สาธารณสุขในประเทศอินเดีย

สาธารณสุขในประเทศอินเดียและสุขภาพของพลเมืองอินเดียนั้นมีความไม่เท่าเทียมอย่างมากระหว่างแต่ละรัฐของประเทศอินเดีย เช่น อัตราการเสียชีวิตแรกเกิดของทารกในรัฐเกรละ อยู่ที่ 6:1000[1] ในขณะที่ในรัฐอุตตรประเทศสูงถึง 64:1000 รายของทารกที่เสียชีวิตเมื่อแรกคลอด[2] ประชากรอินเดียเมื่อปี 2011 นั้นมีอยู่ราว 1.21 พันล้าน (ชาย 0.62 พันล้านคน และหญิง 0.588 พันล้านคน)[3]

ตัวบ่งชี้สำคัญของสาธารณสุขในอินเดียคือ การคาดหมายคงชีพเมื่อแรกเกิด (life expectancy at birth) ซึ่งพลเมืองของอินเดียนั้นเพิ่มสูงขึ้นจาก 49.7 ปีในช่วง 1970–1975 เป็น 67.9 ปีในช่วง 2010–2014 โดยการคาดหมายคงชีพของผู้หญิงอยู่ที่ 69.6 ปี และของผู้ชายอยู่ที่ 66.4 ปี[3] ในปี 2018 การคาดหมายคงชีพเมื่อแรกเกิดนั้นกล่าวกันว่าอยู่ที่ 69.1 ปี[4] ส่วนอีกตัวบ่งชี้หนึ่งคืออัตราการเสียชีวิตทารกเมื่อแรกเกิด (infant mortality rate) นั้นลดลงจาก 74 รายต่อทารก 1,000 คนในปี 1994 เหลือเพียง 37 รายต่อทารก 1,000 คนในปี 2015 อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างมากระหว่างในพื้นที่ชนบท (อยู่ที่ 41:1000) กับเขตเมือง (25:1000)[3]

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากร (Disability-Adjusted Life Years-DALYs) ในชาวอินเดียเมื่อปี 2559 สำหรับทุกเพศทุกวัยคือโรคหัวใจขาดเลือด (คิดเป็น 8.66% ของ DALYs ทั้งหมด), โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (คิดเป็น 4.81% ของ DALYs ทั้งหมด), ท้องร่วง (คิดเป็น 4.64% ของจำนวน DALYs ทั้งหมด) และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (คิดเป็น 4.35% ของ DALYs ทั้งหมด)[5]

ปัญหาสุขภาพ

[แก้]

การขาดสารอาหาร

[แก้]

ตามในรายงานเมื่อปี 2005 ระบุวว่าเด็กอินเดีย 60% ที่อายุต่ำกว่าสามปีขาดสารอาการ ซึ่งสูงกว่าในพื้นที่ sub-Saharan ของแอฟริกา[6] ดัชนีความหิวสากล (Global Hunger Index) ของประเทศอินเดียนั้นอยู่ที่ลำดับ 67 จาก 80 ประเทศ ซึ่งหนักกว่าประเทศอย่างเกาหลีเหนือ หรือซูดาน นอกจากนี้เด็กอายุต่ำกว่าห้าปี 44% มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ (underweight) ในขณะที่ทารกแรกเกิด 72% มีอาการโลหิตจาง[7]

พื้นที่ในอินเดียซึ่งมีการขาดสารอาหารในเด็กอย่างรุนแรง:[7]

  1. รัฐอุตตรประเทศ: เด็กส่วนใหญ่ที่นี่ที่อายุน้อยกว่าห้าปีมีปัญหาแคระแกร็น ตัวไม่โต ด้วยการขาดสารอาหาร
  2. รัฐทมิฬนาฑู: จากการสำรวจ National Family Health Survey พบว่าเด็ก 23% ในรัฐนี้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในขณะที่ 25% ของเด็กในเชนไนมีปัญหาแคระแกร็น
  3. รัฐมัธยประเทศ: ข้อมูลจากปี 2015 พบว่าในรัฐนี้มีเด็กขาดสารอาหารมากที่สุดในอินเดีย ในจำนวนนี้ 74.1% ที่อายุต่ำกว่า 6 ปีมีอาการโลหิตจาง และ 60% มีอาการขาดสารอาหาร
  4. ฌารขัณฑ์ และรัฐพิหาร: ฌารขัณฑ์มีจำนวนเด็กขาดสารอาหารมากที่สุดในอินเดียเป็นอันดับสองอยู่ที่ 56.5% ตามด้วยพิหารที่ 55.9%.

รูปแบบของอาการขาดสารอาหาร

[แก้]

การขาดสารอาหารในเด็ก

[แก้]
Infants and preschool children[9]
อาการ ความถี่ (%)
น้ำหนักเมื่อแรกเกิดต่ำ 22
Kwashiorkor/Marasmus# <1
Bitot's spots# 0.8-1.0
Iron deficiency anaemia (6–59 เดือน) 70.0
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (weight for age)* (<5 ปี)# 42.6
แคระแกร็น (height for age)* (<5 ปี)# 48.0
Wasting (weight for height)*# 20.0
น้ำหนักเกิน/โรคอ้วนในเด็ก 6-30

* : <Median -2SD จากมาตรฐานการเติบโตของเด็กโดย WHO (Child Growth Standards)

# : NNMB Rural Survey - 2005-06

การขาดสารอาหารในผู้ใหญ่

[แก้]
Adults (prevalence)[9]
อาการ หน่วย ชาย หญิง
เขตเมือง เขตชนบท# เขตชนเผ่า^ เขตเมือง เขตชนบท# เขตชนเผ่า^
Chronic energy deficiency (BMI <18.5) % 33.2 40.0 36.0 49.0
โลหิตจางในผู้หญิง (รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์) % 75
โรคขาดไอโอดีน - Goitre millions 54
โรคขาดไอโอดีน - Cretinism millions 2.2
โรคขาดไอโอดีน – Still births (includes neo-natal deaths) 90,000
โรคเรื้อรังที่เกิดจากโรคอ้วน (BMI >25) % 36.0 7.8 2.4 40.0 10.9 3.2
ความดันโลหิตสูง % 35.0 25.0 25.0 35.0 24.0 23.0
เบาหวาน (ปี 2006) % 16.0 5.0 16 5.0
โรคหลอดเลือดหัวใจ % 7–9 3–5 7–9 3–5
อัตราระบุโรคมะเร็ง ต่อล้านคน 113 123

* : <Median -2SD จาก WHO Child Growth Standards

# : NNMB Rural Survey - 2005-06

^ : NNMB Tribal Survey - 2008-09

โรคติดต่อ

[แก้]

โรคติดต่อเช่นโรคเด็งกี, โรคตับอักเสบ, วัณโรค, มาลาเรีย และปอดบวม เป็นโรคที่ยังคงระบาดในประเทศอินเดียเนื่องด้วยความต้านทานต่อยาที่สูงขึ้น (increased resistance to drugs)[10] ในปี 2011 ประเทศอินเดียได้เกิดอาการการดื้อยาทั้งหมด ('totally drug-resistant') ของ วัณโรค[11] ในขณะที่ เอชไอวี/เอดส์ในประเทศอินเดียนั้นสูงเป็นอันดับที่สามในบรรดาประเทศที่มีผู้ป่วยเอชไอวี องค์กรควบคุมมโรคเอดส์แห่งชาติ (National AIDS Control Organisation) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการควบคุมและกำจัดภาวะการแพร่ระบาดของโรคนี้ในอินเดีย[12] ส่วนโรคเกี่ยวกับท้องร่วง (Diarrheal diseases) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสำคัญในเด็กวัยแรกเริ่ม[13] โรคต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสะอาดในอินเดียที่ต่ำ และน้ำดื่มสะอาดปลอดภัยที่มีไม่เพียงพอ[14] ประเทศอินเดียมีผู้ป่วยโรคเรบีสมากที่สุดในโลก ส่วนมาลาเรียยังคงเป็นโรคตามฤดูในอินเดียเป็นเวลายาวนาน เช่นเดียวกับ Kala-azar, เด็งกี และชิคุนกุนยา ซึ่งสองโรคหลังนั้นติดต่อผ่านทางยุง Aedes[3]

ในปี 2012 ประเทศอินเดียได้ประกาศว่าเป็นประเทศปราศจากโรคโปลิโอ (polio-free) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[15] ด้วยผลจากการจัดโครงการ Pulse Polio ของรัฐบาลที่เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 1995–96[16]

การเสียชีวิตแรกเกิด

[แก้]

แม้จะมีการปรับปรุงพัฒนาในด้านสุขภาพในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา แต่หลายชีวิตยังคงสูญหายไปด้วยโรตในวัยแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดที่ไม่เพียงพอและสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตรทำให้มีเด็กมากกว่าสองล้านคนเสียชีวิตทุก ๆ ปีจากการติดเชื้อที่ป้องกันได้[17] ในประเทศอินเดียมีเด็กประมาณ 1.72 ล้านคนเสียชีวิตก่อนอายุครบหนึ่งขวบในทุก ๆ ปี[18] ส่วนอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบนั้นได้ลดลงมาเรื่อย ๆ จากอัตราการเสียชีวิต 202 และ 190 รายต่อเด็ก 1000 คนในปี 1970 ถึง 64 ตามลำดับ และเหลือเพียง 50 รายต่อเด็ก 1000 คนในปี 2009 ในปี 2018 จำนวนนี้ลดลงมาที่ 41.1 รายต่อ 1000 คน[18][19][4] However, this decline is slowing. Reduced funding for immunization leaves only 43.5% of the young fully immunized.[20]

ความสะอาด

[แก้]

ในปี 2008 มีครัวเรือนในอินเดียมากกว่า 122 ล้านครัวเรือนที่ไม่มีส้วม และ 33% ไม่สามารถเข้าถึงส้วมได้ นอกจากนี้ประชากรมากกว่า 50% (638 ล้าน) อุจจาระในพื้นที่เปิด (การประมาณการณ์ในปี 2008)[21] ตัวเลขนี้สูงกว่าบังกลาเทศ, บราซิล (7%) และจีน (4%).[21] ประชากรกว่า 211 ล้านคนได้รับการเข้าถึงความสะอาดที่พัฒนาแล้วในระว่างปี 1990–2008[21] อย่างไรก็ตามด้วยความสำเร็จของปฏิบัติการสวัฉภารัต ("Swacch Bharat Mission") ของรัฐบาลอินเดียที่เริ่มต้นในปี 2014 ประเทศอินเดียได้สร้างส้วมเพิ่มจำนวนกว่า 110 ล้านส้วมทั่วประเทศด้วยงบประมาณ 28 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ข้อมูลในปี 2018 ระบุว่าครัวเรือนอินเดียกว่า 95.76% สามารถเข้าถึงส้วม และในปี 2019 รัฐบาลได้ประกาศให้ประเทศอินเดียเป็นประเทศปราศจากการขับถ่ายในที่เปิดสาธารณะ (Open Defecation Free (ODF))[22]

สำหรับการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและปลอดภัยในอินเดียนั้น การเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาดในอินเดียได้พัฒนาขึ้นจากประชากร 68% สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้ในปี 1990 ขึ้นมาเป็น 88% ในปี 2008[21] อย่างไรก็ตาม มีเพียง 26% ของประชากรในสลัมที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้[22] นอกจากนี้ประชากรประมาณ 25% เข้าถึงน้ำสะอาดจากแหล่งน้ำส่วนตัว ปัญหานี้เลวร้ายลงด้วยระดับน้ำบาดาลในอินเดียได้ลดลงจากการสูบน้ำขึ้นมาใช้เพื่อการประปาและเกษตรกรรม[21] นอกจากนี้ยังมีปัญหาแหล่งน้ำปนเปื้อนด้วยขยะหรือสารเคมีที่ถูกทิ้งอย่างไม่เป็นระบบประกอบด้วย[21]

ปัญหาสุขภาพสตรี

[แก้]

ปัญหาสำคัญของสุขภาพสตรีอินเดียคือการเข้าไม่ถึงการทำคลอดโดยผู้ที่มีทักษะ รวมถึงจำนวนการดูแลทางสูตินรีเวชที่ไม่เพียงพอในประเทศ นอกจากนี้ มีคุณแม่อินเดียเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ที่ได้รับ complete antenatal care และเพียง 58 เปอร์เซ็นต์ได้รับยาพวก iron หรือ folate tablets or syrup อย่างครบถ้วน[17]

สาธารณสุขในพื้นที่ชนบท

[แก้]

ประชากรของประเทศอินเดีย 68% อาศัยอยู่ในเขตชนบท[23] ครึ่งหนึ่งของประชากรในชนบทนี้อาศัยอยู่ในความยากจนต่ำกว่าขีดเส้นความยากจน ซึ่งส่งผลให้เป็นเรื่องยากในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสม[24] ปัญหาสุขภาพในชนบทนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่มาลาเรียไปจนถึงมะเร็ง[25]

สาธารณสุขในพื้นที่เขตเมือง

[แก้]

โครงการริเริ่ม[26]

[แก้]

โครงการการศึกษาด้านสุขภาพ

[แก้]

