เครือข่ายไผ่ | |
---|---|
อธิบายสัญลักษณ์ | เครือข่ายไผ่ ภูมิภาคเกรตเตอร์ไชนา |
ประเทศและดินแดน | กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย |
นครสำคัญ | กรุงเทพมหานคร จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ มัณฑะเลย์ มะนิลา พนมเปญ สิงคโปร์ เวียงจันทน์ |
"เครือข่ายไผ่" (อังกฤษ: bamboo network; จีนตัวย่อ: 竹网; จีนตัวเต็ม: 竹網; พินอิน: zhú wǎng) เป็นคำที่ใช้วางมโนทัศน์เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจที่มีชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินการ[1][2] เครือข่ายธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลประกอบเป็นกลุ่มธุรกิจเอกชนที่ครอบงำมากที่สุดกลุ่มเดียวนอกเอเชียตะวันออก[3] เครือข่ายนี้เชื่อมโยงชุมชนธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์กับธุรกิจของเกรตเตอร์ไชนา (จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน)[4] ชาติพันธุ์จีนมีบทบาทนำในภาคธุรกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบงำเศรษฐกิจหลายประเทศ และเกิดเป็นอภิชนทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้[5][6][7][8][9][10][11] โดยมีบทบาทสำคัญต่อการคงชีวิตและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาค[12][13][14][15] ชาวจีนนั้นเป็นกลุ่มทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและชนกลุ่มน้อยที่มั่งคั่งเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว[16][17][18][19] ตั้งแต่เข้าคริสต์ศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคหลังอาณานิคมกลายเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจชาวจีนโพ้นทะเลเมื่อเครือข่ายไผ่เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่เป็นด่านหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขยายของจีนแผ่นดินใหญ่[20][19]
เมื่อชุมชนชาวจีนเติบโตและพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมยุโรป วาณิชและอาชีพค้าขายชาวจีนจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจที่ซับซ้อนเพื่อการเติบโตและการอยู่รอด เครือข่ายธุรกิจที่ซับซ้อนเหล่านี้มอบทรัพยากรสำหรับการสะสมทุน สารนิเทศการตลาดและการกระจายสินค้าและบริการระหว่างชุมชนธุรกิจจีนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[21] ธุรกิจจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติมีครอบครัวหนึ่งเป็นเจ้าของและมีรูปแบบการ มักมีครอบครัวเป็นเจ้าของและบริหารจัดการผ่านระบบประจำแบบรวมศูนย์[4][22] [23] ครอบครัวกลายเป็นจุดสำคัญของกิจกรรมธุรกิจของบริษัท และจัดหาทุน แรงงานและการจัดการ จุดแข็งของบริษัทครอบครัวอยู่ที่ความยืดหยุ่นในการตัดสินใจและความทุ่มเทและความภักดีของกำลังแรงงาน โดยปกติธุรกิจเหล่านี้จะได้รับการจัดการในลักษณะ ธุรกิจครอบครัว เพื่อลดต้นทุนค่าธุรกรรมส่วนหน้าเมื่อมีการส่งมอบบริษัทจากรุ่นสู่รุ่น [24] [25] [26] โดยทั่วไปบริษัทหลายแห่งแสดงจิตวิญญาณผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง ความเป็นเครือญาติ ความเป็นผู้นำเด็ดขาด สัญชาตญาณ ความตระหนี่และลีลาตัดสินใจรวดเร็ว ตลอดจนการจัดการแบบพ่อปกครองลูก (paternalistic) และสายคำสั่งเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องกัน[27] [3][28] ตามแบบบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันขนาดใหญ่ที่พบมากในประเทศเอเชียตะวันออกอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ [29] การค้าและการเงินนั้นถูกชี้นำต่อการขยายระบบกงสีตามประเพณี และมีการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ สิ่งนี้ส่งเสริมการสื่อสารพาณิชย์และการโอนทุนที่ลื่นไหลมากขึ้นในภูมิภาคที่ระเบียบทางการเงินและนิติธรรมยังมีการพัฒนาอยู่น้อยเป็นส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [30] เครือข่ายไผ่ยังเป็นเครือข่ายข้ามชาติ หมายความว่า การเปิดช่องทางการเคลื่อนย้ายทุน สารนิเทศ และสินค้าและบริการสามารถส่งเสริมความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพโดยสัมพัทธ์กันระหว่างข้อตกลงอย่างเป็นทางการและธุรกรรมที่ดำเนินการโดยบริษัทที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ[31] ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ของขงจื้อ "กวนซี่" ซึ่งเป็นคำภาษาจีนแปลว่า การเพาะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเพื่อเป็นส่วนประกอบของความสำเร็จทางธุรกิจ[32] [33] [34] เครือข่ายไผ่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นปรัชญาจีนโบราณตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชที่ส่งเสริมหลักกตัญญู (孝) และปฏิบัตินิยมในบริบทธุรกิจ[35] [36] [37] ลัทธิขงจื้อยังคงเป็นพลังทางปรัชญาที่มีความชอบธรรมในการคงอัตลักษณ์บรรษัทและสวัสดิการสังคมของบริษัท นอกจากนี้ ยังมีการระบุว่าการหล่อเลี้ยงกวนซี่เป็นสาเหตุให้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบร่วมมือในเครือข่ายไผ่[38] [39] สำหรับชาวจีน เครือข่ายที่เข้มแข็งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญของวัฒนธรรมธุรกิจของจีนเสมอมา ตามความเชื่อของลัทธิขงจื๊อว่าคนคนเดียวไม่สามารถอยู่รอดได้โดยลำพัง[1]
เครือข่ายไผ่เป็นรูปแบบองค์การเศรษฐกิจที่โดดเด่น ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการชาติพันธุ์จีน ผู้ค้า นักลงทุน นักการเงินและธุรกิจครอบครัว ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจที่ถักทออย่างใกล้ชิดค่อย ๆ ขยายตัวขึ้น และเข้ามามีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[40] เครือข่ายไผ่ยังก่อให้เกิดโครงสร้างตั้งต้นของบริษัท ตระกูลและหมู่บ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ครอบครัวและถิ่นกำเนิดของชาติพันธุ์โดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่ทั่วโลก[41] การมีมรดกทางชาติพันธุ์ร่วมกันภาษาที่ใช้ร่วมกันความผูกพันในครอบครัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลต้องทำธุรกิจร่วมกันมากกว่าที่จะทำธุรกิจร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [42] บริษัท ที่ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นเจ้าของเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจและครอบงำภาคธุรกิจเอกชนในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน [9][43][44]
คนเข้าเมืองชาวจีนที่เป็นผู้ประกอบการจำนวนมากถูกดึงดูดด้วยคำมั่นความมั่งมีและลาภทรัพย์มหาศาล ขณะที่คนเข้าเมืองอื่น ๆ ถูกผลักดันด้วยทุพภิกขภัยและสงคราม พ่อค้า ช่างมีมือและกรรมกรไร้ที่ดินชาวจีนข้ามทะเลมาเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่เพื่อค้นหาโชคชะตาทางการเงินของพวกตน[24] พวกเขาตั้งไชน่าทาวน์เพื่อสนับสนุนตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน แม้ว่าจะประสบความยากลำบากเหลือคณา แต่ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนจำนวนมากผุดขึ้นด้วยความมัธยัตถ์ ความฉลาดในเขิงธุรกิจ และไหวพริบการลงทุน ระเบียบวินัย การมีมโนธรรม และความมุมานะถีบตัวเองให้พ้นจากความยากจน ชาวจีนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนึกการเป็นผู้ประกอบการและการทำงานหนักเริ่มจากธุรกิจขนาดเล็ก เช่น ร้านซักรีด ร้านอาหาร ร้านของชำ ปั้มน้ำมัน และค่อย ๆ สร้างตนเป็นผู้ประกอบการ นักการเงิน และนายหน้าเต็มตัว ซึ่งเข้ามาคุมบ่อนการพนัน คาสิโนและอสังหาริมทรัพย์[45]
นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่ก่อรูปวงการธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีนิยายความสำเร็จจากยากจนมาร่ำรวย เช่น Robert Kuok นักธุรกิจชาวจีนชาวมาเลเซีย, Liem Sioe Liong มหาเศรษฐีพันล้านชาวอินโดนีเซีย และนักธุรกิจใหญ่ฮ่องกง Li Ka-shing ประวัติธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของ Robert Kuok นั้นคล้ายคลึงกับนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่มีชื่อเสียงหลายคนซึ่งปูทางให้ฉากธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงศตวรรษที่ 20 กลุ่มบริษัทของ Kuok นั้นประกอบด้วยเครือข่ายบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนที่ซับซ้อน ทรัพย์สินจำนวนมากของเขา เช่น Wilmar International บริษัทผู้ค้าน้ำมันปาล์ม, PPB Group Berhad โรงโม่น้ำตาลและแป้ง, เครือโรงแรมแชงกรี-ลาในฮ่องกง, บริษัทขนส่งทางเรือยักษ์ Pacific Carriers, บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Kerry Properties และเดิมยังมีผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (ภายหลังขายให้กับ อาลีบาบา[46]) คิดมูลค่ารวมประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] ผู้ประกอบการเหล่านี้จำนวนมากมีจุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อยและมีความมั่งคั่งเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย