ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่

ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (อังกฤษ: Dual-member proportional representation, ย่อ: DMP) หรือ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกผสมคู่ (อังกฤษ: Dual-member mixed proportional) เป็นระบบการลงคะแนนที่ออกแบบให้ผลการเลือกตั้งมีความเป็นสัดส่วนโดยการเลือกผู้แทนสองคนพร้อมกันในแต่ละเขตเลือกตั้ง[1][2] โดยที่นั่งแรกนั้นจะตกเป็นของผู้สมัครรายที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ซึ่งคล้ายกับระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) ที่นั่งที่สองนั้นจะให้แก่หนึ่งในผู้สมัครรายที่เหลืออยู่โดยคำนึงถึงความเป็นสัดส่วนของทั้งเขตเลือกตั้งเป็นหลักโดยใช้การคำนวนเพื่อมุ่งเน้นให้ที่นั่งแก่พรรคการเมืองในเขตที่ได้รับคะแนนสูงสุด

ระบบสัดส่วนสมาชิกคู่ (DMP) นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปีค.ศ. 2013 โดยนักศึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา ฌอน เกรแฮม[3] โดยระบบนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสนอระบบเพื่อใช้แทนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปในแคนาดา ในขณะที่การรณรงค์เพื่อสนับสนุนแบบสัดส่วนผสม (MMP) และแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) ไม่ผ่านการรับรองในการลงประชามติในหลายรัฐในแคนาดา (อาทิเช่น ในรัฐบริติชโคลัมเบีย ค.ศ. 2005 รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ ค.ศ. 2005 รัฐออนแทรีโอ ค.ศ. 2007 และรัฐบริติชโคลัมเบีย ค.ศ. 2009) โดยเบื้องหลังการคิดค้นระบบ DMP คือเพื่อได้รับการยอมรับโดยประชาชนเพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบนี้ยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติของระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) เช่น การใช้บัตรลงคะแนนที่มีเสียงเดียว ขนาดของเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างเล็ก (เมื่อเทียบกับระบบ STV) และมีผู้แทนราษฎรเพียงแบบเดียวคือแบบแบ่งเขต (โดยเปรียบเทียบกับ MMP)[4]

ข้อเสนอการรับระบบ DMP ได้ถูกยื่นพิจารณาให้รัฐบาลแคนาดา[5][6] รัฐแอลเบอร์ตา[7] รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ (PEI)[8] และรัฐบริติชโคลัมเบีย (BC)[9] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 คณะกรรมาธิการพิเศษของรัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าระบบ DMP เป็นหนึ่งในห้าตัวเลือกสำหรับใช้ในการลงประชามติในปีค.ศ. 2016 โดยต่อมาระบบที่ผ่านการลงประชามติคือ การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (Instant-runoff)[10][11][12][13] โดยการลงประชามติมีขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016[14][15][16] ซึ่งระบบ DMP ตกรอบในรอบที่สามและคะแนนเสียงในภายหลังถูกเทไปให้ระบบ MMP ซึ่งเป็นผู้ชนะการลงประชามติโดยเอาชนะระบบ FTPT เดิมไป[17][18] (แต่อย่างไรก็ตามการลงประชามติครั้งนั้นไม่ได้มีผลผูกพันธ์และรัฐบาลในขณะนั้นเพิกเฉยต่อผลการลงประชามติ) ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 DMP เป็นหนึ่งในสามระบบสัดส่วนที่ได้ถูกคัดเลือกเพี่อผ่านการลงประชามติในรัฐบริติชโคลัมเบีย[19][20][21] ซึ่งประกอบด้วคำถามสองข้อซึ่งจะต้องส่งคืนผลทางไปรษณีย์ภายในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2018[22] โดยในคำถามแรก ผู้ลงคะแนนจำนวนร้อยละ 61 เลือกที่จะคงไว้ซึ่งระบบการลงคะแนนเดิม คือ FTPT ส่วนคำถามที่สองจะเป็นคำถามเพื่อเลือกระบบที่เหมาะสมมาแทนที่ โดย MMP ได้คะแนนนำ ตามด้วย DMP และรั้งท้ายคือระบบสัดส่วนเขตกันดาร-เขตเมือง[23]

