ภาษาเมโมนี | |
---|---|
ميمنی, મેમોની | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย, ปากีสถาน |
ภูมิภาค | กาฐิยาวาร (รัฐคุชราต), แคว้นสินธ์ |
ชาติพันธุ์ | ชาวเมโมนี |
จำนวนผู้พูด | (no estimate available) 1.8 ล้านคน (2014)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรอาหรับ, อักษรคุชราต, แบบอักษรแนสแทอ์ลีฆ, โรมันเมโมน[2] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | mby |
ภาษาเมโมนี (ميموني, મેમોની) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ใช้พูดโดยชาวเมโมนี พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ใกล้เคียงกับภาษากัจฉิและภาษาคุชราต มีผู้พูดทั้งในอินเดียและปากีสถาน
ชาวเมโมน กาถิวาทีพูดภาษาที่ไม่มีระบบการเขียนซึ่งเรียกว่าภาษาเมโมนีซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาสินธีและภาษากัจฉิ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันในเขตเหนือ-ตะวันตก ภาษาสินธีและภาษากัจฉินั้นใช้พูดทั้งผู้ที่เป็นและไม่เป็นมุสลิม แต่ภาษาเมโมนีใช้พูดเฉพาะชาวเมโมน กาถิวาทีที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ที่อพยพจากสินธ์มาสู่พื้นที่ใกล้เคียง คือที่กุตส์และกาเกียวาร์ในคุชราต เมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ภาษาที่ใช้ในปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาสินธี แต่มีคำยืมจากภาษาคุชราต ภาษาฮินดูสตานและภาษาอังกฤษ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา[3] ในปากีสถาน ภาษาเมโมนีมีการใช้คำและวลีจากภาษาอูรดูมาก
คำนามส่วนใหญ่มีเพศทางไวยากรณ์ แบ่งเป็นชาย หญิง และมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ชาวเมโมนนำลักษระของคำนามส่วนใหญ่มาจากภาษาฮินดูสตานี ซึ่งเป็นภาษาผสมระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดู คำศัพท์ใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นทีหลังมาจากภาษาอังกฤษ ไม่มีคำนำหน้าชี้เฉพาะที่ตรงกับ the ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำนำหน้าที่ไม่ชี้เฉพาะจะผันไปตามเพศของกรรม การใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 มีสองแบบคือรูปที่สุภาพ ‘aaen’ ใช้กับผู้ที่เคารพหรือมีอายุมากกว่า และ ‘tu’ เป็นรูปไม่เป็นทางการใช้กับเพื่อนสนิท สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ สรรพนามแสดงผู้กระทำ และกรรมผันไปตามเพศของกรรม
กริยาจะผันไปตามกาล จุดประสงค์ มาลา และน้ำเสียง ขึ้นกับบุคคล เพศ กริยาจะอยู่ท้ายสุดของประโยค คุณศัพท์นำหน้าคำนามที่ขยาย ผันไปตามเพศของนามที่มาขยาย ใช้ปรบทตามหลังคำนามและกริยา
ในอดีต มีความพยายามเขียนภาษาเมโมนีด้วยอักษรคุชราตและอักษรอูรดู แต่ประสบความสำเร็จน้อย ปัจจุบัน มีความพยายามนำอักษรละตินมาใช้