สร้างธุรกิจจากศูนย์และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจท้องถิ่นไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มได้รับความมั่งคั่งและสร้างความมั่งคั่งจากธุรกิจที่ไม่น่าสนใจ เช่น ร้านขายน้ำตาลที่หัวมุมถนนในมาเลเซีย ร้านก๋วยเตี๋ยวหมู่บ้านในอินโดนีเซีย และเปิดโรงงานผลิตดอกไม้พลาสติกในฮ่องกง ต่อมา หลายคนเข้ามาประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และนำกำไรมาลงทุนในธุรกิจที่ดูทำกำไร[3] ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้จำนวนมากพัฒนาไปสู่กลุ่มบริษัทขนาดมหึมา ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายที่จัดอยู่ในบริษัทลูกที่มีความหลากหลายสูงนับสิบแห่ง[43] ในยุคโลกาภิวัตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้ปรับการดำเนินธุรกิจในประเทศของพวกตนให้เข้ากับโลภาภิวัฒน์อย่างแข็งขัน และวางตนเป็นผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจที่หลากหลายในระดับโลก เช่น บริการการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การผลิตเครื่องนุ่งห่ม และเครือโรงแรม[47] ทำให้มีอาณาจักรธุรกิจจีนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ทวีปเอเชียไปจนถึงประเทศเม็กซิโก[48] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้เล่นหลักในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ตั้งธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [49] [50] [9] [19] กิจกรรมทางธุรกิจส่วนใหญ่ของเครือข่ายไม้ไผ่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ ของภูมิภาค เช่น มัณฑะเลย์ จาการ์ตา สิงคโปร์ กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ นครโฮจิมินห์ และมะนิลา[51]
เครือข่ายไผ่ของจีนในต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการชุบชีวิตพาณิชย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังยุคอาณานิคมกลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ชาวจีนครองชีวิตการค้าและการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและเจริญรุ่งเรืองกว่าชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานหลายร้อยปีก่อนยุคอาณานิคมยุโรปเสียอีก[52] [53]
อิทธิพลพาณิชย์ของพ่อค้าวาณิชชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นอย่างน้อย เมื่อมีการส่งคณะทูตอย่างเป็นทางการไปยังประเทศต่าง ๆ ในทะเลใต้ ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่โดดเด่นและมั่นคงได้กลายเป็นลักษณะประจำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในเมืองท่าสำคัญของอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม[54] กว่า 1500 ปีที่แล้ว พ่อค้าชาวจีนเริ่มแล่นเรือไปทางใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อค้นหาโอกาสทางการค้าและความมั่งคั่ง พื้นที่เหล่านี้เรียกว่า หนานหยางหรือทะเลใต้ ผู้ที่ออกจากจีนจำนวนมากเป็นชาวจีนฮั่นใต้ที่ประกอบด้วยชาวฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง แคะ และไหหลำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากจังหวัดชายฝั่งทางตอนใต้ของจีน หลัก ๆ คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และไหหลำ[55] ชาวจีนตั้งด่านค้าขายเล็ก ๆ ซึ่งในเวลาต่อมาเติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนได้เข้าควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรอบหลายศตวรรษที่ผ่านมา ช่วงเวลาการอพยพออกจากจีนอย่างหนักจะส่งคลื่นชาวจีนเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปกติมักประจวบกับสภาพที่ย่ำแย่มากเป็นพิเศษ เช่น ความขัดแย้งของราชวงศ์ครั้งใหญ่ การก่อการกำเริบทางการเมือง ทุพภิกขภัย และการรุกรานบ้านเกิด[56] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือจีน เจิ้งเหอ ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อ นำกองเรือจำนวน 300 ลำไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างการเดินทางสมบัติหมิง[53] ในระหว่างการสำรวจทางทะเลของเขาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจิ้งค้นพบดินแดนชาวจีนโพ้นทะเลที่เจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วบนเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ การค้าต่างประเทศในอาณาจักร Tabanan ในอินโดนีเซียปัจจุบัน ดำเนินการโดยชาวจีนที่ร่ำรวยเพียงคนเดียวในตำแหน่งที่เรียกว่า subandar ซึ่งผูกขาดให้เจ้าเพื่อแลกกับบรรณาการจำนวนพอควรโดยมีชาวจีนด้วยกันเองเป็นนายหน้า[57] [58]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1500 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนที่พวกเขาได้พัฒนาเครือข่ายไผ่ในเชิงยุทธศาสตร์ที่ก้าวข้ามพรมแดนของประเทศ[9] ชาวจีนเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทำการค้าเพียงกลุ่มเดียวในหลาย ๆ กลุ่ม รวมทั้งคุชราตอินเดีย เชตเทียร์ โปรตุเกส และญี่ปุ่น จนถึงกลางศตวรรษที่ 17 ต่อจากนั้น ความเสียหายต่อเครือข่ายการค้าของคู่แข่งอย่างอังกฤษและดัตช์ในมหาสมุทรอินเดียทำให้ชาวจีนผู้คิดริเริ่มเข้าสวมบทบาทที่ญี่ปุ่นเคยครอบครองในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1630 ในไม่ช้า ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายเป็นผู้ซื้อและผู้ขายที่ขาดไม่ได้แต่เพียงผู้เดียวให้กับบริษัทยุโรปขนาดใหญ่[59] เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1700 ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยทางการค้าที่ไม่มีใครเทียบได้ในทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค[60][54][61] การทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เปิดรับคนเข้าเมืองชาวจีนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจีนตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใหญ่ที่สุดคือ ฮักกาจากฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง[62] [7] การเพิ่มขึ้นอย่างมากของประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นในช่วงกลางคิรสต์ศตวรรษที่ 18[63] ผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนจากทางตอนใต้ของจีนตั้งรกรากในกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน และเวียดนาม[35] ในจำนวนนี้บ้างก่อตั้งสาธารณรัฐที่มีเอกสารอย่างดีอย่างน้อยหนึ่งแห่งในฐานะรัฐสาขาในสมัยราชวงศ์ชิง คือ สาธารณรัฐหลานฟาง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1777 ถึง 1884 ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองจีน ใน ค.ศ. 1949 ซึ่งบังคับให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องอพยพออกนอกประเทศจีนทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายไผ่จีนโพ้นทะเล[51][43] [64]
ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยครอบงำมีอำนาจทางเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลไม่ได้สัดส่วนทั่วทั้งภูมิภาคเมื่อเทียบกับประชากรที่มีขนาดเล็ก[65] [66] [67] [16][68] [69] [70] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลมีบทบาทนำและครองการค้าและอุตสาหกรรมในทุกระดับของสังคม[71] มีประชากรไม่ถึงร้อยละ 10 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าชาวจีนโพ้นทะเลจะควบคุมการค้าปลีกในภูมิภาคถึงสองในสาม และถือหุ้นร้อยละ 80 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดตามมูลค่า[28] ร้อยละ 86 ของมหาเศรษฐีพันล้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อสายจีน[72] [73] สถานภาพชนกลุ่มน้อยของพ่อค้าคนกลาง ไหวพริบทางธุรกิจและการลงทุนที่เฉียบแหลม และความสามารถทางเศรษฐกิจของชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น " ยิวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[74] [75] [76] [77] ใน ค.ศ. 1991 ธนาคารโลกประมาณการว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดของชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 1996[78] ชาติพันธุ์จีนควบคุม 500 บริษัทใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยสินทรัพย์มูลค่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐและสินทรัพย์สภาพคล่องอีก 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ[79] ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและร่ำรวยที่สุดในเกือบทุกภูมิภาค รวมทั้งอัญมณียอดมงกุฎทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย
ชาวจีนโพ้นทะเลได้รับอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางนโยบายทุนนิยมปล่อยให้ทำไปที่นักอาณานิคมยุโรปนำมาใช้ซึ่งเอื้อต่อพ่อค้าคนกลางชาวจีน[80] อำนาจทางเศรษฐกิจที่ชาติพันธุ์จีนถือทั่วทั้งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรายได้ต่อหัวของภูมิภาค ความมีชีวิตชีวาของผลผลิตทางเศรษฐกิจ และความเจริญรุ่งเรืองโดยรวม อิทธิพลทางเศรษฐกิจอันทรงพลังและอิทธิพลที่ถือครองโดยชาวจีนทำให้คู่แข่งชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องยอมสยบทางเศรษฐกิจ[81] ปริมาณอำนาจเศรษฐกิจอย่างไม่ได้สัดส่วนที่ชาวจีนโพ้นทะเลถือครองนำมาซึ่งความเดียดฉันท์และขมข่นต่อธุรกิจชาติพันธุ์จีนในสังคมทุนนิยมตลาดเสรี ช่องว่างความมั่งคั่งมหาศาลและความยากจนในชนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ ความหวาดระแวง และคติต่อต้านจีนซึ่งเป็นการโทษความล้มเหลวในฐานะของตนต่อชาวจีน[82] ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายประเทศรับมือกับความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งนี้โดยการจัดตั้งเผด็จการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์หรือระบอบอำนาจนิยมเพื่อกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกันมากขึ้นโดยยึดฉวยมาจากชาวจีน รวมทั้งมีให้เอกสิทธิ์การยืนยันสิทธิประโยชน์ (affirmative action) แก่ชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเป็นอันดับแรก และมีการกำหนดการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยจีนเพื่อให้มีสมดุลอำนาจเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น[83] [84] [85]
รัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในทวีปเอเชีย ค.ศ. 1997 ริเริ่มกฎหมายควบคุมการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลวงใน นำไปสู่การเสียตำแหน่งผูกขาดจำนวนมากที่ถือครองโดยอภิชนธุรกิจชาติพันธุ์จีนมาอย่างยาวนาน และทำให้อิทธิพลของเครือข่ายไผ่อ่อนแอลง[86] หลังวิกฤต ความสัมพันธ์ทางธุรกิจมักขึ้นอยู่กับสัญญามากขึ้นแทนความไว้วางใจและสายสัมพันธ์ทางครอบครัวของเครือข่ายไผ่แบบเดิม[87]
หลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ธุรกิจต่าง ๆ ที่มีชาวจีนพลัดถิ่นเป็นเจ้าของเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์กับบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ องค์ประกอบหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับชาวจีนโพ้นทะเลคือเศรษฐกิจ เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเป็นแหล่งลงทุนและเงินทุนที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจจีน[19] ชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมเงินสดหรือสินทรัพย์สภาพคล่องสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในภูมิภาคและมีความมั่งคั่งจำนวนมากเพื่อกระตุ้นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโต[73] ชาวจีนโพ้นทะเลยังเป็นนักลงทุนโดยตรงรายใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่[88] ธุรกิจเครือข่ายไผ่ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกว่า 100,000 แห่ง และลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ในประเทศจีน โดยได้รับอิทธิพลจากชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาร่วมกัน[89] [90] ชาวจีนโพ้นทะเลยังมีบทบาทสำคัญในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับชาวจีนพลัดถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นยอดเยี่ยมและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอันเนื่องมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน ตลอดจนยึดมั่นในจริยธรรมและค่านิยมแบบจีนดั้งเดิม [91] ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันควบคุมมูลค่าเศรษฐกิจ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความมั่งคั่งรวม 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่จัดหาเงินทุนให้โครงการลงทุนต่างประเทศร้อยละ 80 ของจีนแผ่นดินใหญ่[45][44] นับตั้งแต่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังอาณานิคมได้กลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลระหว่างประเทศ[20] นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของจีนแผ่นดินใหญ่สู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้นำไปสู่การพลิกกลับในความสัมพันธ์นี้ เพื่อลดการพึ่งพาหลักทรัพย์กระทรวงการคลังสหรัฐ รัฐบาลจีนหันไปมุ่งเน้นการลงทุนต่างประเทศผ่านรัฐวิสาหกิจแทน ลัทธิคุ้มกันในสหรัฐทำให้บริษัทจีนหาซื้อสินทรัพย์อเมริกันได้ยากขึ้น และยิ่งเสริมความเข้มแข็งต่อบทบาทของเครือข่ายไผ่ในฐานะผู้รับการลงทุนจากจีนที่สำคัญ
Chinese firms in Asian economies outside mainland China have been so prominent that Kao coined the concept of "Chinese Commonwealth" to describe the business networks of this diaspora.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ |journal=
(help)