การลงคะแนน

[แก้]
ตัวอย่างรูปแบบของบัตรลงคะแนนในระบบ DMP

ในระบบ DMP ผู้ลงคะแนนจะได้รับบัตรลงคะแนนที่แตกต่างกันไปในแต่ละเขต โดยให้ผู้ลงคะแนนเลือกตัวเลือกต่างๆ ที่ระบุไว้ โดยแต่ละตัวเลือกนั้นจะต้องอยู่ในสามขอบเขตดังนี้

  • เลือกผู้สมัครเป็นคู่ (ผู้สมัครหลักและผู้สมัครรอง) ซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกัน
  • เลือกผู้สมัครเพียงคนเดียวที่สังกัดพรรคการเมือง
  • เลือกผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ)

คล้ายคลึงกับกรณีของระบบ FPTP ผู้ลงคะแนนจะต้องเลือกกาเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น โดยลักษณะเฉพาะของบัตรลงคะแนนของ DMP นี้คือพรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครเป็นคู่ได้ หากพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครเป็นคู่ คะแนนเสียงที่ออกโดยผู้ลงคะแนนนั้นจะถือว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครหลักก่อน โดยผู้สมัครรอง (ลำดับที่สอง) จะได้รับพิจารณาก็ต่อเมื่อผู้สมัครหลักสามารถชนะที่นั่งแรกในเขตนั้นได้ ในกรณีนี้ คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองนี้ได้รับในเขตนั้นจะโอนให้แก่ผู้สมัครรองเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สมัครรองได้รับเลือกเช่นกัน แต่น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงพรรคที่โอนมานั้นทำให้ยากที่พรรคการเมืองเดียวจะเอาชนะได้ทั้งสองที่นั่งพร้อมๆ กัน ในกรณีทั่วไปผู้สมัครหลักของสองพรรคการเมืองจะได้รับเลือกตั้งไป

คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้กับผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองรายใดรายหนึ่ง (หรือทั้งคู่นั้น) สามารถส่งผลต่อการเลือกตั้งได้ในหลายมิติ ได้แก่:

  • ประการแรกคือการช่วยให้ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนชอบชนะการเลือกตั้งที่นั่งแรกในเขตไป หากพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนเลือกได้คะแนนนำในเขต (มีจำนวนคะแนนเสียงมากกว่าพรรคการเมืองอื่น หรือมากกว่าผู้สมัครอิสระ) ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองนั้นจะชนะที่นั่งแรก ในกรณีนี้ คะแนนนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้สมัครรอง (ถ้ามีการส่งด้วย) ของพรรคการเมืองนี้ได้รับเลือกที่นั่งที่สองในเขตนั้นได้
  • หากพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนเลือกไม่ชนะที่นั่งแรกในเขตนั้น คะแนนเสียงที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงไปจะช่วยให้ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองนี้ได้รับที่นั่งที่สองของเขต
  • คะแนนเสียงที่ออกให้แกพรรคการเมืองใดๆ จะมีส่วนช่วยเพิ่มส่วนแบ่งในคะแนนนิยมพรรคของทั้งภูมิภาค ซึ่งจะถูกนำเอาไปคำนวนจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองพึงได้รับในภูมิภาคนั้นๆ

คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้แก่ผู้สมัครอิสระจะช่วยให้ผู้สมัครรายนี้ได้ที่นั่งในเขตนั้นๆ โดยผู้สมัครอิสระรายใดที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น (คะแนนนำ) จะได้รับที่นั่งแรกไปซึ่งเหมือนกันกับกรณีผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง แต่แตกต่างกันตรงที่นั่งที่สองซึ่งผู้สมัครอิสระจะสามารถชนะที่นั่งที่สองได้หากผู้สมัครรายนั้นได้คะแนนนำเป็นลำดับที่สองในเขตเลือกตั้ง[1]: 32  ในทางตรงกันข้าม ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในเขตเป็นอันดับสอง สาม สี่ หรือห้า อาจชนะหรืออาจไม่ชนะที่นั่งสองก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงส่วนของผู้สมัครรายนั้น และคะแนนเสียงของพรรคจากคะแนนนิยมจากทั้งภูมิภาค

การคำนวน

[แก้]

ขั้นตอนที่ 1: การจัดสรรที่นั่งแก่พรรคการเมือง

[แก้]

ขั้นตอนที่ 2: การหาผู้ชนะตามเกณฑ์คะแนนนำและถ่ายโอนคะแนน

[แก้]

ขั้นตอนที่ 3: การหาผู้ชนะรายที่เหลือ

[แก้]

ตัวแปร

[แก้]

เปรียบเทียบกับระบบ MMP

[แก้]

ข้อได้เปรียบต่อ MMP

[แก้]

ข้อเสียเปรียบต่อ MMP

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Graham, Sean (April 4, 2016). "Dual-Member Mixed Proportional: A New Electoral System for Canada".
  2. PEI Special Committee on Democratic Renewal (November 27, 2015). "Recommendations in Response to the White Paper on Democratic Renewal" (PDF). Prince Edward Island Legislative Assembly.
  3. Canadian House of Commons Special Committee on Electoral Reform (September 29, 2016). "Meeting No. 33 Evidence".
  4. The Guardian (October 29, 2016). "EDITORIAL: We endorse DMP option in plebiscite". The Guardian.
  5. Graham, Sean (September 18, 2016). "Dual Member Proportional: An Electoral System for Canada" (PDF).
  6. Thomson, Stuart (September 30, 2016). "Electoral system born in Alberta on the ballot in PEI". Edmonton Journal.
  7. Graham, Sean. "Reforming the Electoral System in Alberta: The Case for Dual-Member Mixed Proportional" (PDF).
  8. Graham, Sean. "Reforming the Electoral Formula in PEI: The Case for Dual-Member Mixed Proportional" (PDF).
  9. Graham, Sean. "How Dual Member Proportional Could Work in British Columbia" (PDF).
  10. PEI Special Committee on Democratic Renewal (April 15, 2016). Recommendations in Response to the White Paper on Democratic Renewal - A Plebiscite Question (Report). Prince Edward Island Legislative Assembly.
  11. Campbell, Kerry (April 15, 2016). "PEI electoral reform committee proposes ranked ballot". CBC News.
  12. Wright, Teresa (April 15, 2016). "Electoral reform plebiscite question will be a multi-option ballot". The Guardian.
  13. Lithwick, Dara; Virgint, Erin (June 1, 2016). "Something in the Soil: Electoral Reform in Prince Edward Island". Library of Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  14. Yarr, Kevin (July 7, 2016). "Dates set for PEI electoral reform vote". CBC News.
  15. "PEI sets voting-reform plebiscite for fall". CTV News. The Canadian Press. July 7, 2016.
  16. Campbell, Kerry (October 22, 2016). "Voting options: The 5 choices in the electoral reform plebiscite". CBC News.
  17. "Plebiscite Results". Elections Prince Edward Island. November 7, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2016. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  18. Bradley, Susan (November 7, 2016). "PEI plebiscite favours mixed member proportional representation". CBC News.
  19. Eby, David (May 30, 2018). "How We Vote: 2018 Electoral Reform Referendum Report and Recommendations of the Attorney General" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 31, 2018. สืบค้นเมื่อ June 9, 2018.
  20. McElroy, Justin (June 2, 2018). "Know your voting systems: three types of electoral reform on B.C.'s ballot". CBC News.
  21. Zussman, Richard (June 7, 2018). "B.C. cabinet confirms format of electoral reform referendum". Global News.
  22. Saltman, Jennifer (November 23, 2018). "Deadline to return referendum ballots to Elections B.C. extended until Dec. 7". Vancouver Sun.
  23. "2018 Referendum on Electoral Reform: Voting Results Available". Elections BC. สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]