ที่ตั้ง | ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
---|---|
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ผู้ดำเนินการ | การกีฬาแห่งประเทศไทย |
ความจุ | 25,000 |
พื้นผิว | หญ้า |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 |
ก่อสร้าง | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2536 |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2538 |
การใช้งาน | |
ซีเกมส์ 1995 ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 กีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 31 กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 กีฬาโรงเรียนอาเซียน 2016 เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ลำพูน วอริเออร์ |
สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี เป็นสนามกีฬาที่มีขนาดความจุผู้เข้าชมได้จำนวนประมาณ 25,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างขึ้นใน "โครงการสร้างสนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ณ โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามกีฬาเฉลิมฉลอง 700 ปี นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้วนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์จำนวน 236 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา ตามระเบียบของกรมธนารักษ์ ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2532
ต่อมาวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 นับเป็นการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกที่จัดนอกเมืองหลวงของประเทศเจ้าภาพ[1] ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างสนามกีฬาแห่งนี้ โดยที่คณะรัฐมนตรี มีมติขยายวงเงินในการก่อสร้างเพิ่มอีก 538,455,000 บาท
การกีฬาแห่งประเทศไทย จึงเริ่มจ้างบริษัทที่ปรึกษา เข้ามาออกแบบงานโครงการสร้างสนามกีฬาฯ และได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 7 ตุลาคมพ.ศ. 2536 เวลา 11.59 - 12.19 น. โดย ฯพณฯ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน[2]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |