ภาษามือบ้านค้อ

ภาษามือบ้านค้อ
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย
จำนวนผู้พูด400  (2009)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3bfk

ภาษามือบ้านค้อ (อังกฤษ: Ban Khor Sign Language, BKSL) เป็นภาษามือหมู่บ้านที่มีผู้ใช้งานอย่างน้อย 400 คนในชุมชนทำนาข้าวในหมู่บ้านบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม[2][3] บริเวณภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย)[4][5][6] ภาษานี้พัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 เนื่องจากมีบุคคลที่มีปัญหาทางด้านการได้ยินจำนวนมาก โดยจำนวนประมาณใน พ.ศ. 2552 ระบุว่าในจำนวนชาวบ้าน 2,741 คน มีคนหูหนวก 16 คน และได้ยินประมาณ 400 คน[5] ภาษานี้ถือเป็นภาษาโดดเดี่ยวที่แยกจากภาษามืออื่น ๆ ในประเทศไทยอย่างภาษามือกรุงเทพเก่าและภาษามือไทย[6]

ภาษามือท้องถิ่นอื่น ๆ

[แก้]

ภาษามือหมู่บ้านอื่น ๆ ที่มีรายงานว่ามาจากหมู่บ้านในท้องที่ตำบลกุตาไก้ อำเภอปลาปาก บ้านห้วยไห ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ และตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งล้วนตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงบ้านค้อ ภาษาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการบันทึก ทำให้ไม่ทราบภาษาเหล่านี้เป็นภาษาย่อยของภาษามือบ้านค้อหรือเป็นภาษาที่แตกต่างกัน[7][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษามือบ้านค้อ ที่ Ethnologue (25th ed., 2022) Closed access
  2. นิลวรรณ ปิติพัฒน์; สุขสิริ ด่านธนวานิช; สงกรานต์ ผาทา; พิมพ์มาดา สุริยาราช; จันมา สุขวัญ; วราภรณ์ อินทรี; อ่อนศรี คำแก้ว; สายันต์ สุขวัญ (2017). กระบวนการพัฒนาความสามารถของครอบครัวและชุมชนในการใช้ภาษามือ เพื่อสื่อสารกับคนหูหนวกตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์และตำบลกุตาไก้ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม: รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
  3. ศศิวิมล คงสุวรรณ; เบญจมาภรณ์ ฤาไชย (2020). "การเรียนการสอนสำหรับคนหูหนวกในประเทศไทย : สภาพปัญหา รูปแบบ และ กระบวนการสอนแบบสองภาษา". มังรายสาร. 8 (1): 1–14. สืบค้นเมื่อ 2024-07-12.
  4. 4.0 4.1 Nonaka, Angela M. (2004). "The forgotten endangered languages: Lessons on the importance of remembering from Thailand's Ban Khor Sign Language". Language in Society. 33 (5): 737–768. doi:10.1017/s004740450404504x. S2CID 145520563.
  5. 5.0 5.1 Nonaka, Angela M. (2009). "Estimating size, scope, and membership of the speech/sign communities of undocumented indigenous/village sign languages: The Ban Khor case study". Language & Communication. 29 (3): 210–229. doi:10.1016/j.langcom.2009.02.004.
  6. 6.0 6.1 Nonaka, Angela M. (2014). "(Almost) everyone here spoke Ban Khor Sign Language—Until they started using TSL: Language shift and endangerment of a Thai village sign language". Language & Communication. 38: 54–72. doi:10.1016/j.langcom.2014.05.005.
  7. Hurlbut, Hope M. (2009). "Thai signed languages survey—A rapid appraisal". SIL Electronic Survey Reports (2009–016): 7. สืบค้นเมื่อ 2015-11-23.