เตีย บัญ

ฯพณฯ[1]
สมเด็จพิชัยเสนา[2]
เตีย บัญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2549[3] – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน
ถัดไปเตีย เซ็ยฮา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2530 – 2547
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน
นโรดม รณฤทธิ์
อึง ฮวด
ฮุน เซน
รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566
กษัตริย์นโรดม สีหนุ
นโรดม สีหมุนี
นายกรัฐมนตรีฮุน เซน
รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง
รัฐมนตรีกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2527 – 2530
นายกรัฐมนตรีจัน ซี
ฮุน เซน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมราฐ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2536
คะแนนเสียง52,356 (13.24%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เตีย สังวาลย์

5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
เกาะกง จังหวัดกำปอด กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
ศาสนาศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
พรรคการเมืองพรรคประชาชนกัมพูชา
คู่สมรสเตา เตือน (สมรส พ.ศ. 2518)
บุตรเตีย เซียม
เตีย เซ็ยฮา
เตีย กาญา
วิชาชีพนักการเมือง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ กัมพูชา
สังกัด กองทัพกัมพูชา
ประจำการ2505–
ยศ นายอุดมเสนีย์ (นายพล)
บังคับบัญชาNational Committee for Maritime Security
ผ่านศึกสงครามกลางเมืองกัมพูชา

พลเอก สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ[2] (เขมร: សម្តេចពិជ័យសេនា ទៀ បាញ់ เทีย บาญ่; เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488)[4] หรือชื่อในภาษาไทยว่า สังวาลย์ หินกลิ้ง[5] เป็นนักการเมืองกัมพูชาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา และเป็นสมาชิกพรรคประชาชนกัมพูชา

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตตอนต้นและครอบครัว

[แก้]

สมเด็จพิชัยเสนา มีนามเดิมว่า สังวาลย์ (ขณะนั้นกัมพูชายังไม่บัญญัติการใช้นามสกุล)[5] เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดเกาะกง กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส[1][6] ในครอบครัวชาวนาผู้มีรายได้น้อย[7] เป็นบุตรลำดับที่สามจากทั้งหมดห้าคนของเตีย ตึก (มีชื่อไทยว่า เต็ก) เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน กับนู เป็งจันดา (ชื่อไทยว่า หนู เพ่งจินดา) หญิงชาวไทยเกาะกง[8][9] เขามีพี่น้องคือ เตีย สวัสดิ์, เตีย สังเวียน, เตีย วน และเตีย วิญ ซึ่งคนหลังนี้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือของประเทศกัมพูชา[10]

ครอบครัวของเขาสื่อสารกันด้วยภาษาไทยถิ่นตราด อันเป็นภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเกาะกง และมีสำเนียงแปร่งเป็นเอกลักษณ์[1][11] ในวัยเยาว์ สมเด็จพิชัยเสนาดำรงชีพด้วยความยากลำบาก เพราะบิดาตายตั้งแต่เขายังเด็ก มารดาจึงกลายเป็นเสาหลักเดียวของบ้าน ที่ต้องทำนาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว[7][12] เดิมครอบครัวของเขาไม่มีนามสกุลใช้ กระทั่งมีการบัญญัติการใช้นามสกุล จึงนำชื่อของก๋ง (ปู่) คือเตีย มาตั้งเป็นนามสกุล[5] บางแห่งว่าใช้แซ่ของก๋งมาตั้งเป็นนามสกุล[12] แต่ส่วนตัวของสมเด็จพิชัยเสนาเคยใช้นามสกุล หินกลิ้ง เมื่อครั้งยังศึกษาอยู่ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จึงใช้นามสกุลดังกล่าวอยู่ช่วงหนึ่ง[5] นอกจากนี้ยังมีสมญานามว่า เยื่อ เพราะหัวเราะเสียงดังอย่างคนชื่อตาเยื่อ[5] อย่างไรก็ตามสมเด็จพิชัยเสนาสำเร็จการศึกษาเพียงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เกาะกง เพราะฐานะทางบ้านไม่อำนวย[12]

