มั่วลี่ฮัว

"มั่วลี่ฮัว"
เพลง
ภาษาจีน
แนวเพลงพื้นบ้าน
ความยาวประมาณ 2-3 นาที
เนื้อร้องและทำนองเพลง
เนื้อเพลงฉบับเก่าซึ่งพบในสมุดเพลงญี่ปุ่นชื่อ เก็กกิงกากูฟุ (月琴楽譜) ฉบับ พ.ศ. 2420 แต่เขียนชื่อเพลงผิดเป็น "抹梨花" (อ่าน 'มั่วลี่ฮัว' เหมือนกัน)

มั่วลี่ฮัว (จีน: 茉莉花; พินอิน: Mòlìhuā; 'เจ้าดอกมะลิ') เป็นเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยม[1][2][3] เพลงนี้มีอายุย้อนหลังไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายหลังจึงได้รับการสร้างสรรค์ในหลาย ๆ รูปแบบ จนเป็นที่นิยมทั้งในและนอกประเทศจีน

เพลงนี้ยังได้รับการใช้ในงานสำคัญหลายงาน เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน 2547 โอลิมปิกฤดูร้อน 2551 พิธีเปิดเซี่ยงไฮ้เอกซ์โป 2553 รวมถึงในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ซึ่งเพลงนี้ถูกรัฐบาลจีนปิดกั้นมิให้เผยแพร่ด้วย[4][5][6]

ประวัติ

[แก้]

เพลงนี้แต่งขึ้นในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง[1] และมีฉบับท้องถิ่นอีกหลายฉบับ[7][8]

ฉบับซึ่งเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด มีสองฉบับ คือ ฉบับของมณฑลเจ้อเจียง กับฉบับของมณฑลเจียงซู ซึ่งมีเนื้อร้องและทำนองต่างกัน[9] ฉบับหนึ่งพรรณนาถึงธรรมเนียมการมอบดอกมะลิ ซึ่งปฏิบัติกันในภูมิภาคแยงซีของประเทศจีน[1] อีกฉบับซึ่งมีความยาวยิ่งกว่าพรรณนาถึงความปรารถนาที่จะเด็ดดอกมะลิมาเชยชม[9][10]

เพลงนี้แต่ก่อนใช้เล่นกับกระดึงเปียนจง และในสมัยใหม่มักใช้เล่นกับระฆังหยก[3] เดิมทีตัวเพลงเขียนด้วยโน้ตห้าระดับซึ่งพัฒนาขึ้นในประเทศจีน[11] ส่วนทำนองนั้นเป็นอย่างสั้นหรือที่เรียกว่า "เสี่ยวเตี้ยว" (小調, xiǎodiào) ซึ่งนิยมกันในแถบชนบทจีน[12] เซอร์จอห์น แบร์โรว (John Barrow) ราชทูตอังกฤษ บันทึกไว้ว่า ทำนองเพลงมั่วลี่ฮัวนี้น่าจะเป็นทำนองหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศจีน[8]

เพลงนี้เป็นหนึ่งในบรรดาเพลงลูกทุ่งจีนซึ่งได้รับความนิยมมากมายภายนอกประเทศจีน[10] ใน พ.ศ. 2493 ข้าหลวงจีนในยุโรปใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติจีนชั่วคราว ต่อมาใน พ.ศ. 2469 จีอาโกโม ปุชชีนี (Giacomo Puccini) ใช้เพลงนี้ในอุปรากรเรื่อง ตูรันโดต (Turandot) ของเขาในช่วงที่ว่าด้วย 'ความรุ่งเรืองแห่งตูรันโดต' เพลงจึงได้กลายเป็นที่นิยมในหมู่ชาวตะวันตก[1][3][13][14] เพลงนี้ยังปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง เดอะกูดเอิร์ธ (The Good Earth) เมื่อ พ.ศ. 2477[15] ทั้งยังได้รับการดัดแปลงโดยศิลปินหลายคนทั่วโลก รวมถึง เคนนี จี (Kenny G)[8]

ใน พ.ศ. 2525 ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเพลงนี้ไว้ในรายการเพลงที่ควรฟัง[8] ครั้นประเทศจีนได้กลับมาปกครองฮ่องกงและมาเก๊าอีกครั้งใน พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2542 ตามลำดับ ก็ใช้เพลงนี้ในพิธีเฉลิมฉลองด้วย[6] ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันว่าโปรดปรานเพลงนี้เป็นการส่วนตัว เป็นผู้ขอให้บรรเลงเพลงนี้ในพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงเอง[6] อนึ่ง เพลงนี้ยังมักประโคมในที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย[16]

ในการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อปี 2554 ผู้จัดการชุมนุมมเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศจีนได้เรียกร้องผู้ชุมนุให้เปิดฉบับหนึ่งของเพลงนี้ด้วยโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านรัฐบาล[4] เพลงนี้จึงถูกขึ้นบัญชีเป็นวัตถุซึ่งไม่ผ่านการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต[4] การค้นหาชื่อเพลงนี้ในอินเทอร์เน็ตยังถูกสะกัดกั้นด้วย[2] แต่การตรวจพิจารณาครั้งนี้ไม่บรรลุเป้าหมายเท่าใดนัก เพราะเพลงมั่วลี่ฮัวเป็นที่แพร่หลายมาแต่เดิมอยู่แล้ว[5][6]

คำร้อง

[แก้]

ฉบับที่หนึ่ง

[แก้]

คำร้องฉบับหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมมีดังนี้

จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน คำแปล
  • 好一朵美麗的茉莉花
  • 好一朵美麗的茉莉花
  • 芬芳美麗滿枝椏
  • 又香又白人人誇
  • 讓我來將你摘下
  • 送給別人家
  • 茉莉花呀茉莉花
  • 好一朵美丽的茉莉花
  • 好一朵美丽的茉莉花
  • 芬芳美丽满枝桠
  • 又香又白人人夸
  • 让我来将你摘下
  • 送给别人家
  • 茉莉花呀茉莉花
  • hǎo yī duǒ mĕi lì de mò li huā
  • hăo yī duŏ mĕi lì de mò li huā
  • fēn fāng měi lì mǎn zhī yā
  • yòu xiāng yòu bái rén rén kuā
  • ràng wǒ lái jiāng nǐ zhāi xià
  • sòng gěi bié rén[ก] jiā
  • mò li huā ya mò li huā
  • เจ้าดอกมะลิช่างงดงาม
  • เจ้าดอกมะลิช่างงดงาม
  • หอมกรุ่น สะคราญ กลีบล้วนบานสะพรั่ง
  • หอมละมุนและขาวงาม คนเขาชมกันดังนั้น
  • ข้าขอเด็ดมาเชย
  • แล้วมอบให้แก่พี่น้องบ้านอื่น
  • เจ้าดอกมะลิ โอ้ เจ้าดอกมะลิ
คำว่า "เปี๋ยเหริน" (别人, bié rén) ที่แปลว่า ผู้อื่น ("มอบ [ดอกมะลิ] ให้แก่พี่น้องบ้านอื่น") บางทีเปลี่ยนเป็นคำว่า "ฉิงหลาง" (情郎, qíng láng) ที่แปลว่า ชายที่หมายปอง ("มอบ [ดอกมะลิ] ให้แก่ครอบครัวของชายที่หมายปอง")

ฉบับที่สอง

[แก้]

คำร้องซึ่งเป็นที่นิยมอีกฉบับหนึ่งมีสามบทดังนี้[9]

จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ พินอิน คำแปล
  •   好一朵茉莉花,
  • 滿園花開香也香不過她,
  • 我有心采一朵戴
  • 又怕看花的人兒罵.
  •   好一朵茉莉花,
  • 茉莉花開雪也白不過她,
  • 我有心采一朵戴,
  • 又怕旁人笑話.
  •   好一朵茉莉花,
  • 滿園花開比也比不過她,
  • 我有心采一朵戴,
  • 又怕來年不發芽.
  •   好一朵茉莉花,
  • 满园花开香也香不过她,
  • 我有心采一朵戴
  • 又怕看花的人儿骂.
  •   好一朵茉莉花,
  • 好一朵茉莉花,
  • 茉莉花开雪也白不过她,
  • 我有心采一朵戴,
  • 又怕旁人笑话.
  •   好一朵茉莉花,
  • 好一朵茉莉花,
  • 满园花开比也比不过她,
  • 我有心采一朵戴,
  • 又怕来年不发芽.
  • Hǎo yī duo mòlìhuā,
  • Mǎn yuán huā kāi xiāng yě xiāng bùguò tā,
  • Wǒ yǒuxīn cǎi yī duo dài
  • Yòu pà kàn huā de rén er mà.
  • Hǎo yī duo mòlìhuā,
  • Mòlìhuā kāi xuě yě bái bu guò tā,
  • Wǒ yǒuxīn cǎi yī duo dài,
  • Yòu pà pángrén xiàohuà.
  • Hǎo yī duo mòlìhuā,
  • Mǎn yuán huā kāi bǐ yě bǐ bùguò tā,
  • Wǒ yǒuxīn cǎi yī duo dài,
  • Yòu pà láinián bù fāyá.
  •   เจ้าดอกมะลิช่างงามนัก
  • ในบรรดาดอกไม้ใบหญ้าซึ่งหอมหวนอยู่ในสวน
  • ไม่มีพรรณไหนกลิ่นหอมจรรโลงใจเช่นเจ้าอีกแล้ว
  • ข้าใคร่เด็ดมาเจ้ามาเชยแล้วประดับเจ้าไว้กับกายข้า
  • แต่เจ้าของสวนคงเอ็ดข้าตาย
  •   เจ้าดอกมะลิช่างวิเศษนัก
  • มะลิเมื่อเจ้าเบ่งบาน
  • หิมะก็ไม่ขาวงามเสมือนเจ้า
  • ข้าหวังจะเด็ดมาเจ้ามาชมแล้วติดเจ้าไว้กับกายข้า
  • แต่เกรงคนทั้งหลายคงเยาะข้าตาย
  •   เจ้าดอกมะลิช่างสวยนัก
  • ในบรรดาไม้ทั้งหลายซึ่งผลิบานอยู่ในสวน
  • หามีพรรณไหนเสมอเจ้าอีกแล้ว
  • ข้าปรารถนาจะเด็ดเจ้ามาเชยชมแล้วประทับเจ้าไว้กับกายข้า
  • แต่หวั่นเกรงว่า เจ้าจะบานไม่ถึงปีหน้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Chen, Qian (2008-07-21). "'Jasmine Flower' chosen for medal ceremony music". Shanghai Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 18 November 2008.
  2. 2.0 2.1 "Jasmine stirrings in China: No awakening, but crush it anyway: The government goes to great lengths to make sure all is outwardly calm", Mar 3rd 2011
  3. 3.0 3.1 3.2 Classical piece will ring in ears of winners - China Daily
  4. 4.0 4.1 4.2 Clem, Will (3 March 2011). "The flowering of an unconventional revolution". South China Morning Post. Hong Kong. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 3 March 2011.
  5. 5.0 5.1 Kenny G and Hu Jintao Make Protest Music: Tunisia's Choice of Revolutionary Symbols Confounds Chinese Censors[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Ian Johnson, Calls for a ‘Jasmine Revolution’ in China Persist, New York Times, February 23, 2011
  7. Yayoi Uno Everett; Frederick Lau (2004). Locating East Asia in Western art music. Wesleyan University Press. pp. 276–. ISBN 978-0-8195-6662-1. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Jie Jin (31 March 2011). Chinese Music. Cambridge University Press. pp. 84–. ISBN 978-0-521-18691-9. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  9. 9.0 9.1 9.2 Hong Zhang; Zu-yan Chen; Robert Daly (January 2001). Chinese Through Song. Global Academic Publishing. pp. 46–. ISBN 978-1-58684-122-5. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  10. 10.0 10.1 Jie Jin (31 March 2011). Chinese Music. Cambridge University Press. pp. 81–82. ISBN 978-0-521-18691-9. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  11. Hong Zhang; Zu-yan Chen; Robert Daly (January 2001). Chinese Through Song. Global Academic Publishing. pp. 47–. ISBN 978-1-58684-122-5. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  12. Alan Robert Thrasher (2008). Sizhu instrumental music of South China: ethos, theory and practice. BRILL. pp. 116–. ISBN 978-90-04-16500-7. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  13. William Ashbrook; Harold Powers (1991). Puccini's Turandot: the end of the great tradition. Princeton University Press. p. 90. ISBN 978-0-691-02712-8. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  14. Burton D. Fisher (1 June 2004). Opera Classics Library Puccini Companion: The Glorious Dozen. Opera Journeys Publishing. pp. 696–. ISBN 978-1-930841-62-8. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  15. Peter M. Chang (28 February 2006). Chou Wen-Chung: the life and work of a contemporary Chinese-born American composer. Scarecrow Press. pp. 51–. ISBN 978-0-8108-5296-9. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  16. Robert Lawrence Kuhn (14 July 2009). How China's leaders think: the inside story of China's reform and what this means for the future. John Wiley and Sons. pp. 339–. ISBN 978-0-470-82445-0. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.