ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ

ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
龍尾古廟
ด้านหน้าศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะในปี พ.ศ. 2566
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เทพเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
หน่วยงานกำกับดูแลสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย
ปีที่อุทิศพ.ศ. 2386
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง125 ซอยเจริญกรุง 16 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
รูปแบบโครงสร้างไม้รับน้ำหนักหลังคาแบบชาเหลียง
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
โครงสร้างไม้รับน้ำหนักหลังคาแบบชาเหลียง ภายในศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ ในปี พ.ศ. 2566

ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ (อักษรจีน:龍尾古廟; อังกฤษ: Leng Buai Ia Shrine) เป็นศาลเจ้าของกลุ่มจีนแต้จิ๋ว ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เลขที่ 125 ภายในซอยเจริญกรุง 16 หรือตรอกอิสรานุภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับซอยเยาวราช 6 ในฝั่งถนนเยาวราชได้[1]

ศาลแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 อ้างอิงจากจารึกปีก่อตั้งในระฆังของศาลเจ้าที่ระบุปีที่ 23 ของจักรพรรดิเต้ากวัง หรือ พ.ศ. 2386 ทั้งนี้ข้อมูลบางแหล่งมีการระบุป้ายภาษาจีนที่ระบุปีก่อตั้งตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่แน่ชัดของหลักฐานดังกล่าว[2] ภายในศาลมีแท่นบูชาเล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือเทพเจ้าหางมังกร[3] เป็นประธาน พร้อมกับภริยา ฝั่งช้ายมือตั้งแท่นบูชาเทพเจ้ากวนอูและฝั่งขวามือเป็นแท่นบูชาพระแม่สวรรค์ มีเสาเป็นรูปมังกรพัน ฝั่งขวาใกล้ประตู เป็นที่ตั้งระฆังโบราณที่สร้างมาแต่รัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง แห่งราชวงศ์ชิง ตัวศาลเจ้าเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน เป็นอาคารหลังเดียว หลังคาใหญ่ปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี มีมังกรสองตัวหันหน้าเข้าหากันอยู่ด้านบน[4][5]

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ป้ายโบราณที่จารึกในรัชสมัยจักรพรรดิกวังซฺวี่ แห่งราชวงศ์ชิง รวมถึงป้ายจารึกในราชวงศ์หมิง รวมทั้งยังมีระฆังจารึกชื่อ เฉิน ไท จื้อ ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานที่ศาลเจ้านี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีกระถางธูปสังเค็ดพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เก็บไว้ด้วย

ชุมชนรอบศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ เป็นตลาดสด ซึ่งอยู่ตรงข้ามตลาดเก่าฝั่งถนนเยาวราช นับว่าเป็นตลาดอีกแห่งหนึ่งที่มีความคึกคักและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน รวมถึงยังได้รับความนิยมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกด้วย[1] [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หนุ่มลูกทุ่ง (2008-11-18). "ท่อง 3 ตลาดเก่ากลางกรุง อดีตที่ยังมีลมหายใจ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ลิงก์เสีย]
  2. ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
  3. 3.0 3.1 "ตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ…ตลาดเก่ากลางกรุงบนถนนสายมังกร". อัศวิน ขวัญเมือง. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ลิงก์เสีย]
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nationsonline1
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ chaliot1

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′33″N 100°30′34″E / 13.742404°N 100.509373°E / 13.742404; 100.509373