สุรินทร์ พิศสุวรรณ

สุรินทร์ พิศสุวรรณ
สุรินทร์ พิศสุวรรณในปี 2548
เลขาธิการอาเซียน คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2551 – 1 มกราคม พ.ศ. 2556
(5 ปี 0 วัน)
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าออง เค็ง ยอง
ถัดไปเล เลือง มิญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3 ปี 3 เดือน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
(2 ปี 7 เดือน 20 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสมบัติ ศรีสุรินทร์
ถัดไปประชา คุณะเกษม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ระบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
(3 ปี 11 เดือน 30 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2492
อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
เสียชีวิต30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (68 ปี)
โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม[5]
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2529–2560)
คู่สมรสอลิสา พิศสุวรรณ (ฮัจยะห์อาอีซะฮ์)[1][2]
บุพการี
  • ฮัจยี อิสมาแอล พิศสุวรรณ (บิดา)
  • ซอฟียะห์ พิศสุวรรณ (มารดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Ph.D.)[3][4]
อาชีพนักการเมือง
นักการทูต

ศาตราจารย์พิเศษ สุรินทร์ พิศสุวรรณ (มลายู: Tansri Surin Abdul Halim bin Ismail Pitsuwan, สุรินทร์ อับดุลฮาลิม บิน อิสมาอิล พิศสุวรรณ[6][7] (28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และ เลขาธิการอาเซียน วาระ พ.ศ. 2551 ถึง 2556 เป็นเลขาธิการอาเซียนชาวไทยคนที่ 2

ประวัติ

[แก้]

สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมต้นจาก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และระดับมัธยมปลายจาก โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จากนั้น สุรินทร์ ได้เข้าศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นเดียวกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522)[2] เขาสมรสกับ นางอลิสา พิศสุวรรณ มีบุตรชาย 3 คน ได้แก่ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ฮุสนี พิศสุวรรณ และ ฟิกรี่ พิศสุวรรณ

สุรินทร์ พิศสุวรรณ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน สิริอายุได้ 68 ปี[8] โดยมีพิธีฝังศพตามหลักศาสนาอิสลาม ที่มัสยิดท่าอิฐ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การทำงาน

[แก้]

เขาเริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529 และ ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์, ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[9] พ.ศ. 2556 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติแต่งตั้งให้ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[10][11]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 8 สมัย (แบบแบ่งเขต 7 สมัย, แบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย) เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529 - 2531) ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2538[12] และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550[13]

รางวัลและเกียรติยศ

[แก้]
  • พ.ศ. 2532 รับพระราชทานยศเป็น "นายกองตรี" แห่งกองอาสารักษาดินแดน[14]
  • พ.ศ. 2533 รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "นายกองโท" แห่งกองอาสารักษาดินแดน[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หลังบ้านอาเซียนบุกครัวไทย
  2. 2.0 2.1 "สุรินทร์ พิศสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-17.
  3. การศึกษา ดร.สุรินทร์[ลิงก์เสีย]
  4. ด่วน! ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาฯ อาเซียนถึงแก่อนิจกรรมแล้ว
  5. ผู้แทนพระองค์อัญเชิญดินพระราชทาน ฝังศพ "สุรินทร์ พิศสุวรรณ"
  6. "IDB 1440H Vision Commission Members". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  7. Latar Belakang Dr Surin Pitsuwan[ลิงก์เสีย]
  8. "สุรินทร์ พิศสุวรรณ" หัวใจวายเฉียบพลันถึงแก่กรรม
  9. ผู้แทนพระองค์อัญเชิญดินพระราชทาน ฝังศพ "สุรินทร์ พิศสุวรรณ"
  10. มธ. แต่งตั้ง "ธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3"
  11. "มธ. แต่งตั้ง "ธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-07. สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  13. Dr.Surin Pitsuwan Named Secretary-General of ASEAN 2008-2012 (อังกฤษ)
  14. รับพระราชทานยศเป็น "นายกองตรี" แห่งกองอาสารักษาดินแดน
  15. รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "นายกองโท" แห่งกองอาสารักษาดินแดน
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑, ๑ มีนาคม ๒๕๔๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๕, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  22. "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.

บรรณานุกรม

ก่อนหน้า สุรินทร์ พิศสุวรรณ ถัดไป
ออง เค็ง ยอง เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1 มกราคม พ.ศ. 2551 – 1 มกราคม พ.ศ. 2556)
เล เลือง มิญ
ประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 53)
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย