ลัดดาแลนด์ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ |
บทภาพยนตร์ | โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล โสภณ ศักดาพิศิษฏ์ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | กิตติวัฒน์ เสมรัตต์ |
ตัดต่อ | ธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค |
ดนตรีประกอบ | หัวลำโพงริดดิม |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | จีเอ็มเอ็ม ไท หับ |
วันฉาย | 28 เมษายน พ.ศ. 2554 |
ความยาว | 118 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 116.46 ล้านบาท (เฉพาะ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่)[1] |
ก่อนหน้านี้ | มะขิ่น |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ลัดดาแลนด์ เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเหนือธรรมชาติ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554 กำกับและเขียนบทโดยโสภณ ศักดาพิศิษฏ์ ผลิตโดยจอกว้างฟิล์ม และจัดจำหน่ายโดยจีทีเอช นำแสดงโดย สหรัถ สังคปรีชา, ปิยธิดา วรมุสิก แนวคิดหลัก ๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ แดนผีที่ดุที่สุดในเชียงใหม่ อยู่ในหมู่บ้าน ลัดดาแลนด์ ซึ่งมีการฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม และต่อเนื่องสืบมา[2]
ธีร์ ชายวัยกลางคน ไม่มีปัญญาซื้อบ้าน ได้เช่าอพาร์ตเมนต์เป็นที่อยู่ ทำให้เขารู้สึกผิดต่อทุกคนในครอบครัว คือ ป่าน ภรรยา, แนน ลูกสาววัยรุ่น และ นัท ลูกชายวัย 5 ขวบ ธีร์ คิดว่าตัวเองคงเป็นสามี เป็นพ่อ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ไม่เอาไหนหากไม่สามารถมีบ้านสักหลังไว้เป็นหลัก
ต่อมา ธีร์ได้รับข้อเสนอ ให้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายการตลาดที่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเงินเดือนที่มากขึ้นและค่าที่ดินที่ถูกลง ธีร์ ตัดสินใจไปตั้งรกรากในบ้านที่หมู่บ้านลัดดาแลนด์ โดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยาและลูก ธีร์ เชื่อว่าครอบครัวของเขาจะมีความสุขมากกว่า
ธีร์ บังเอิญมาเห็นโจรสองคนที่กำลังขโมยขวดน้ำจากตู้แช่ เขาจึงได้ตะโกนและก่อนที่พวกเขาจะรีบวิ่งหนีแต่อีกฝ่ายก็สามารถหนีไปได้ แต่อีกคนนึงถูกธีร์จับได้และชกต่อย จนทำให้พนักงานไล่ธีร์ออก แต่ธีร์ ก็ไม่ยอมออกจากร้านและยังตะโกนใส่พนักงานร้านว่า "กูไม่ออก ออกไปแล้วกูจะเอาอะไรแดก" และเขาก็ได้เอาไม้ถูพื้นโดยไม่สนใจพนักงานร้าน
ในค่ำคืน เดียวกันนั้นเอง มีเด็กรับใช้ชาวพม่าของบ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้านถูกฆาตกรรมอย่างทารุณ คนร้ายสาดน้ำกรดจนใบหน้าแหลกเหลวแล้วทุบตีเธอจนตายก่อนนำศพไปยัดไว้ ในตู้เย็น ซึ่งต่อมาทุกหมู่บ้านจะได้ประสบกับสิ่งสยองขวัญที่กำลังจะเกิดขึ้น
ธีร์ ก็ได้ใช้ปืนขนาด 5 มม ยิงลูกชายเขาโดยไม่ได้ตั้งใจ จนทำให้ธีร์ คิดว่าลูกชาย 5 ขวบเสียชีวิตแล้วธีร์จึงได้ตัดสินใจใช้ปืนยิงตัวเองเพื่อหนีความผิด ภรรยาได้พยายามห้ามสามีแต่ก็ไม่เป็นผล ธีร์ก็ได้ยิงตัวเองจนเสียชีวิต และฉากนั้นก็ได้ตัดไป ในวันต่อมางานศพของธีร์ ทำให้แม่และลูกของเขาทำได้เพียงแค่กอดกันร้องไห้ในงานศพของธีร์
โดยเรื่องนี้ จิม-โสภณ ศักดาพิสิษฏ์ ได้นั่งแท่นผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์ โดยผลงานที่ผ่านมา โสภณ ได้กำกับภาพยนตร์ โปรแกรมหน้า วิญญาณอาฆาต และเขียนบทภาพบยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ,แฝด,ห้าแพร่ง(ตอน ห้องเตียงรวม,รถมือสอง)
เรื่องนี้ โสภณ ได้มีความคิดในเรื่องอาถรรพ์ในหมู่บ้านจัดสรร และได้นำตำนานที่เล่าเกี่ยวกับลัดดาแลนด์ มาประกอบกัน จึงได้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมา โดยเรื่องนี้ไม่ได้อ้างถึงสถานที่จริงแต่อย่างใด เพียงแต่นำเอาตำนานจากสถานที่จริงมาประกอบเท่านั้น
โดยขณะผู้กำกับกำลังเขียนบทภาพยนตร์นั้น เห็นว่าบทของ "ธีร์" เป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดูอบอุ่น รักลูก รักครอบครัว ทำทุกอย่างเพื่อให้ครอบครัวมีความสุข ทำให้นึกถึง ก้อง - สหรัถ สังคปรีชา ขึ้นมา จึงเลือกให้สหรัถ มารับบทนี้ ส่วนบทของ"ป่าน" ภรรยาของธีร์นั้น ผู้กำกับเลือก ป๊อก - ปิยธิดา วรมุสิก มารับบทป่าน และได้เลือกนักแสดงเด็กอีกสองคนเพื่อมารับบทลูกของธีร์และป่านได้แก่ ปันปัน - สุทัตตา อุดมศิลป์ และ ก๊อบแก๊บ - อธิพิชญ์ ชุติวัฒน์ขจรชัย มาร่วมสร้างสีสันให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้