สมเด็จพิชัยเสนาสมรสกับเตา เตือน (ชื่อไทยว่า เตือนใจ ธรรมเกษร) ซึ่งเป็นชาวไทยเกาะกงเช่นกัน เมื่อ พ.ศ. 2518 ครอบครัวของเตือนใจเป็นครอบครัวใหญ่ เธอเป็นบุตรสาวของแช่ม ธรรมเกษร ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของใส่ ภู่ทอง และรุ่ง พราหมณ์เกษร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง เมื่อนับจากฝ่ายมารดา รวมทั้งเป็นญาติฝ่ายภรรยาของขุนประนอมธนากิจ (จ๊วน แซ่เฮ้ง) นายกองกรมทหารเรือ ประจำเมืองปัจจันตคิรีเขตร[13] สมเด็จพิชัยเสนากับเตือนใจมีบุตรด้วยกันสามคน เป็นชายสองคน และหญิงหนึ่งคน คือ เตีย เซียม (สยาม), เตีย เซ็ยฮา (สิงหา) และเตีย กาญา (กัญญา) โดยเตีย เซ็ยฮา บุตรคนที่สอง ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมราฐ[10]

นักปฏิวัติ

[แก้]

ในวัยเยาว์ ครอบครัวของสมเด็จพิชัยเสนาถูกกดขี่จากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ต้องการสมรสกับน้องสาวของเขา ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 13 ปี สมเด็จพิชัยเสนาปฏิเสธไป และกล่าวว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นความกดดันแรกที่ทำให้เขาอยากเป็นทหาร[12]

เมื่อสมเด็จพิชัยเสนาจำเริญวัยขึ้น ก็เข้าร่วมกับอดีตคณะอิสระ จนกลายเป็นนักปฏิวัติอาชีพ เพราะได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากจีนและเวียดนามผ่านวิทยุปักกิ่ง[14] ในเวลาต่อมาก็มีทหารมาจับกุมตัว โดยยัดเยียดข้อหากระด้างกระเดื่องและซ่องโจร ลงโทษด้วยการจับตากแดดและอดอาหารเป็นเวลาสี่วันสี่คืน[12] ครั้นมีอายุได้ 16 ปี สมเด็จพิชัยเสนาได้เป็นครูอาสาในหมู่บ้าน เพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีการศึกษาซึ่งถูกกดขี่ข่มเหง จากการกระทำนั้นเขาก็ถูกทหารจับกุมตัวอีกครั้ง พระสงฆ์ที่เห็นเหตุการณ์เข้าก็ขอบิณฑบาตชีวิตไว้ได้ทัน สมเด็จพิชัยเสนาจึงรอดชีวิตมาได้[12]

ต่อมาเมื่อสมเด็จพิชัยเสนาอายุราว 17-18 ปี ทหารเขมรทราบว่าสมเด็จพิชัยเสนาและพรรคพวกซ่องสุมผู้คน ทหารเขมรเจ็ดนายจึงนำตัวเขาและเพื่อนอีกสองคนเข้าไปในป่าเพื่อยิงทิ้งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ขณะทหารลั่นไกปืน สมเด็จพิชัยเสนาคิดว่าอย่างไรเสียตนก็คงต้องตาย จึงหลับตาและล้มลงไปพร้อมกับเพื่อนอีกสองคนโดยมีเลือดของเพื่อน ๆ ไหลเปื้อนตัว แต่สมเด็จพิชัยเสนายังได้ยินเสียงทหารคุยกัน ก็รู้ตัวว่าตนยังไม่ตาย จึงขยับตัว แต่มีทหารนายหนึ่งเห็นเข้าก็รีบหยิบปืนมายิงซ้ำ แต่ปรากฏว่ากระสุนด้าน สมเด็จพิชัยเสนาสบโอกาสหนีเข้าไปในป่าเพื่อเอาตัวรอดมาได้ จึงเป็นที่มาของชื่อ "บัญ" ในภาษาเขมร แปลว่า "ยิง"[12]

