อักษรมอญ

อักษรมอญ
ชนิด
ช่วงยุค
พุทธศตวรรษที่ 11 (คริสต์ศตวรรษที่ 6) –ปัจจุบัน
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษามอญ
อักษรที่เกี่ยวข้อง
ระบบแม่
ระบบลูก
อักษรพม่า
อักษรไทใหญ่
อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมลาว
อักษรไทลื้อ
ยูนิโคด
ช่วงยูนิโคด
U+1000–U+109F Myanmar
U+AA60–U+AA7F Myanmar Ext-A
U+A9E0–U+A9FF Myanmar Ext-B
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

อักษรมอญ (มอญ: အက္ခရ်မန်, အခဝ်မန်; พม่า: မွန်အက္ခရာ) เป็นตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ผ่านทางอักษรปัลลวะ และเป็นแม่แบบของอักษรอื่น เช่น อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรล้านนา อักษรไทลื้อ และอักษรธรรมที่ใช้เขียนคัมภีร์ในอักษรธรรมล้านนาและอักษรธรรมลาว อักษรมอญ เป็นอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรพม่ามาก และสามารถนำไปใช้แทนอักษรพม่าได้ทุกตัว แต่อักษรพม่าไม่สามารถใช้แทนอักษรมอญได้ทุกตัว เพราะอักษรมอญมีตัวอักษรที่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าปกติ

ประวัติ

[แก้]

อักษรมอญโบราณ (มอญ: မအခဝ်လိက်မန်တြေံ) พัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ พบจารึกอักษรนี้ในเขตหริภุญชัย เช่นที่ จารึกแม่หินบดเวียงมะโน[2] เวียงเถาะ อักษรมอญถูกพัฒนาขึ้นใช้ก่อนอักษรขอม และแตกต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้เช่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วนอักษรขอมเปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย

อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบที่จังหวัดนครปฐม ในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบอุษาคเนย์ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร[3] อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14–15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ[4]

สมัยกลาง

[แก้]
อักษรมอญเก่า 35 ตัว
  1. จารึกในประเทศพม่าภาคเหนือ ส่วนมากได้จากเมืองพะขัน และเมืองแปร ศิลาจารึกเหล่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พุกามประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก
  2. ศิลาจารึกพบที่วัดมหาวันจังหวัดลำพูน ลักษณะอักษรเป็นจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนจารึกเมียเซดี ของพระเจ้าจานสิตา กษัตริย์พุกาม ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน[5]
  3. จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว) จารึกหลักนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยบัญชีทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ระบุว่าพบจารึกดังกล่าวที่วัดดอน ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ในบริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[6]
  4. จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด) พบที่ฐานพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดจามเทวีหรือกู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[7]
  5. จารึกธรรมมิกราชา พบจารึกดังกล่าวที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว) และจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด) ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17[8]
  6. จารึกวิหารโพธิ์ลังกา พบจารึกหลักนี้ที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 พบว่าภาษาที่ใช้ในจารึกมีทั้งภาษามอญโบราณและพม่าโบราณ โดยมีคำบาลีสันสกฤตปะปน สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19[9]
  7. จารึกในประเทศพม่าตอนใต้ เป็นจารึกของพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ. 2003–2034)

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16–17 ตัวอักษรมอญแบบปัลลวะได้คลี่คลายมาเป็นตัวอักษรสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าอักษรมอญโบราณและเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนกลายเป็นอักษรมอญปัจจุบันซึ่งมีลักษณะกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน

อักษรมอญและพม่า
พยัญชนะมอญและพม่า
က (k) (hk) (g) (gh) (ng)
(c) (hc) (j) (jh) (ny)
(t) (ht) (d) (dh) (n)
(t) (ht) (d) (dh) (n)
(y) (r) (l) (w) (s)
(h) (l) (b)* (a) (b)*
สระลอยพม่า
အ (a) ဣ (i) ဤ (ii) ဥ (u) ဦ (uu)
ဧ (e) ဩ (o) ဪ (au)
สระลอยมอญ
အ (a) အာ (aa) ဣ (i) (ii)*
ဥ (u) ဥႂ (uu) ၉ (e) အဲ (ua) ဩ (au)
(aau)* အံ (aom) အး (a:)
สระประสม
ဢာ (aa) ဢိ (i) ဢီ (ii) ဢု (u) ဢူ (uu)
ေဢ (e) ဢဲ (ua) ေဢာ (au)
เครื่องหมาย และอักขระพิเศษ
ဢံ (อนุนาสิก) ဢ့ (อนุสวาร)
ဢး (Visarga) ဢ္ (Virama)
၊ (Little Section) ။ (Section)
၌ (Locative) ၍ (Completed)
၏ (Genitive) ၎ (Aforementioned)
ၐ (sha) ၑ (ssa) ၒ (r) ၓ (rr) ၔ (l)
ၕ (ll) ၖ (r) ၗ (rr) ဢၘ (l) ဢၙ (ll)
ตัวเลข
၀၁၂၃၄၅၆၇၈၉ ดูที่เลขมอญ และเลขพม่า
* มีใช้เฉพาะในภาษามอญ ไม่มีในชุดอักษรพม่า
????? หน้านี้มีตัวอักษรพม่าที่อาจจะไม่แสดงผล ควรติดตั้งฟอนต์ยูนิโคด 5.1 สำหรับอักษรพม่า

สมัยปัจจุบัน

[แก้]
  • ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน

ลักษณะ

[แก้]

พยัญชนะแบ่งเป็น 2 ชุดคือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ เสียงขุ่น) พื้นเสียงเป็นอะ พยัญชนะเสียงก้อง (โฆษะ เสียงใส) พื้นเสียงเป็นเอียะ เมื่อประสมสระ พยัญชนะต่างชุดกันออกเสียงต่างกัน มีรูปพยัญชนะซ้อน เมื่อเป็นตัวควบกล้ำ

ยูนิโคด

[แก้]

อักษรมอญในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรมอญเพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ

พม่า
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+100x က
U+101x
U+102x
U+103x
U+104x
U+105x
U+106x
U+107x
U+108x
U+109x
พม่า ส่วนขยาย-A[1]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+AA6x
U+AA7x ꩿ
พม่า ส่วนขยาย-B[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+A9Ex
U+A9Fx


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. Aung-Thwin 2005: 157
  2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกแม่หินบดเวียงมะโน". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  3. ตรงใจ หุตางกูร, วชรพร อังกูรชัชชัย, ดอกรัก พยัคศรี, บ.ก. (24 มิถุนายน 2021). "จารึกวัดโพธิ์ร้าง". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  4. ตรงใจ หุตางกูร (บ.ก.). "จารึกเสาแปดเหลี่ยม (ลพบุรี)". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2016.
  5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (15 กรกฎาคม 2021). "จารึกวัดมหาวัน (ลำพูน)". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 1 (วัดดอนแก้ว)". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ 2 (วัดกู่กุด)". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (14 กรกฎาคม 2021). "จารึกธรรมมิกราชา". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
  9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, บ.ก. (15 กรกฎาคม 2021). "จารึกวิหารโพธิ์ลังกา". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
บรรณานุกรม
  • พวน รามัญวงศ์ (2005). พจนานุกรมมอญ-ไทย ฉบับมอญสยาม. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. ISBN 978-974-323-544-3.
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ (2005). อักษรไทย มาจากไหน. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. ISBN 978-974-323-547-4.
  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-824-82886-8.
  • Bauer, Christian (1991). "Notes on Mon Epigraphy". Journal of the Siam Society. 79 (1): 35. ISSN 0304-226X.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. p. 136. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Stadtner, Donald M. (2008). "The Mon of Lower Burma". Journal of the Siam Society. 96: 198. ISSN 0304-226X.
  • Sawada, Hideo (พฤษภาคม–มิถุนายน 2013). Some Properties of Burmese Script (PDF). 23rd Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 1–36. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017.
  • Jenny, Mathias (กรกฎาคม 2015). Foreign Influence in the Burmese Language (PDF). International Conference on Burma/Myanmar Studies Burma/Myanmar in Transition: Connectivity, Changes and Challenges. Chiangmai, Thailand. pp. 1–21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]