดุร้ายทำร้ายปลาชนิดอื่นในที่เลี้ยงด้วยกัน และราคาไม่แพง[3]
ปลาอีคุดพบได้ในมหาสมุทรอินเดีย และยังพบในชายฝั่งแอฟริกาใต้ โมซัมบิก อินเดีย และในทะเลแดง อ่าวเปอร์เซีย กับมาเลเซีย (เกาะปีนังและเกาะลังกาวี ใกล้สิงคโปร์)[4]