เกาะกูด

กูด
เกาะกูด
เกาะกูดตั้งอยู่ในจังหวัดตราด
เกาะกูด
เกาะกูด
ที่ตั้งของเกาะกูดในจังหวัดตราด
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งอ่าวไทย
พิกัด11°39′N 102°32′E / 11.650°N 102.533°E / 11.650; 102.533
กลุ่มเกาะกลุ่มเกาะกูด
พื้นที่111.894 ตารางกิโลเมตร (43.203 ตารางไมล์)
การปกครอง
จังหวัดตราด
อำเภอเกาะกูด
ตำบลเกาะกูด
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา
รหัสไปรษณีย์23000
รหัสภูมิศาสตร์230602
ทะเบียนรถตราด

เกาะกูด เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะช้าง เกาะตะรุเตา และเกาะพะงัน ตั้งอยู่ในอ่าวไทย เป็นเกาะสุดท้ายแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด ส่วนหนึ่งของอำเภอเกาะกูดในจังหวัดตราด[1]

เกาะกูดมีเนื้อที่ 105 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 65,625 ไร่ ความยาวของเกาะ 25 กิโลเมตร ความกว้าง 12 กิโลเมตร เกาะยังมีสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ โดยมีภูเขาและที่ราบสันเขาซึ่งเป็นต้นกำเนิดลำธาร ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกที่ขึ้นชื่อคือ น้ำตกคลองเจ้า ที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ นับตั้งแต่อ่าวยายกี๋ หาดคลองเจ้า หาดอ่าวพร้าว อ่าวง่ามโข่ หาดอ่าวเบ้า หาดคลองหิน อ่าวพร้าวจนสุดปลายแหลมเทียน นอกจากนี้บนเกาะกูดยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด ภูมิประเทศเป็นภูเขาแทบทั้งเกาะ มียอดสูง 315 เมตร[2]

ประวัติ

[แก้]

เกาะกูดปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในเอกสารประวัติศาสตร์พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน ระบุว่า รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อองเชียงสือ เจ้าเมืองญวนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ หนีออกจากกรุงเทพมหานครมาลงเรือที่เกาะสีชัง จากนั้นแล่นเรือชักใบในอ่าวไทยมา 7 วันจึงถึงเกาะกูดที่ไม่มีคนอยู่เลย[3]

สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และพิธีสารแนบท้าย ค.ศ. 1907 ซึ่งไทยใช้เป็นหลักฐานในการปักปันเขตแดนกับกัมพูชา ระบุข้อความในข้อ 2 ว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม …"[4]

สถานที่สำคัญ

[แก้]

เกาะกูด เป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ

  1. น้ำตกคลองเจ้า น้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ซึ่งมีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกัน โดยเฉพาะชั้นล่างนั้น มีลักษณะเป็นลำธารจากน้ำตกขนาดใหญ่ น้ำตกคลองเจ้ายังเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ซึ่งครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2524 และได้ทรงพระราชทานนามว่า "น้ำตกอนัมก๊ก" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงองเชียงสือ กษัตริย์ญวนที่เคยลี้ภัยเข้ามาอาศัยแผ่นดินไทยในสมัยรัชกาลที่ 1
  2. ขายหาดในเกาะ ได้แก่ อ่าวตาติ้น หาดคลองยายกี๋ แหลมหินดำ หาดคลองเจ้า หาดง่ามโข่ แหลมบังเบ้า หาดอ่าวพร้าว แหลมเทียน อ่าวสับปะรด แหลมศาลา อ่าวยายเกิด อ่าวคลองหิน และอ่าวจาก
  3. หมู่บ้านคลองมาด หมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดบนเกาะกูด ชาวบ้านยังคงดำรงชีพพึ่งพิงเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และประมงชายฝั่ง[5]
  4. ศาสนสถานบนเกาะมีวัดราษฎร์บำรุง วัดอ่าวสลัด วัดอ่าวพร้าว

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cambodians jailed for brutal attack on French tourists on Koh Kut". Bangkok Post. AFP. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
  2. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๒ (อักษร ก-ธ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, ๒๕๕๙. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  3. "ประวัติตำบลเกาะกูด". กศน.ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด.
  4. "เกาะกูด : ข้อเท็จจริงจากหลักฐานและมุมมองทางประวัติศาสตร์".
  5. "เกาะกูด-การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)".