ถึงแม้รัฐบาลอินเดียจะมีความพยายามในการเริ่มโครงการเกี่ยวกับการศึกษาด้านสุขภาพทั้งในชนบท เขตเมือง และสลัม แต่นักวิชาการต่างชาติมีความเห็นว่าโครงการเช่น ปฏิบัติการสุขภาพในชนทบทแห่งชาติ (National Rural Health Mission; NRHM) หรือ ปฏิบัติการสุขภาพในเขตเมืองแห่งชาติ (National Urban Health Mission; NUHM) ล้วนมีผลกระทบเพียงในระยะสั้น[27] ตัวอย่างสำคัญคือโครงการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติ (National Immunization Programme) ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในสลัมเพื่อลดการแพร่เช้อโรคติดต่อ ซึ่งงานวิจัยพบว่าโครงการนี้ได้ผลเพียงจำกัด เนื่องด้วยประชากรในสลัมยังขาดความเข้าใจในความจำเป็นต่อการมีภูมิคุ้มกัน[28] สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลอินเดียจะต้องมีความพยายามในการสร้างโ๕รงการที่จะช่วยสร้างการรักษาโรคแบบป้องกันในชุมชนสลัมในระยะยาวให้เกิดขึ้น[29]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. National Family Health Survey - 4, State Fact Sheet - Kerala.[ลิงก์เสีย]
  2. National Family Health Survey - 4, State fact sheet - Uttar Pardesh.[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 National Health Profile 2017. Central Bureau of Health Intelligence.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 Rosling. "Gapminder".
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :6
  6. Rieff, David (11 October 2009). "India's Malnutrition Dilemma". Source: The New York Times 2009. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  7. 7.0 7.1 "Malnutrition in India Statistics State Wise". Save the Children. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-06.
  8. "Child malnutrition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2014.
  9. 9.0 9.1 9.2 http://ninindia.org/DietaryGuidelinesforNINwebsite.pdf เก็บถาวร 2018-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Dietary Guidelines for NIN
  10. "Dengue". Source: Centers for Disease Control and Prevention US. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  11. Goldwert, Lindsay. "‘Totally drug-resistant’ tuberculosis reported in India; 12 patients have not responded to TB medication." เก็บถาวร 2013-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New York Daily News 16 January 2012.
  12. "HIV/AIDS". Source: UNICEF India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  13. "Life Expectancy and Mortality in India". Source: The Prajnopaya Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  14. "Health Conditions". Source: US Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  15. "India marks one year since last polio case." Al Jazeera, 13 January 2012.
  16. "National Portal of India".
  17. 17.0 17.1 "FAQs – UNICEF". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
  18. 18.0 18.1 "Childhood Mortality and Health in India" (PDF). Source: Institute of Economic Growth University of Delhi Enclave North Campus India by Suresh Sharma. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  19. "Maternal & Child Mortality and Total Fertility Rates" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
  20. Robinson, Simon (1 May 2008). "India's Medical Emergency". Source: Time US. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-26. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 "Water, Environment and Sanitation". Source: UNICEF India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-16. สืบค้นเมื่อ 2011-09-20.
  22. 22.0 22.1 "Initiatives: Hygiene and Sanitation". Source: Sangam Unity in Action. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2011.
  23. "RURAL URBAN DISTRIBUTION OF POPULATION" (PDF).
  24. Urban Rural Population of India. Indiafacts.in. Retrieved on 2012-07-17.
  25. JSS – The Bitter Truth About Rural Health เก็บถาวร 25 เมษายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Jssbilaspur.org. Retrieved on 2012-07-17.
  26. "Ministry of Health and Family Welfare - India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30.
  27. Nolan, Laura B. (March 2015). "Slum Definitions in Urban India: Implications for the Measurement of Health Inequalities". Population and Development Review (ภาษาอังกฤษ). 41 (1): 59–84. doi:10.1111/j.1728-4457.2015.00026.x. PMC 4746497. PMID 26877568.
  28. Singh, Sanjeev; Sahu, Damodar; Agrawal, Ashish; Vashi, Meeta Dhaval (July 2018). "Ensuring childhood vaccination among slums dwellers under the National Immunization Program in India - Challenges and opportunities". Preventive Medicine (ภาษาอังกฤษ). 112: 54–60. doi:10.1016/j.ypmed.2018.04.002. PMID 29626558.
  29. Lilford, Richard J; Oyebode, Oyinlola; Satterthwaite, David; Melendez-Torres, G J; Chen, Yen-Fu; Mberu, Blessing; Watson, Samuel I; Sartori, Jo; Ndugwa, Robert (February 2017). "Improving the health and welfare of people who live in slums" (PDF). The Lancet (ภาษาอังกฤษ). 389 (10068): 559–570. doi:10.1016/S0140-6736(16)31848-7. PMID 27760702.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]