ยุทธการช่องเขาคุนหลุน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการกวางสีใต้ ใน สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
สาธารณรัฐจีน | ญี่ปุ่น | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
ไป๋ ฉงซี ตู ยู่หมิง ฉิว ชิงกวน หลี่ หมี่ เหลียว หยาวเซียง ไต อันลัน | มะซะโอะ นาคามูระ † | ||||||||
กำลัง | |||||||||
5th corps 60,000 200th Division: 240 T-26 M1933 tanks 120 CV-33 tankettes 30 BT-5 tanks |
5th division (particularly the 21st Brigade) plus various other units, total fighting strength of 45,000[2] 100 planes[3] 70 warships[3] 2 aircraft carriers[3] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
5,600 killed 11,000 injured 800 missing 6,416 other casualties รวม: บาดเจ็บ 23,816 นาย[3][4] |
เสียชีวิต 4,000+ นาย (รวม 85% ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด) 4,000+ ได้รับบาดเจ็บ ถูกจับเป็นเชลย 100 นาย รวม: 8,100+ ได้รับบาดเจ็บ[3][4] |
ยุทธการช่องเขาคุนหลุน (จีนตัวย่อ: 昆仑关战役; จีนตัวเต็ม: 崑崙關戰役; พินอิน: Kūnlúnguān Zhànyì) เป็นหนึ่งในยุทธการของความขัดแย้งระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน โดยรอบบริเวณช่องเขาคุนลุ้น ซึ่งเป็นตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของมณฑลกวางสี โดยกองทัพญี่ปุ่นวางแผนที่จะตัดเสบียงของจีนที่เชื่อมโยงกับอินโดจีนฝรั่งเศส แต่กองทัพจีนสามารถต่อสู้กับการโจมตีได้รับชัยชนะในที่สุด[1]
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเปิดตัวการโจมตีครั้งใหญ่เข้ารุกล้ำมาในมณฑลกวางสี ด้วยความตั้งใจที่จะกำจัดเส้นทางการจัดหาสนับสนุนยุทธโธปกรณ์ของจีนผ่านดินแดนที่ควบคุมของฝรั่งเศสในเวียดนาม หน่วยรบญี่ปุ่นชั้นเยี่ยม กองพลที่ 5 ได้รับหน้าที่เป็นหัวหอกในการรุกของญี่ปุ่น หลังจากได้ยึดครองเมืองหนานหนิง ในพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นได้ยึดจุดสำคัญของช่องเขาคุนหลุนและเตรียมพร้อมที่จะโจมตีกองทัพจีนที่ปกป้องจุงกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนในระหว่างสงคราม
เมื่อตระหนักว่าการอยู่เฉยจะส่งผลให้ถูกตัดเส้นทางโดยญี่ปุ่น นายพล ไป๋ ฉงซี ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวกวางสี ได้เสนอขอให้รัฐบาลคณะชาติให้การสนับสนุน ซึ่งจอมทัพเจียงไคเชกได้ส่งหน่วยที่ 5 จากมณฑลหูหนานเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น
หน่วยที่ 5 เป็นหน่วยยอดเยี่ยมที่สุดในกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนและเป็นหน่วยจีนเพียงไม่กี่หน่วยที่มีรถถังและรถหุ้มเกราะ ทหารของหน่วยเป็นทหารผ่านศึกที่มีเคยผ่านการต่อสู้ก่อนหน้ากับกองทัพญี่ปุ่นมาก่อนและส่งผลให้ขวัญกำลังใจในการสู้รบสูง นายพลตู หยูหมิง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการหน่วยที่ 5 ส่งสองหน่วยงานเพื่อโจมตีช่องเขาคุนหลุนที่ยึดครองโดยญี่ปุ่น การโจมตีของหน่วยใหม่ที่ 22 จบลงด้วยการตัดกำลังเสริมของญี่ปุ่นออกจากด้านหลังและยังส่งผลให้พลเอกมะซะโอะ นาคามูระผู้บัญชาการของญี่ปุ่นเสียชีวิต[5]
ญี่ปุ่นตอบโต้ทันทีโดยส่งหน่วยยอดเยี่ยมของกองพลที่ 5 และกองพลที่ 21 ซึ่งได้เคยเข้าร่วมรบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น, ที่มีฉายา "ดาบที่ไม่มีวันหัก". ต้องเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะถูกตัดออกอย่างสมบูรณ์กองทัพญี่ปุ่นจึงต้องพึ่งพากำลังทางอากาศเพื่อส่งเสบียงสำคัญก่อนที่พลเอกนาคามูระจะเสียชีวิต เขายอมรับในบันทึกประจำวันของเขาว่าความสามารถในการต่อสู้ของทหารจีนนั้นเหนือกว่ารัสเซียที่กองพลน้อยพบในแมนจูเรีย การรบครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งสำคัญครั้งแรกของกองทัพจีนนับตั้งแต่ยุทธการอู่ฮั่น เป็นผลให้กองทัพจีนมีขวัญกำลังใจและเห็นโอกาสที่จะสู้รบกับญี่ปุ่น