หมึกแคระ | |
---|---|
![]() | |
Idiosepius pygmaeus | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Mollusca |
ชั้น: | Cephalopoda |
อันดับ: | Sepiolida |
วงศ์: | Idiosepiidae Appellöf, 1898 |
สกุล: | Idiosepius Steenstrup, 1881 |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
หมึกแคระ (อังกฤษ: Pygmy squid) เป็นเซฟาโลพอดจำพวกหมึกหูช้างกลุ่มหนึ่ง ในวงศ์ Idiosepiidae และสกุล Idiosepius
นับเป็นหมึกที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เมื่อโตเต็มที่เพศเมียมีความยาวลำตัว 1-3 เซนติเมตร ส่วนเพศผู้ 0.5-1.5 เซนติเมตรเท่านั้น พบในบริเวณชายฝั่ง, ป่าชายเลน, แหล่งสาหร่ายทะเล และแหล่งหญ้าทะเล พฤติกรรมมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างยิ่งที่ไม่พบในปลาหมึกชนิดอื่น กล่าวคือ สามารถเกาะติดอยู่อยู่กับวัสดุต่าง ๆ โดยใช้อวัยวะพิเศษ บนส่วนหลังของลำตัว กินอาหารพวกครัสเตเชียนขนาดเล็ก วงจรชีวิตประมาณ 3 เดือน ปัจจุบันสามารถเลี้ยงเพาะพันธุ์ได้แล้วในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ วางไข่ประมาณ 100 ฟองต่อตัว ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกหมึกแรกเกิด มีการดำรงชีวิตแบบกลางน้ำ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย[2] [3]
ปัจจุบัน มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 8 ชนิด คือ