สมเด็จพระรัษฎาธิราช

สมเด็จพระรัษฎาธิราช
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์พ.ศ. 2077 (5 เดือน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
ถัดไปสมเด็จพระไชยราชาธิราช
พระราชสมภพพ.ศ. 2072
สวรรคตพ.ศ. 2077 (5 พรรษา) วัดโคกพระยาอาณาจักรอยุธยา
พระนามเต็ม
สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระราชมารดาไม่ปรากฏพระนาม

สมเด็จพระรัษฎาธิราช[1] เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 12 แห่งอาณาจักรอยุธยา[2] เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร) แต่ครองราชสมบัติได้เพียง 5 เดือน ตรงกับปี พ.ศ. 2077[3] สมเด็จพระไชยราชาธิราช ได้ชิงพระราชสมบัติแล้วนำตัวพระองค์ไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ตามโบราณราชประเพณีที่วัดโคกพระยา[2]

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระรัษฎาธิราช เสด็จพระราชสมภพปี พ.ศ. 2072 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 จึงขึ้นครองราชสมบัติแทน

พงศาวดารไทยและต่างประเทศทั้งหมดกล่าวว่า สมเด็จพระรัษฎาธิราชมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2076 (จ.ศ. 1533/34)[4] พระเจ้ารัษฎาธิราชอาจประสูติเมื่อ พ.ศ. 2071 (จ.ศ. 1528/29). นักวิชาการสมัยใหม่เสนอว่าพระราชมารดาอาจเป็นลูกสาวของขุนนางที่มีอำนาจซึ่งต้องการมีความสัมพันธ์กับราชวงศ์ผ่านการแต่งงาน เนื่องจากการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนางแม้ว่าเขาจะเป็นคนส่วนน้อยก็ตาม[5]

การขึ้นครองราชย์และการสวรรคต

[แก้]

ใน พ.ศ. 2076 (จ.ศ. 1533/34) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เสด็จสวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษและพระราชโอรสคือพระรัษฎาธิราช สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[4] ในปี พ.ศ. 2077 (จ.ศ. 1534/35) หลังจากที่พระองค์ครองราชสมบัติได้ห้าเดือน สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยึดราชบัลลังก์และสำเร็จโทษสมเด็จพระรัษฎาธิราช[4] ด้วยท่อนจันทน์ตามราชประเพณี[5]

ความสัมพันธ์กับไชยราชาธิราช

[แก้]

พงศาวดารไทยและต่างประเทศระบุว่าสมเด็จพระรัษฎาธิราชและสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติกัน แต่ไม่มีเอกสารใดที่ให้ข้อมูลเพียงพอที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชัดเจน[4] สังคีติยวงศ์ระบุว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4[4] พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา และฉบับอื่น ๆ กล่าวเพียงว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2[6] พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ระบุว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นญาติห่าง ๆ และเป็นผู้สำเร็จราชการของสมเด็จพระรัษฎาธิราช[7]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสนอว่าสมเด็จพระไชยราชาธิราชเป็นพระมหาอุปราชกรุงศรีอยุธยา (โดยตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก) ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และสมเด็จพระรัษฎาธิราช ด้วยเหตุนี้พระไชยราชาธิราชจึงใช้เวลาถึงห้าเดือนจึงมาถึงกรุงศรีอยุธยาและยึดราชสมบัติได้[8] นักวิชาการสมัยใหม่เสนอว่าเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ไชยราชาธิราชต้องรอถึงห้าเดือนก่อนทำรัฐประหารคือต้องตรวจสอบท่าทีของแต่ละฝ่ายทางการเมืองและรอ "โอกาสที่ดี" เพราะสมเด็จพระรัษฎาธิราชยังคงได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนางนำโดยขุนนางผู้มีอำนาจซึ่งดูเหมือนจะเป็นตาของสมเด็จพระรัษฎาธิราช[5]

นอกจากนี้ การขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระรัษฎาธิราชยังขัดต่อประเพณีนิยม เพราะพระมหาอุปราชเป็นลำดับต้น ๆ ในการสืบราชบัลลังก์เสมอมา ด้วยเหตุผลดังกล่าว นักวิชาการสมัยใหม่จึงมีความเห็นว่าการขึ้นครองราชย์ของรัษฎาธิราชทำให้ไชยราชาธิราชกริ้วและการรัฐประหารยังทำให้สมเด็จพระรัษฎาธิราชองค์ที่สองจากราชวงศ์สุพรรณภูมิ ถูกประหารชีวิต[5]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 89
  2. 2.0 2.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 89
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 404
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation, 2011: 89.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Khruea-thong, 2012: online.
  6. Phra Ratchaphongsawadan..., 1991: 258.
  7. Van Vliet, 2003: 56.
  8. Phra Ratchaphongsawadan..., 1991: 258/259.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
  • Chula Chakrabongse (1960). Lords of Life: A History of the Kings of Thailand. London: Alvin Redman.
  • Khruea-thong, Pramin (2012-01-22). "Krung si patiwat: nueng roi pi haeng khwam ngiap rai 'patiwat' nai ratchawong suphannaphum" กรุงศรีปฏิวัติ: ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ ไร้ 'ปฏิวัติ' ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ [Ayutthayan coups: a hundred years of silence - no 'coup' in Suphannaphum Dynasty]. Archdiocese of Bangkok. Matichon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2015-05-19.
  • Phra Ratchaphongsawadan Chabap Phra Ratchahatthalekha Lem Nueng พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1 [Royal Chronicle of Siam: Royal Autograph Version, Volume 1] (8th ed.). Bangkok: Fine Arts Department of Thailand. 1991. ISBN 9744171448.
  • Prachum Phongsawadan Chabap Kanchanaphisek Lem Nueng ประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 [Golden Jubilee Collection of Historical Archives, Volume 1]. Bangkok: Fine Arts Department of Thailand. 1999. ISBN 9744192151.
  • Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation (2011). Namanukrom Phra Mahakasat Thai นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย [Directory of Thai Kings]. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Foundation. ISBN 9786167308258.
  • Van Vliet, Jeremias (2003). Wyatt, David K. (บ.ก.). Phongsawadan Krung Si Ayutthaya Chabap Wan Walit Phutthasakkarat Song Phan Nueng Roi Paet Sip Song พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 [1640 Chronicle of Ayutthaya: Van Vliet Version] (2nd ed.). Bangkok: Matichon. ISBN 9743229221.

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระรัษฎาธิราช ถัดไป
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
(พ.ศ. 2072 - พ.ศ. 2076)

พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

(พ.ศ. 2076 - พ.ศ. 2077)
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
(พ.ศ. 2077 - พ.ศ. 2089)