ราชสีมาซอรัส ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อัปเทียน ~120–113Ma | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
ฟอสซิล
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Sauropsida |
อันดับใหญ่: | Dinosauria |
อันดับ: | Ornithischia |
อันดับย่อย: | Ornithopoda |
สกุล: | Ratchasimasaurus Shibata, Jintasakul, & Azuma, 2011 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Ratchasimasaurus suranareae Shibata, Jintasakul, & Azuma, 2011 |
ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus suranareae)[1] เป็นไดโนเสาร์ประเภทกินพืช จัดอยู่ในกลุ่มที่มีสะโพกแบบนก (ออร์นิโธพอด) กลุ่มเดียวกับอิกัวโนดอน พบกรามล่างซ้ายและร่องฟันโค้งตามรูปฟัน และมีโครงขากรรไกรชี้ไปด้านหลัง ขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง มักเดินสองเท้าหรือเดินสี่เท้าเป็นครั้งคราว นิ้วมือและเท้ามี 5 นิ้ว สามารถงุ้มงอนิ้วเพื่อจับกิ่งไม้ได้และมีนิ้วโป้งขนาดใหญ่สันนิษฐานว่าอาจจะมีไว้เพื่อป้องกันตัว ปลายปากคล้ายเป็ดและคาดว่ามี ลิ้นยาวเพื่อตวัดอาหารเข้าปาก กินพืชพวกเฟิร์นและหญ้าหางม้าเป็นอาหาร
พบในชั้นหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ซึ่งอยู่ในสมัยแอปเทียน (Aptian) ยุคครีเทเชียสตอนต้น หรืออายุประมาณ 100 ล้านปีก่อน แหล่งที่พบคือบริเวณสระน้ำของหมู่บ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา การค้นพบนี้ เป็นผลงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ฟูกูอิ[2] ประเทศญี่ปุ่น คณะผู้วิจัยได้ให้ชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า "ราชสีมาซอรัส" ตามชื่อแบบสั้นของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งค้นพบ และให้ชื่อเฉพาะชนิดพันธุ์ว่า "สุรนารีเอ" ตามชื่อของท้าวสุรนารี วีรสตรีของจังหวัดนครราชสีมา แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไดโนเสาร์นี้ ไม่ได้วิจัยโดย นักไดโนเสาร์ (Dinosaurologist) โดยตรง