Office of the Prime Minister | |
ตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ เครื่องหมายราชการแห่งสำนักนายกรัฐมนตรี[1] | |
ทำเนียบรัฐบาล | |
ภาพรวมสำนัก | |
---|---|
ก่อตั้ง | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 |
สำนักก่อนหน้า |
|
ประเภท | กระทรวง |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10300 |
งบประมาณต่อปี | 25,912,953,700 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
รัฐมนตรี | |
ฝ่ายบริหารสำนัก |
|
ต้นสังกัดสำนัก | รัฐบาลไทย |
ลูกสังกัดสำนัก | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี |
เชิงอรรถ | |
สำนักนายกรัฐมนตรีไม่เป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง |
สำนักนายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: Office of the Prime Minister) เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเป็นกระทรวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476[4] โดยมีการจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน และกรมภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ไว้ 6 หน่วยงาน คือ
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อสำนักนายกรัฐมนตรีเป็น "สำนักคณะรัฐมนตรี" อยู่ระยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2497 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
จนกระทั่งมีการแต่งตั้งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 คือ พันเอก หลวงวิจิตรวาทการ[5]
แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 แต่ก็มิได้กำหนดให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสถาปนา เนื่องจากได้ถือตามความเป็นจริงว่าส่วนงานของนายกรัฐมนตรีได้ถือกำเนิดขึ้น ตามการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนแรกโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย สำนักนายกรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 28 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[6] โดยได้กำหนดให้สีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สีดำ[7]
สำนักนายกรัฐมนตรี มีส่วนราชการ 3 ส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม