บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระเจ้าศิริสุวรรณคำลือ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งหอคำเชียงรุ่ง | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 1944–1950 | ||||
รัชสมัย | 6 ปี | ||||
ราชาภิเษก | ค.ศ. 1944 | ||||
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าสุวรรณผาคราง | ||||
รัชกาลถัดไป | สิ้นสุดระบอบกษัตริย์ | ||||
พระราชสมภพ | กันยายน ค.ศ. 1928 | ||||
สวรรคต | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2017 | ||||
พระมเหสี | สิว์ จิ๊ว เฟิน | ||||
| |||||
พระบุตร | 4 พระองค์ | ||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์อารยะโวสวนตาน | ||||
พระบิดา | เจ้าหม่อมแสงเมือง |
เตา ชื่อซฺวิน (刀世勋) หรือ เจ้าหม่อมคำลือ (召孟罕勒), เจ้าหม่อมศิริสุวรรณคำลือ (召勐西莉苏宛纳罕勒; กันยายน ค.ศ. 1928 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 2017)[1] เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง องค์ที่ 41 และเป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ พญาเจือง หรือ ราชวงศ์อารยะโวสวนตาน ที่ปกครองอาณาจักรหอคำเชียงรุ่งมายาวนานถึง 790 ปี
เจ้าหม่อมคำลือ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1928 เป็นพระราชบุตรของ เจ้าหม่อมแสงเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของเจ้าหม่อมสุวรรณผาคราง พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินเชียงรุ่งองค์ที่ 40 แต่เจ้าหม่อมสุวรรณผาครางไม่มีพระราชบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือมาเป็นราชบุตรบุญธรรม และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่อพระชนมพรรษา 16 พรรษา จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ พระองค์ได้กลับไปเรียนหนังสือ และเสด็จกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะพระชนมพรรษา 20 พรรษา
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 พระองค์จึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้ บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วพระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จไปเรียนหนังสือต่อ
เจ้าหม่อมคำลือประทับอยู่ในเมืองคุนหมิง ประเทศจีน มีพระราชโอรสธิดา 4 พระองค์ พระราชโอรส 2 พระองค์องค์ พระราชธิดา 2 พระองค์ซึ่งรับราชการทั้งหมด เจ้าหม่อมคำลือ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2017 สิริพระชนมพรรษา 89 พรรษา
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านได้เรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ. 1953 ก่อนที่จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาล จีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อยใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี
การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วย และหลังจาก เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาด ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์”
อย่างไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้ว ทางการจีนได้ให้ฐานะ ทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมีที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหม่อมคำลือมีพระราชอนุชาพระนาม เจ้าหม่อมมหาวัง ประทับอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ของประเทศไทย แต่ปัจจุบันก็สิ้นพระชนม์แล้ว คงเหลือแต่พระบุตร ซึ่งอยู่ที่แม่สาย และรวมถึงในกรุงเทพฯ ที่ใช้ นามสกุล “คำลือ” เพื่อเป็นที่ระลึกถึง “เจ้าหม่อมคำลือ” กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เจ้าหม่อมคำลือในปัจจุบัน ยังเป็นที่รักและเคารพของชาวไทลื้อ [2]
ก่อนหน้า | เตา ชื่อซฺวิน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง ที่ 40 | กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ผู้อ้างสิทธิกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง (ค.ศ. 1944 - 2017) |
เปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังอยู่ในตำแหน่ง |