ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลจังหวัดตรัง (TRANG FC) | ||
---|---|---|---|
ฉายา | พะยูนพิฆาต | ||
ก่อตั้ง | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 | ||
สนาม | สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง | ||
ความจุ | 4,000 ที่นั่ง | ||
ประธาน | ธวัช อุยสุย | ||
ผู้จัดการ | พงศักดิ์ เพชรฤทธิ์ | ||
ผู้ฝึกสอน | โรจน์ คงชูผล | ||
ลีก | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้, อันดับที่ 12 (ตกชั้น) | ||
|
สโมสรฟุตบอลตรัง เป็นสโมสรฟุตบอลสมัครเล่นจากภาคใต้ของประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดตรัง แข่งขันในไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคใต้
ความเป็นมาของฟุตบอลจังหวัดตรังนั้นมีประวัติยาวนานเป็นศตวรรษ โดยเรียกการเล่นฟุตบอลในสมัยนั้นตามภาษาถิ่นใต้ว่า ‘ฉัดโกล’ ซึ่งแปลว่าเตะเข้าประตู มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญคือ ‘ฟุตบอลงานฉลองรัฐธรรมนูญ’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ฟุตบอลงานเฉลิมพระชนมพรรษา’ ตามชื่องานประจำจังหวัด ฟุตบอลรายการดังกล่าวเป็นแหล่งรวมนักเตะดาวดังทั่วประเทศ จากนั้นราวปี 2510 วงการฟุตบอลจังหวัดตรังก็ได้เปลี่ยนโฉมมีการนำฟุตบอลสมัยใหม่มาใช้ในการเล่น โดยการสนับสนุนของนายวิลเลียม เชาว์ชูเวช ผู้จัดการโรงเรียนยุวราษฎร์ หรือ โรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษาในปัจจุบัน ที่ได้นำผู้ฝึกสอนระดับประเทศมาช่วยพัฒนา ก่อนที่จังหวัดตรังจะมีผู้ฝึกสอนระดับตำนานนั้นก็คือ ‘ฉลวย ผกาวรรณ’ ฟุตบอลจังหวัดตรังโด่งดังสุดขีดเมื่อสามารถคว้าแชมป์กีฬาเขต ครั้งที่ 13 ที่จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2522 หรือกีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน จากนั้นก็ได้ทำการแข่งขันฟุตบอลรายการ ‘ไทยซ็อกเกอร์ลีก’ ก็สามารถคว้าอันดับที่ 4 มาครองได้ โดยอันดับที่ 1 ถึง 3 เป็นทีมระดับสโมสรยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น ประจวบเหมาะกับการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ก็ได้เกิดขึ้นเป็นปีแรก มีทีมจากภาคใต้แข่งขันกันอย่างคึกคักจนเกิดกระแสฟีเวอร์ภายในจังหวัดต่างๆ ทว่าในจังหวัดตรังเองกลับไม่ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน
จนฤดูกาล 2010 “ตรัง เอฟซี” จึงเข้าร่วมแข่งขันโดยมี ธัญญา โพธิ์วิจิตร หรือเป็ด เชิญยิ้ม เป็นประธานสโมสร พร้อมด้วยแนวร่วมอย่าง ถวัลย์ พรหมมา, สมโภช รุ่งเชวง, วิถี สุพิทักษ์, พงษ์ศักดิ์ เพชรฤทธิ์, วีระ เชาว์กิจค้า, ปราโมทย์ ชลวิศิษฏ์, สมพร เชียรวิชัย, ถาวร เย่าตั๊ก, วรยุทธิ์ วุฒิงาม รวมถึงผู้ทรงคุณภายในจังหวัดตรังเป็นที่ปรึกษาอีกหลายคน ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า บริษัท สโมสรฟุตบอลตรัง 2010 จำกัด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2552 เพื่อส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 2 ภูมิภาค
สำหรับความพร้อมของทีมนั้น ก็ได้ทาง ชัยวัฒน์ สุนทรนนท์ อดีตนักเตะทีมชาติไทย ซึ่งเป็นลูกหลานชาวตรังพันธุ์แท้เข้ามานั่งเป็นเฮดโค้ชเพื่อสานความสำเร็จมาสู่ทีม มีการเปิดคัดเลือกตัวนักเตะภายในจังหวัดขึ้นตามนโยบายของประธาน เป็ด เชิญยิ้ม ที่ต้องการเปิดโอกาสให้กับนักเตะบ้านเกิดท้องถิ่นชาวตรังมีส่วนร่วมกับการแข่งขันครั้งนี้ ทว่าเพื่อความแข็งแกร่งของทีมก็ได้รับการเปิดเผยจากประธาน ตรัง เอฟซี ว่า อาจจะต้องเพิ่มเติมในส่วนของผู้เล่นที่มากประสบการณ์เข้าไปประคองทีมด้วย ซึ่งอาจจะมีการดึงนักเตะจากทีมการท่าเรือไทย เอฟซี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทีมเสริมทัพ ทั้งตัวไทยและต่างชาติ [1]
สโมสรฟุตบอลจังหวัดตรัง ใช้สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง ขนาด 4,000 ที่นั่ง เป็นสนามเหย้า สำหรับสนามกีฬาเทศบาลนครตรังจากการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาแห่งชาติ ความสวยงามบรรยากาศภายนอกของสนามและคุณภาพภายในสนามแข่งขัน โดยอัฒจันทร์ที่นั่ง ทั้งฝั่งมีหลังคาจุแฟนบอลได้กว่า 1,500 คน และฝั่งกระถางคบเพลิงที่รองรับแฟนบอลได้กว่า 2,000 คน และมีรั้วรอบขอบชิด
ส่วนห้องรับรองต่างๆ ทั้งห้องพักนักกีฬา ห้องกรรมการ และห้องรับรองแขกวีไอพี ทุกอย่างอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน มีความสะอาดดูแลอย่างดี และนอกจากสนามกีฬาเทศบาลจังหวัดตรังที่จะใช้เป็นสนามเหย้าหลักแล้ว ทางทีมตรัง เอฟซี ยังมีสนามทุ่งแจ้ง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางถนนตรัง-สิเกา ประมาณ 2 กม. สำรองเอาไว้อีกสนามด้วย หากว่าสนามกีฬาเทศบาลมีปัญหาทันทีเช่นกัน นอกจากนี้แล้วทีม ตรัง เอฟซี ยังมีสนามฝึกซ้อมเป็นของตัวเองเอาไว้ใช้งาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณเกือบ 20 กม.ไปทางอำเภอย่านตาขาว[2]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | ||||
2562 | ไทยลีก 3 ตอนล่าง | 26 | 11 | 8 | 7 | 31 | 27 | 41 | อันดับที่ 4 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบสอง | – | Willian Sarôa | 5 |
2563–64 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 16 | 7 | 5 | 4 | 19 | 13 | 26 | อันดับที่ 6 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | ภุชเคนทร์ จันแดง | 7 |
2564–65 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 24 | 10 | 9 | 5 | 27 | 20 | 39 | อันดับที่ 6 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | – | อานนท์ ปานมีทอง | 6 |
2565–66 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 6 | 3 | 13 | 25 | 54 | 21 | อันดับที่ 11 | ไม่ได้เข้าร่วม | รอบคัดเลือกรอบแรก | – | ฮัน ยุน-ซู | 4 |
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนภาคใต้ | 22 | 3 | 3 | 16 | 8 | 58 | 12 | อันดับที่ 12 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | ตีอากู บาร์รูเตรู อับดุลวาริส เพียรสกุล |
2 |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |