ลัทธิขงจื่อใหม่แบบเอโดะ เป็นที่รู้จักกันในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า "ชูชิ-งะคุ" (朱子学 - Shushigaku) เป็นสำนักปรัชญาขงจื่อใหม่ที่พัฒนาขึ้นในญี่ปุ่นสมัยเอโดะ ลัทธิขงจื่อใหม่เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นช่วงยุคคามาคุระ หลักปรัชญานี้มีลักษณะที่เน้นความเมตตาและความมีเหตุผลซึ่งเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจจักรวาลได้ด้วยเหตุผลของมนุษย์และขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะสร้างความสัมพันธ์อันประสานกลมกลืนกันระหว่างจักรวาลกับปัจเจกบุคคล ในสมัยศตวรรษที่ 17 โชกุนตระกูลโทคุงาวะ ได้นำปรัชญาของลัทธิขงจื่อใหม่มาใช้เป็นหลักการในการปกครองประชาชน นักปราชญ์ขงจื่อใหม่ ได้แก่ Hayashi Razan และ Arai Hakuseki ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างนำลัทธิขงจื่อใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือในปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ตอนต้นอันโดดเด่นของญี่ปุ่น
ลัทธิขงจื่อใหม่มีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ถังของจีน นักปรัชญาขงจื่ออย่างหานอวี๋และหลี่อ้าวมีอิทธิพลต่อนักปรัชญาขงจื่อใหม่สมัยราชวงศ์ซ่ง [1] โจวตุนอี๋ นักปรัชญาขงจื่อแห่งราชวงศ์ซ่งขึ้นชื่อว่าเป็น "ผู้บุกเบิกลัทธิขงจื่อใหม่" ที่แท้จริงคนแรก โดยใช้แนวคิดอภิปรัชญาของเต๋าเป็นกรอบสำหรับปรัชญาทางจริยธรรม [2] ลัทธิขงจื่อใหม่พัฒนาขึ้นเพื่อฟื้นฟูแนวคิดลัทธิขงจื่อดั้งเดิมและเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกับความคิดของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า แม้ว่านักปรัชญาขงจื่อใหม่จะปฏิเสธอภิปรัชญาของพุทธ แต่ลัทธิขงจื่อใหม่ก็ได้หยิบยืมคำศัพท์และแนวคิดของลัทธิเต๋าและพุทธศาสนามาใช้
ลัทธิขงจื่อได้เข้ามาในญี่ปุ่นในช่วงปลายสมัยคามาคุระ มีการเผยแผ่อันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับพระภิกษุในการฝึกปฏิบัติของสมาคมวัดเซนอย่าง Five Mountain System (Gozan) ในขณะที่ทฤษฎีของลัทธิขงจื่อใหม่ สำนักเฉิงจูได้รับการถ่ายทอดผ่านคำอธิบายโดยพระ Yishan Yining ซึ่งเดินทางมาเยือนญี่ปุ่นในปี 1299 จากราชวงศ์หยวน [3] ยิ่งไปกว่านั้นความคิดแบบขงจื่อใหม่ ได้มาจากผลงานของเฉิงอี้, เฉิงฮ่าว และ จูซี และอุดมการณ์ดั้งเดิมของจีนและเกาหลีในเวลานั้น การเฟิ่องฟูของลัทธิขงจื่อใหม่ในญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโทกุงาวะ ซึ่งสนับสนุนให้มีการจัดตั้งอุดมการณ์ทางโลกแห่งชาติเพื่อเป็นวิธีการเสริมสร้างกฎหมายที่ใช้ปกครองทางการเมืองในประเทศ ปรัชญาขงจื่อได้เข้ามาถึงญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ในศตวรรษที่ 14 แต่ความรู้เกี่ยวกับลัทธิขงจื่อถูกจำกัดเฉพาะพระเซน ที่เห็นว่าลัทธิขงจื่อมีความน่าสนใจทางสติปัญญา แต่เป็นรองจากนิกายเซน [4] และบางสำนัก เช่น สำนักอาขิคางะ
ผู้บุกเบิกลัทธิขงจื่อของญี่ปุ่น คือ ฟูจิวาระ เซกะ อดีตผู้ปฏิบัติงานปรัชญาเซนที่สนใจในความคิดของขงจื่อ ซึ่งในที่สุดก็ปฏิเสธแนวคิดเซนให้กลายเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของลัทธิขงจื๊อนีโอในญี่ปุ่น [4] ฮายาชิราซัน นักเรียนของฟูจิวาระรับใช้โชกุนโทคุงาวะและโดยการอุปถัมภ์ของรัฐก็สามารถก่อตั้ง สถาบันโชเฮอิโกะ ได้ หลังจากที่ Kansei Edict ได้ กำหนดให้ Neo-Confucianism เป็นอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นสถาบัน Shoheiko ก็ได้กลายเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองแบบลัทธิขงจื้อ แม้ว่าโรงเรียนที่แตกต่างกันของลัทธินีโอ - ขงจื๊อจะถูกห้ามอย่างเป็นทางการ แต่โรงเรียนยังคงอยู่ในญี่ปุ่น นักปรัชญาชาวญี่ปุ่น Toju Nakae เป็นหนึ่งในกรณีเช่นนี้ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก heterodox Wang Yangming มากกว่าที่เขาเป็นดั้งเดิมของ Zhu Xi [5]
ในศตวรรษที่ 17 และ 18 มีการเฟื่องฟูของสำนักปรัชญาโคคุงาคุซึ่งท้าทายลัทธิขงจื่อใหม่ในญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนสำนักโคคุงาคุ Kokugaku โต้แย้งว่าชาวญี่ปุ่นโบราณเป็นตัวแทนของคุณธรรมของขงจื่อได้ดีกว่าชาวจีนโบราณ และควรให้ความสำคัญกับปัญญามากกว่าตำนานคลาสสิกของญี่ปุ่นโบราณและศาสนาชินโตซึ่งเป็นศาสนาพื้นเมืองของญี่ปุ่น [6] แม้ว่าคู่แข่งทางปรัชญาระหว่างสำนักโคคุงาคุ (Kokugaku) และ ลัทธิขงจื่อใหม่ (Neo-Confucianism) จะดำรงอยู่ร่วมกันในฐานะแนวคิดทางปรัชญาที่โดดเด่นของญี่ปุ่นจนกระทั่งการได้รับอิทธิพลจากปรัชญาตะวันตกในยุคเมจิ
เช่นเดียวกับลัทธิขงจื่อแบบจีนและเกาหลี ลัทธิขงจื่อใหม่แบบเอโดะ (Edo Neo-Confucianism) เป็นปรัชญาสังคมและจริยศาสตร์ที่อยุ่บนฐานของแนวคิดอภิปรัชญา ปรัชญามีลักษณะแนวคิดแบบมนุษยนิยมและเหตุผลนิยมโดยมีความเชื่อว่าเราสามารถเข้าใจจักรวาลได้ด้วยเหตุผลของมนุษย์ และขึ้นอยู่กับตัวมนุษย์ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ประสานกลมกลืนกันระหว่างจักรวาลและปัจเจกบุคคล [3]
สำนักเหตุผลนิยม (หลี่เสว) ของลัทธิขงจื่อใหม่ตรงกันข้ามกับลัทธิรหัสยนัยของศาสนาพุทธนิกายเซนที่มีอิทธิพลก่อนหน้านี้ในญี่ปุ่น นักปรัชญาขงจื่อใหม่เชื่อว่ามนุษย์มีตัวตนอยู่จริง และมนุษยชาติสามารถเข้าใจการดำรงอยู่ของมนุษย์ได้ แม้ว่าการตีความของความเป็นจริงขึ้นอยู่กับปรัชญาขงจือใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากศาสนาพุทธ [3]
แต่จิตวิญญาณของนักปรัชญาขงจื่อใหม่ สำนักเหตุผลนิยม ได้คัดค้านแนวคิดรหัสยนัยของพุทธศาสนา ในขณะที่ศาสนาพุทธยังยืนยันในเรื่องของความเป็นสูญญตาของสรรพสิ่ง ลัทธิขงจื่อใหม่ได้เน้นย้ำในความเป็นจริง ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋ามุ่งเน้นให้มนุษย์ละตัวตน และหันกลับไปหาสู่ความไม่มีตัวตน ลัทธิขงจื่อใหม่เห็นว่าความเป็นจริงเป็นการทำให้เป็นจริงของขั้นสูงสุดอย่างค่อยเป็นค่อยไป... ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเน้นการทำสมาธิ เพื่อเห็นแจ้งและบรรลุในเหตุผลสูงสุด นักปรัชญาขงจื่อใหม่จึงเลือกที่จะนำแนวคิดเหตุผลของศาสนาพุทธและลัทธิเต๋ามาสร้างคำอธิบายอภิปรัชญาในลัทธิขงจื่อ
ปรัชญาในแง่มุมทางสังคมมีการจัดลำดับชั้นโดยเน้นที่ความกตัญญู สิ่งนี้ก่อให้เกิดการจัดลำดับชั้นทางสังคมแบบขงจื่อในสังคมเอโดะที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีมาก่อน โดยในสังคมญี่ปุ่นได้แบ่งออกเป็น 4 ชนชั้นหลัก ได้แก่ ซามูไร ซึ่งถืิอว่าเทียบเท่ากับปัญญาชนและขุนนางในราชสำนักของจีนที่อยู่ด้านบนสุดของลำดับชั้นทางสังคม จากนั้นก็คือ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า [7] ซามูไรเป็นนักอ่านตัวยงและเป็นครูสอนแนวคิดของลัทธิขงจื่อในญี่ปุ่น โดยได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาขงจื่อขึ้นเป็นจำนวนมาก
ลัทธิขงจื่อใหม่ได้นำองค์ประกอบของแนวคิดชาติพันธุ์นิยมเข้ามาในญี่ปุ่น ในขณะที่ลัทธิขงจื่อใหม่ของจีนถือว่าวัฒนธรรมของตนเองเป็นศูนย์กลางของโลก นักปรัชญาขงจื่อใหม่ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนามาเป็นความภาคภูมิใจในชาติของตนเองที่คล้ายคลึงกับจีน [3] ความภาคภูมิใจของชาตินี้จะพัฒนาไปสู่สำนักปรัชญาโคคุงาคุซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นปฏิกิริยากับลัทธิขงจื่อใหม่และได้รับรู้ว่าแนวคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากจีนเป็นปรัชญาที่โดดเด่นของญี่ปุ่น