ปลาแปบควาย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | ปลาแปบ Cultrinae |
สกุล: | ปลาแปบควาย Paralaubuca Bleeker, 1864 |
ชนิดต้นแบบ | |
Paralaubuca typus Bleeker, 1864 | |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาแปบควาย เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกปลาแปบ อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cultrinae ใช้ชื่อสกุลว่า Paralaubuca (/พา-รา-ลอ-บู-คา/)
มีรูปร่างโดยรวมคือ มีรูปร่างยาว ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ตาโต ท้องเป็นสันคม ด้านท้องค่อนข้างกว้างออก ครีบอกยาว ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กละเอียดสีเงินแวววาว เส้นข้างลำตัวไม่ต่อเนื่องกัน เกล็ดแถวที่อยู่หน้าครีบหลังไม่เลยเข้ามาถึงระหว่างนัยน์ตา เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนาน 50–85 แถว[1] มีขนาดโตเต็มที่โดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มักอยู่เป็นฝูงใหญ่ มีการอพยพขึ้นล่องตามแม่น้ำเพื่อวางไข่และหากินเป็นฤดูกาล มักอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลเชี่ยว หากินใกล้ผิวน้ำ พบตั้งแต่แม่น้ำโขงถึงแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงมาเลเซีย กินแมลงหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
มีทั้งหมด 5 ชนิด[2] โดยเป็นชนิดที่พบได้ในประเทศไทย 3 หรือ 4 ชนิด
ซึ่งสำหรับในประเทศไทย ปลาแปบควายทั้ง 3 ชนิด ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาแห้ง, ปลาร้า และบริโภคโดยปรุงสด อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
โดยมีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "ปลาท้องพลุ" และในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาแตบ", "ปลาแตบขาว" หรือ "ปลามะแปบ" เป็นต้น