บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต | |
---|---|
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต พระราชวังดุสิต ก่อนการบูรณะในปี 2561 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | ปรับปรุง |
ที่ตั้ง | แขวงดุสิต เขตดุสิต |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
พิกัด | 13°46′25″N 100°30′47″E / 13.77361°N 100.51306°E |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2446 |
แล้วเสร็จ | พ.ศ. 2447 |
พิธีเปิด | 16 เมษายน พ.ศ. 2447 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2561 |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้ปรับปรุง | สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เจ้าของ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ในกำกับดูแลของ | สำนักพระราชวัง |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | เรือนขนมปังขิง |
จำนวนชั้น | 1 ชั้น |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | เคยใช้เป็นอาคารจัดแสดงงานศิลปหัตถกรรมของสมาชิกมูลนิธิศิลปาชีพ |
พระที่นั่งอภิเศกดุสิต คือหนึ่งในองค์พระที่นั่งในพระราชวังดุสิต เริ่มก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2446 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2447 สร้างหลังพระที่นั่งวิมานเมฆ ประมาณ 2 ปี และ มีการฉลองพระที่นั่งเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123)
พระที่นั่งอภิเศกดุสิต เป็นพระที่นั่งองค์แรก ๆ ที่สร้างขึ้นในเขตพระราชวังดุสิต เป็นพระที่นั่งชั้นเดียว ประดับไปด้วยสร้างด้วยไม้เป็นส่วนมาก มีลวดลายฉลุไม้เรียกว่า ลายบุหงา มีการประดับกระจกสี และลวดลายปูนปั้นที่หน้าบัน เป็นศิลปะแบบมัวร์ จึงทำให้พระที่นั่งองค์นี้งดงามมาก พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของพระที่นั่งวิมานเมฆ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ได้เสด็จกลับมาจากการประพาสยุโรปครั้งที่ 1 เพื่อใช้เป็นท้องพระโรง และสถานที่พระราชทานเลี้ยง สำหรับพระราชวังดุสิต และใช้เป็นสถานที่สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ ในงานประจำปีสวนดุสิต[1]
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บูรณะพระที่นั่งองค์นี้ เพื่อเป็นอาคารจัดแสดงงานศิลปหัตถกรรมของสมาชิกมูลนิธิศิลปาชีพ และของสะสมในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานเปิดเมื่อ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2536 ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมภายในพระที่นั่งได้ทุกวัน โดยติดต่อที่สถานที่ขายตั๋วเข้าเยี่ยมชมพระที่นั่งวิมานเมฆ สิ่งที่จัดแสดงในนี้ได้แก่ การทอผ้าแบบดั้งเดิมและการแกะสลักไม้ ผ้าไหมมัดหมี่แบบดั้งเดิม และเซรามิก[2]
พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเป้นตัวอย่างเรือนขนมปังขิงที่ได้รับความนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอาคารตกแต่งด้วยไม้แกะสลักลายดอกไม้และกระจกสีทั้งอาคาร[3][4]