ลำนำโศกอสูรฆาต | |
鬼人幻燈抄 (Kijin Gentōshō) | |
---|---|
แนว | |
นวนิยายชุด | |
เขียนโดย | โมโตโอะ นาคานิชิ |
สำนักพิมพ์ |
|
วางจำหน่ายตั้งแต่ | มกราคม พ.ศ. 2556 – ตุลาคม พ.ศ. 2559 |
ไลต์โนเวล | |
เขียนโดย | โมโตโอะ นาคานิชิ |
วาดภาพโดย | ทามากิ |
สำนักพิมพ์ | ฟุตาบะชะ |
ในเครือ | ผู้ชาย |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
จำนวนเล่ม | 14 |
มังงะ | |
เขียนโดย | โมโตโอะ นาคานิชิ |
วาดภาพโดย | ยู ซาโตมิ |
สำนักพิมพ์ | ฟุตาบะชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | รักพิมพ์[3] |
ในเครือ | แอคชั่น คอมิกซ์ |
กลุ่มเป้าหมาย | เซเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 9 กันยายน พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | ![]() ![]() |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | คาซึยะ ไออุระ |
เขียนบทโดย | เดโกะ อาคาโอะ |
ดนตรีโดย |
|
สตูดิโอ | โยโกฮามะแอนิเมชันแลบอราโทรี |
เครือข่าย | โตเกียวเอ็มเอ็กซ์, เอ็มบีเอส, บีเอส ฟูจิ |
ฉาย | 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 – กำหนดการ |
ลำนำโศกอสูรฆาต (ญี่ปุ่น: 鬼人幻燈抄 โรมาจิ: Kijin Gentōshō) เป็นซีรีส์ไลต์โนเวลจินตนิมิตอิงประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เขียนโดยโมโตโอะ นาคานิชิ และวาดภาพโดยทามากิ เผยแพร่ต่อเนื่องออนไลน์ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2559 บนเว็บไซต์อาร์คาเดีย และต่อมาได้ย้ายไปที่เว็บไซต์โชเซ็ตสึกะ นิ นาโร ซึ่งเผยแพร่ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2556 ต่อมาฟูตาบะฉะได้นำไปตีพิมพ์ ได้ตีพิมพ์เป็นจำนวน 14 เล่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มังงะที่ดัดแปลงพร้อมงานศิลปะโดยยู ซาโตมิ ตีพิมพ์โดยฟูตาบะชะ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 และได้รวบรวมตีพิมพ์เป็นเล่ม(ทังโกบง)ไว้จำนวน 6 เล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยและตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์รักพิมพ์[3] อนิเมะซีรีส์โทรทัศน์ที่ดัดแปลงโดยสตูดิโอโยโกฮามะแอนิเมชันแลบอราโทรี มีกำหนดออกอากาศในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2568
# | วันที่ออกจำหน่าย | ISBN |
---|---|---|
1 | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2562[6] | 978-4-575-24185-3 |
2 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562[7] | 978-4-575-24216-4 |
3 | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[8] | 978-4-575-24253-9 |
4 | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563[9] | 978-4-575-24290-4 |
5 | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563[10] | 978-4-575-24339-0 |
6 | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[11] | 978-4-575-24377-2 |
7 | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564[12] | 978-4-575-24417-5 |
8 | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564[13] | 978-4-575-24457-1 |
9 | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[14] | 978-4-575-24492-2 |
10 | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565[15] | 978-4-575-24534-9 |
11 | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565[16] | 978-4-575-24574-5 |
12 | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[17] | 978-4-575-24607-0 |
13 | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[18] | 978-4-575-24640-7 |
14 | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[19] | 978-4-575-24697-1 |
# | วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ | ISBN ต้นฉบับ | วันที่ออกจำหน่ายไทย | ISBN ไทย |
---|---|---|---|---|
1 | 9 กันยายน พ.ศ. 2564[20] | 978-4-575-44004-1 | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566[21] | 978-616-574-878-0 |
2 | 10 มีนาคม พ.ศ. 2565[22] | 978-4-575-44015-7 | 22 มีนาคม พ.ศ. 2567[23] | 978-616-574-884-1 |
3 | 8 กันยายน พ.ศ. 2565[24] | 978-4-575-44024-9 | — | — |
4 | 15 มีนาคม พ.ศ. 2566[25] | 978-4-575-44034-8 | — | — |
5 | 13 กันยายน พ.ศ. 2566[26] | 978-4-575-44041-6 | — | — |
6 | 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[27] | 978-4-575-44047-8 | — | — |
7 | 11 กันยายน พ.ศ. 2567[28] | 978-4-575-44060-7 | — | — |
8 | 19 มีนาคม พ.ศ. 2568[29] | 978-4-575-44077-5 | — | — |
ฟุตาบะฉะได้ประกาศการดัดแปลงเป็นอนิเมะเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564[2] ต่อมาได้รับการเปิดเผยในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ว่าเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ผลิตโดยสตูดิโอโยโกฮามะแอนิเมชันแลบอราโทรี และกำกับโดยคาซึยะ ไออุระ โดยมีเดโกะ อาคาโอะเป็นผู้ดูแลบทซีรีส์ ทาโร่ อิเคกามิเป็นผู้ออกแบบตัวละคร และริวอิจิ ทาคาดะ, เคอิอิจิ ฮิโรคาวะ และคุนิยูกิ ทากาฮาชิเป็นผู้แต่งเพลง[4] เดิมมีกำหนดออกอากาศในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2567[30][5] แต่ต่อมาเกิดความล่าช้าเนื่องจากความล่าช้าในการผลิต มีกำหนดออกอากาศใหม่ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 ทางช่องโตเกียวเอ็มเอ็กซ์และเครือข่ายอื่น ๆ และจะออกอากาศเป็นเวลา 2 ช่วงต่อเนื่อง[31] เพลงปิดของเรื่องคือ "Sen-ya Ichi-ya" ร้องโดย Hilcrhyme ร่วมกับอิซึมิ นากาโซเนะ จากวง HY[32]
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)