การถ่ายทำส่วนใหญ่ของภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ่ายทำที่หมู่บ้านจัดสรร แถบจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดปทุมธานีเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเป็นฉากที่เป็นหมู่บ้านลัดดาแลนด์ ถ่ายทำที่หมู่บ้านจัดสรร ย่านเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยถ่ายทำที่จังหวัดเชียงใหม่จริงๆตามท้องเรื่องนั้น มีไม่กี่ฉากเท่านั้น เช่น ฉากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และฉากที่ขับรถเข้าเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
ถ่ายทำด้วยกล้องดิจิตอลซีเนม่า RED ONE MX 4K บันทึกเสียง Sync sound on location
การถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก(ซีจี) ในการถ่ายทำหลายฉาก เช่น ฉากหลังหมู่บ้านลัดดาแลนด์ เพราะหมู่บ้านนี้ที่ใช่ถ่ายทำ ไม่มีภูเขาจริงๆ จึงใช้ซีจีในการทำภูเขาขึ้นมา และฉากป้ายชื่อหมู่บ้านลัดดาแลนด์ ก็มาจากซีจีทั้งหมด นอกจากนี้ ยังใช้เทคนิคลบเลขที่บ้านและป้ายโฆษณาขายบ้านในหมู่บ้านนั้นออกไป
จีทีเอช จัดงานฉายหนังรอบสื่อมวลชน ภาพยนตร์ผี สยองขวัญ เรื่องลัดดาแลนด์ ของผู้กำกับ จิม - โสภณ ศักดาพิสิษฏ์ ด้วยบรรยากาศอันน่าสะพรึง มีเสียงพระสวด มีผีสาวใช้ชาวพม่าคอยเดินเสริฟอาหาร ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ งานนี้พิธีกรสาวสุดฮอต ปาณิสรา พิมพ์ปรุ (โอปอล์) รับหน้าที่พิธีกร พูดคุยกับบรรดานักแสดงนำของเรื่อง ซึ่งนำทีมโดย สหรัถ สังคปรีชา, ปิยธิดา วรมุสิก ที่มาร่วมพูดคุยถึงหนังผีสยองขวัญ ที่นักแสดงทุกคน ทุ่มเทสุดชีวิต ก่อนจะมาถึงซีนเปิดตัวนักแสดงรุ่นเล็ก อธิพิชญ์ ชุติวัฒน์ขจรชัย (ก๊อบแก๊บ) และ สุทัตตา อุดมศิลป์ (ปันปัน) ตามด้วยนักแสดงรุ่นใหญ่ เดือนเต็ม สาลิตุลย์ และ ปรเมศร์ น้อยอ่ำ (ปลาย)[3]
ผู้กำกับ ได้เผยกล่าวว่า “ ลัดดาแลนด์ เป็นหนังที่ผมได้ไอเดียมาจากตำนานเรื่องเล่าของเด็กเชียงใหม่ ที่เล่าเรื่องตำนานลัดดาแลนด์ และผมเองก็อยากทำหนังผีอาถรรพ์เกี่ยวกับหมู่บ้านจัดสรร เลยนำมาพัฒนาเป็นบทหนังผีสยองขวัญอารมณ์เข้มข้นเรื่องนี้ ที่ได้พระ-นาง มืออาชีพ ก้อง-สหรัถ มาประชันบทบาทกับ ป๊อก-ปิยธิดา เป็นหนังผีที่เข้มข้นมากๆ ครับ” [4]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ออกฉายทั่วไปในโรงภาพยนตร์เมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2554 เปิดตัวในวันแรกทำรายได้กว่า 10.66 ล้านบาท โดยรายได้เปิดตัววันแรกนี้เป็นอันดับที่3 ของค่าย(รองจาก ห้าแพร่ง และ รถไฟฟ้า มาหานะเธอ)[ต้องการอ้างอิง] ทำรายได้ 4 วันแรกได้ไป 45 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] โดยรายได้รวม 7 วันแรก ทำรายได้ไป 74.16 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] ในสัปดาห์ที่ 2 จากการฉายเพียง 13 วันทำรายได้เกินหนึ่งร้อยล้านบาท[ต้องการอ้างอิง] รายได้รวม ทำรายได้ไป 116.46 ล้านบาท และเป็นภาพยนตร์สยองขวัญที่ทำรายสูงสุดของจีทีเอชอีกด้วย(ซึ่งทำรายได้มากกว่า ห้าแพร่ง และ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ของค่ายเดียวกัน)[5]
ต่อมาทางค่ายหนังได้จัดกิจกรรม "ลัดดาแรง สู่100ล้าน" โดยที่มีผู้กำกับและนักแสดงในเรื่อง ได้ไปร่วมในงาน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่สยามพารากอน [6]
ลัดดาแลนด์ ออกจัดจำหน่ายในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท ฮับ จำกัด โดยออกมา 3รูปแบบ ได้แก่ วีซีดี,ดีวีดี และดีวีดี สเปเชี่ยล แพ็กเกจ
วีซีดี ลัดดาแลนด์ ประกอบไปด้วยวีซีดีจำนวน 2 แผ่น โดยจะมีเฉพาะส่วนของภาพยนตร์ที่ฉายไปในโรงภาพยนตร์เท่านั้น ไม่มีสกู๊ปพิเศษต่างๆ เหมือนในรูปแบบดีวีดีและดีวีดี สเปเชี่ยล แพ็กเกจ โดยรูปหน้าปกจะเป็นรูปของสี่ตัวละครหลัก ยืนอยู่หน้าหมู่บ้าน[7]
