ฝ่าแป้ง

ฝ่าแป้ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Solanales
วงศ์: Solanaceae
สกุล: Solanum
สกุลย่อย: Brevantherum
ส่วน: Brevantherum
สปีชีส์: S.  erianthum
ชื่อทวินาม
Solanum erianthum
D.DonL.[1]
ดอก

ฝ่าแป้ง ดับยาง หรือฉับแป้ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Solanum erianthum ภาษากะเหรี่ยงเรียกสะกอปรื๋อ เป็นไม้พุ่ม ลำต้นและกิ่งก้านที่ยังอ่อนมีขนหนาแน่น ใบเดี่ยว ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนหนาแน่น ดอกช่อ ก้านช่อดอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกเป็นสีขาว ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผิวเป็นมัน เมื่อแก่เป็นสีม่วงดำหรือสีดำ เป็นพืชท้องถิ่นในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้[1] แล้วจึงแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของโลก[2]

ใบใช้ขยำแล้วล้างทำความสะอาดจานชาม เพราะมียางลื่นมือ[3] เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนัง ใบพอกแผล แก้น้ำร้อนลวก [4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Taxon: Solanum erianthum D. Don". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2010-11-30. สืบค้นเมื่อ 2013-02-05.
  2. "Solanum erianthum". AgroForestryTree Database. World Agroforestry Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2009-12-15.
  3. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. จรัญ มากน้อย และปรัชญา ศรีสง่า. พรรณไม้เมืองไทย: พันธุ์ไม้เขาหินปูนภาคกลาง. เชียงใหม่: องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2553.หน้า 95

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • "Solanum erianthum" (PDF). Digital Representations of Tree Species Range Maps from "Atlas of United States Trees" by Elbert L. Little, Jr. (and other publications). United States Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-23.