ศรีกฤษณมฐะ อุฑุปิ | |
---|---|
ಉಡುಪಿ ಶ್ರೀ ಕೃಷ್ಣ ದೇವಸ್ಥಾನ | |
ราชรถระหว่างเทศกาลของเทวาลัย บริเวณด้านหน้าศรีกฤษณมฐะ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เทพ | พระกฤษณะ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | อุฑุปิ |
รัฐ | กรณาฏกะ |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°19′56″N 74°44′46″E / 13.33222°N 74.74611°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | ทราวิฑ |
เสร็จสมบูรณ์ | ศตวรรษที่ 13 |
อุฑุปิศรีกฤษณมฐะ (อักษรโรมัน: Udupi Sri Krishna Matha) เป็นโบสถ์พราหมณ์เก่าแก่ที่บูชาพระกฤษณะและทไวตะ ในนครอุฑุปิ รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ ในบริเวณเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของอุฑุปิอนันเตศวรเทวาลัย ซึ่งเป็นเทวสถานเก่าแก่อีกแห่งเช่นกัน[1]
กฤษณมฐะสถาปนาขึ้นโดยสันตะไวษณวนิกายและผู้ริเริ่มปรัชญาทไวตเวทานตะ นามว่ามธวาจารยะ ในศตวรรษที่ 13 ว่ากันว่าท่านค้นพบเทวรูปของพระกฤษณะภายในก้อนดินเหนียว โคปีจันทนะ ขนาดใหญ่[2] ตามที่ปรากฏใน ตันตรสารสังครหะ (Tantrasara Sangraha) ท่านบันทึกไว้ว่าเทวรูปพระกฤษณะนั้นได้นำไปประดิษฐานหันออกทิศตะวันตก (เรียกว่าเป็น ปัศจิมาภิมุข; Pashchimabhimukha)[3]
ลักษณะโดดเด่นประการหนึ่งคือสำหรับผู้ที่จะทำการสักการะเทวรูปในเทวาลัยนี้ จะต้องทำผ่านหน้าต่างเคลือบเงินที่มีเก้ารู ซึ่งเรียกว่านวครหกินฑิ (Navagraha Kindi)[4]
ในเทศกาลปรยายะซึ่งจัดทุก ๆ สองปี จะมีการผลัดเปลี่ยนคณะบริหารเทวาลัยไปในกลุ่มอัษฏมฐะ โดยแต่ละมฐะนำโดยสวามี ในปี 2021 ถือเป็นการครบรอบการจัดพิธีนี้ครบ 500 ปี[5] ในปี 2021 มฐะที่รับตำแหน่งคืออาทมรุมฐะ[6]