วีซีดี ลัดดาแลนด์ รูปแบบ Digi Tray เป็นรูปแบบ DVD9 จำนวน 1 แผ่น โดยรูปหน้าปกจะเป็นรูปของวิญญาณหญิงสาว ยืนอยู่หน้าหมู่บ้าน ซึ่งต่างไปจากปกของรูปแบบวีซีดีและดีวีดี สเปเชี่ยล แพ็กเกจ[8] มีรายละเอียด ดังนี้
ดีวีดี สเปเชี่ยล แพ็กเกจ ลัดดาแลนด์ รูปแบบ 2-Disc Special package เป็นรูปแบบ DVD9 มีจำนวน 2 แผ่น และสมุดภาพไดอารี่ โดยรูปหน้าปกจะเป็นรูปของสี่ตัวละครหลัก ยืนอยู่หน้าหมู่บ้านเหมือนกับปกของวีซีดี ต่างกันที่บรรจุภัณฑ์ ที่มีความพิเศษกว่าแบบวีซีดีและดีวีดีปกติ[9] มีรายละเอียด ดังนี้
ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผล |
---|---|---|
สยามดารา สตาร์ อวอร์ดส์ 2011[10] | ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) | ชนะ |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สหรัถ สังคปรีชา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปิยธิดา วรมุสิก) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
สตาร์พิคส์ ไทย ฟิล์ม อวอร์ด ครั้งที่ 9 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชนะ | |
กำกับภาพยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สหรัถ สังคปรีชา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปิยธิดา วรมุสิก) | ชนะ | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุทัตตา อุดมศิลป์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชนะ |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชนะ | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) | ชนะ | |
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สหรัถ สังคปรีชา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปิยธิดา วรมุสิก) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุทัตตา อุดมศิลป์) | ชนะ | |
รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 20 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชนะ | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (สหรัถ สังคปรีชา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปิยธิดา วรมุสิก) | ชนะ | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุทัตตา อุดมศิลป์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 21 | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ชนะ |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล, โสภณ ศักดาพิศิษฏ์) | ชนะ | |
ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ณกมล บุญรอด, ภูริพันธ์ ภู่ไพบูลย์, ธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค) | ชนะ | |
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (วุฒินันท์ สุจริตพงศ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ถ่ายภาพยอดเยี่ยม (กิตติวัฒน์ เสมรัตต์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
บันทึกเสียงและผสมเสียงยอดเยี่ยม (กันตนา แลบบอราทอรี่ส จำกัด) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (หัวลำโพงริดดิม) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (วาสนา เบญจชาติ) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
เทคนิคพิเศษการแต่งหน้ายอดเยี่ยม (พิเชษฐ วงค์จันทร์สม) | ชนะ | |
เทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (บริษัท Magic Wand จำกัด) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (โสภณ ศักดาพิศิษฎ์) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม (สหรัถ สังคปรีชา) | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปิยธิดา วรมุสิก) | ชนะ | |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (สุทัตตา อุดมศิลป์) | ชนะ |
ในปี พ.ศ. 2556 ทาง ซีเนริโอ ได้หยิบบทภาพยนตร์เรื่องนี้มาเขียนขึ้นใหม่ ก่อนจะทำเป็นละครเวทีสำหรับแสดงสดในช่วงเดือนกันยายนนี้ ต่อจากละครเวทีเรื่อง เดอะแฟนธ่อมออฟดิโอเปร่า นำแสดงโดย ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ (รับบท ธีร์), นิโคล เทริโอ (รับบท ป่าน), อริต์ตา รามณรงค์ (รับบท แนน) กำกับการแสดงโดย จิรศักดิ์ โย้จิ้ว โดยจะเปิดทำการแสดงที่ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ [11]