ผีกัดอย่ากัดตอบ

ผีกัดอย่ากัดตอบ
หน้าปกดีวีดี
กำกับริกกี้ หลิว
อำนวยการสร้างหง จินเป่า
นักแสดงนำหลิน เจิ้งอิง
เฉิน เสี่ยวโห่ว
ริกกี้ ฮุย
หลี่ ไช่ฟ่ง
หยวน หวา
อู๋ เอี่ยวฮั่น
กำกับภาพปีเตอร์ งอร์
ตัดต่อปีเตอร์ ชุง
ดนตรีประกอบ鬼新娘 (Ghost Bride)
บริษัทผู้สร้าง
โบโฮ ฟิล์ม
ผู้จัดจำหน่ายโกลเด้น ฮาเวิร์ส (ฮ่องกง)
นนทนันท์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (ไทย)
วันฉาย7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985
ความยาว96 นาที
ประเทศฮ่องกง
ภาษากวางตุ้ง
ก่อนหน้านี้-
ต่อจากนี้Mr. Vampire II (ค.ศ. 1986)
ข้อมูลจาก IMDb

ผีกัดอย่ากัดตอบ (อังกฤษ: Mr. Vampire, จีนตัวเต็ม: 殭屍先生, จีนตัวย่อ: 僵尸先生, พินอิน: Jiāngshī Xiānshēng) ภาพยนตร์สัญชาติฮ่องกง ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1985 นำแสดงโดยหลิน เจิ้งอิง, เฉิน เสี่ยวโห่ว, ริกกี้ ฮุย, หลี่ ไช่ฟ่ง, อู๋ เอี่ยวฮั่น กำกับการแสดงโดยริกกี้ หลิว

เรื่องย่อ

[แก้]

อาจิ่ว (หลิน เจิ้งอิง) นักพรตเต๋าเป็นผู้ชำนาญการปราบผีดิบ อาจิ่วพร้อมด้วย อาหมั่น (ในฉบับพากย์ไทยเรียก "ไอ้อ่ำ"[1] แสดงโดยริกกี้ ฮุย) กับอาโจว (เฉิน เสี่ยวโหว) 2 ลูกศิษย์ ได้ถูกเศรษฐีเหยิ่น ซึ่งมีลูกสาวสวยอายุ 18 ที่เพิ่งเรียนแต่งหน้ามาจากเซินเจิ้น คือ ถิ่งถิ่ง (หลี่ ไช่ฟง) ว่าจ้างให้ย้ายหลุมศพของบิดาตนเอง ที่ถูกหมอดูหาที่ดินฝังให้เมื่อ 20 ปีก่อน แต่ทว่ากิจการของเศรษฐีเหยิ่นกลับไม่ดี เมื่อเปิดฝาโลงออก อาจิ่วต้องตะลึงเมื่อพบว่าศพของบิดาเศรษฐีเหยิ่น (หยวน หวา) ยังดูไม่เน่าเปื่อย และเชื่อว่าศพนี้ต้องกลายเป็นผีดิบแน่ เมื่อเคลื่อนย้ายศพไปไว้ที่สำนัก ก็ฟื้นขึ้นมาเป็นผีดิบออกอาละวาด เศรษฐีเหยิ่นถูกกัดกลายเป็นผีดิบไปอีกตน ขณะที่อาหมั่นขณะกำลังสู้กับผีดิบ อาหมั่นก็พลาดท่าถูกกัดไปอีกคน ขณะที่อาโจวก็ถูกวิญญาณของสาวลึกลับ (หวัง ซิ่วเฟิง) ที่มาหลงรักหลอกล่อให้เป็นทาสของตน

เบื้องหลังและความสำเร็จ

[แก้]

ผีกัดอย่ากัดตอบเป็นภาพยนตร์ฮ่องกงที่ผสมผสานหลายอารมณ์ ทั้งสยองขวัญ, น่ากลัว, ตลก และฉากแอ๊กชันแบบภาพยนตร์กังฟูเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนและลงตัว เป็นผลงานการอำนวยการแสดงโดยหง จินเป่า จากบริษัทโบโฮ ฟิล์ม ของหง จินเป่า เอง

โดยมี หลิน เจิ้งอิง นักแสดงร่างเล็กและสตั๊นแมนในแบบกังฟูมารับบท อาจิ่ว อาจารย์ปราบผีตัวเอกของเรื่อง ซึ่งแสดงได้อย่างโดดเด่น จนทำให้บทนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวไปตราบจนผลงานการแสดงเรื่องสุดท้ายในชีวิต เมื่อ ค.ศ. 1997 และยังมีนักแสดงอีกจำนวนหนึ่งมารับบทประกอบที่เป็นสีสันมากมายในเรื่อง

ภาพยนตร์เมื่อออกฉายแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้มีภาคตามมาอีก 3 ภาคในหลายปีต่อมา อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นต้นแบบของภาพยนตร์ในแนวเดียวกันนี้ตามมาอีกหลายเรื่อง ในทางด้านรางวัล ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ฮ่องกงมากถึง 11 รางวัล[2]

สื่อที่แยกออกไป

[แก้]

วิดีโอเกม

[แก้]

ผีกัดอย่ากัดตอบได้รับการสร้างเป็นวิดีโอเกมภาษาญี่ปุ่นในชื่อเรเง็งโดชิ (霊幻道士) ที่เผยแพร่โดยบริษัทโพนีแคนยอน และบางฉากในเกมนำมาจากภาพยนตร์ วิดีโอเกมดังกล่าวได้รับการวางจำหน่ายสำหรับแฟมิคอมในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1988 และในสหรัฐเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1990 ภายใต้ชื่อแฟนทอมไฟเตอร์โดยผู้จำหน่ายคือเอฟซีไอ อิงก์ และดีเวลอปเปอร์แมริอาเนต[3][4][5] ซึ่งเกมนี้นักเล่นเกมชาวไทยสมัยก่อนเรียกกันในชื่อเปาเปา[6] หรือเปาเปา ผีเพื่อนซี้[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กลั้นหายใจเอาไว้ให้ดี "ผีกัด" คืนชีพแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-13. สืบค้นเมื่อ 2015-12-19.
  2. Mr. Vampire – ผีกัดอย่ากัดตอบ (1985, Ricky Lau)
  3. "Phantom Fighter". gamefaqs.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  4. "Phantom Fighter Tech Info". gamespot.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  5. "Phantom Fighter Game Details". gamentrade.com. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.[ลิงก์เสีย]
  6. ""เปาเปา" ผีกัดอย่ากัดตอบ". MGR Online. ผู้จัดการออนไลน์. 2006-05-01. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.
  7. "ย้อนวันวาน 5 เกมระดับตำนานยุค 90's ที่ทุกคนคิดถึง ฉบับล่าสุด 2021". LetsGoStart. 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-07-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]