สมเด็จพิชัยเสนาดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการคณะกรรมการการฝึกอบรม และผู้บัญชาการทหารพลพรรคไทยเกาะกง ช่วง พ.ศ. 2516–2522 กระทั่งเขมรแดงยึดครองดินแดนกัมพูชาส่วนใหญ่ได้สำเร็จ ก็ได้กระทำการอุกอาจและป่าเถื่อนต่อผู้คน สมเด็จพิชัยเสนาพร้อมด้วยพลพรรคไทยเกาะกงส่วนหนึ่งอพยพข้ามแดนมายังบ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จึงมีโอกาสได้พบกับหน่วย 315 ซึ่งเป็นกำลังพลที่ขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการกองทัพบก ในความรับผิดชอบของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ทำให้สมเด็จพิชัยเสนาและพลพรรคไทยเกาะกง มีสัมพันธภาพอันดีต่อพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และพลเอก วิชิต ยาทิพย์ ซึ่งถูกส่งไปปฏิบัติราชการลับในกัมพูชา[14]

ทหารและนักการเมือง

[แก้]

เตีย บัญ มีความสามารถทางการทหาร มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับใส่ ภู่ทอง และนายทหารระดับสูงของไทยจำนวนมาก ทำให้เขาสามารถดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ได้ แม้ว่าสื่อมวลชนต่างประเทศจะมองว่าใส่ ภูทองถูกลดความสำคัญลง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ที่ใส่ ภูทองถูกย้ายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบของพรรคประชาชนกัมพูชา อีกทั้งสุขภาพก็ทรุดโทรม และใช้เวลาส่วนใหญ่ในไทย ขณะที่เส้นสายของฮุน เซน และเจีย ซีมมีมากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อเตีย บัญ แต่ในเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ เตีย บัญยังคงรักษาสถานะของตัวเองได้เป็นอย่างดี

สำหรับตำแหน่งหลังสุด เตีย บัญ ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[15] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเสียมราฐ สังกัดพรรคประชาชนกัมพูชา[16]ในการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา

พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี ทรงมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่พลเอกเตีย บัญ เป็นขุนนางชั้นสมเด็จ ที่ "สมเด็จพิชัยเสนา เตีย บัญ" เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์กัมพูชา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 "เปิดใจพลเอกเตีย บัญ "นักรบ" เกลียดสงคราม". ไทยรัฐออนไลน์. 4 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "ตั้ง "เตียบันห์" ขึ้นแท่น "สมเด็จ"". โพสต์ทูเดย์ออนไลน์. 31 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Tea Banh เก็บถาวร 2016-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Accessed July 2, 2014.
  4. His Excellency Tea Banh เก็บถาวร 2009-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 คนสองแผ่นดิน, หน้า 169
  6. "His Excellency Tea Banh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
  7. 7.0 7.1 "คนกันเอง!! สมเด็จ "เตีย บัญ" นักรบไทยเกาะกง". คมชัดลึก. 21 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. คนสองแผ่นดิน, หน้า 167
  9. "吴锐成主任出席柬埔寨中国港澳侨商总会十周年会庆". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
  10. 10.0 10.1 "Exiled opposition leader supports Cambodian defense minister's son as PM candidate". Radio Free Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-14.
  11. คนสองแผ่นดิน, หน้า 27
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 "นักสู้กู้เขมร เตีย บัญ เชื้อสายไทยเกาะกง". กระปุกดอตคอม. 24 กรกฎาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. คนสองแผ่นดิน, หน้า 176
  14. 14.0 14.1 จุตินันท์ ขวัญเนตร (กรกฎาคม–ธันวาคม 2561). การก้าวขึ้นสู่โครงสร้างอำนาจระดับชาติของคนไทยเกาะกงในกัมพูชา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 7:(2). p. 95.
  15. Visit to Japan by Gen. Tea Banh, Deputy Prime Minister and Minister of National Defense of Cambodia
  16. "Election results" เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cambodia National Election Committee. Accessed June 18, 2008.
บรรณานุกรม
  • รุ่งมณี เมฆโสภณ. คนสองแผ่นดิน. กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์, 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]