เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2539 (28 ปี)
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ชื่ออื่นแฟรงก์
อาชีพนักเขียน, นักประพันธ์, นักเคลื่อนไหวสังคม
มีชื่อเสียงจากนักกิจกรรมเสรีภาพในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และการปฏิรูปการศึกษา
ลายมือชื่อ

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2539) ชื่อเล่น แฟรงก์ เป็นนักกิจกรรมนักศึกษา ผู้ประพันธ์และผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม เขาก่อตั้งสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท[1] ซึ่งทั้งสองกลุ่มมุ่งปฏิรูปการศึกษาไทย การเคลื่อนไหวช่วงแรก ๆ ของเขาเป็นการมุ่งเน้นเรื่องทรงผมนักเรียน ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา รวมถึงวิจารณ์พิธีกรรมหน้าเสาธงในโรงเรียน และการยกเลิกเกณท์ทหาร[2] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเคยเสนอ "รางวัลสิทธิมนุษยชน" ประเภทเด็กและเยาวชนจากบทบาทการรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนให้เขา แต่เขาปฏิเสธ[3][4]

ปี 2561 เนติวิทย์เป็น 1 ใน 50 บุคคลชาวเอเชียที่น่าจับตามองแห่งปี (50 Asians to Watch) สาขาบุคคลสาธารณะผู้เคลื่อนไหวสังคม ประจำปี 2018 โดยสำนักข่าวสเตรทไทม์ส (Straits Times) ของสิงคโปร์[5] และได้รับเชิญให้เป็น 1 ในปาฐกงาน Oslo Freedom Forum ประจำปี 2018 จากมูลนิธิ Human Rights Foundation ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่พูดถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน[6][7] และเป็นส่วนหนึ่งเคลื่อนไหวการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565

ปี 2567 ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมดสิทธิผ่อนผันเกณฑ์ทหาร เมื่อวันที่ 5 เมษายน เนติวิทย์ได้เดินทางไปยังจุดตรวจเลือกทหาร ยืนอ่านประกาศแถลงการณ์อารยะขัดขืน ไม่ขอเข้าเกณฑ์ทหาร และยินดีรับโทษตามกฎหมาย โดยมองว่ากระบวนการเกณฑ์ทหารไม่เกิดความเสมอภาคของพลเมือง ควรมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกว่าจะเป็นทหารหรือไม่[8]

ชีวิตและการศึกษา

[แก้]

เนติวิทย์เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2539 เขาเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวเจ้าของร้านขายของชำ[2] เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาจบในระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เขาเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมตั้งแต่อายุ 18 ปี[9]

การเคลื่อนไหวทางสังคม

[แก้]

เขาได้รับความสนใจระดับชาติในเดือนมกราคม 2556 หลังออกรายการโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ ในด้านการศึกษา เขาเสนอให้ลดชั่วโมงเรียนและการบ้าน และเปลี่ยนหลักสูตรให้เน้นความสำคัญของภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่าเขากลับต้องท่องจำความยาวของแม่น้ำในทวีปแอฟริกา เขาไม่อยากให้นักเรียนนักศึกษามีพิมพ์เดียวโดยเฉพาะพิมพ์ที่ทำตามคำสั่ง[10] ในเดือนธันวาคม 2556 เนติวิทย์โพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวกรณีอั้ม เนโกะพยายามนำธงดำขึ้นบนยอดเสาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนจะทิ้งท้ายว่าร้องเพลงชาติทีไรคลื่นไส้ทุกครั้ง[11]

ต้นปี 2557 เขาเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐประหารและคณะรัฐประหาร ในเดือนพฤษภาคม 2558 เขาถูกควบคุมตัวช่วงสั้น ๆ เมื่อเข้าร่วมการจัดงานไว้อาลัยประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานครและจังหวัดขอนแก่น[2]

เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้เหตุผลว่าเลือกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นอนุรักษนิยมมากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นเสรีนิยมว่าตนไม่อยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดแบบเดียวกัน ต่อมาเขาให้สัมภาษณ์ว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นอนุรักษนิยมมากอย่างที่เขาว่ากัน[9] เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 เมื่อเขาได้รับเข้าศึกษาในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาถูกอาจารย์คนหนึ่งวิจารณ์หน้าตา และอีกหลายคนกล่าวว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยอาจยากลำบาก[2][12]

ในเดือนกรกฎาคม 2559 เนติวิทย์และเพื่อนจำนวน 8 คน ไม่ยอมหมอบกราบต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยอ้างเหตุผลว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ยกเลิกธรรมเนียมดังกล่าวเอง และเดินออกจากพิธีหลังกล่าวคำปฏิญาณต่อมหาวิทยาลัยและเดินไปโค้งคำนับต่อหน้าพระบรมราชานุสรณ์แทน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางคนกล่าวว่าจะช่วยจุดประกายการอภิปรายเกี่ยวกับพิธีนี้ ส่วนบางคน เช่น หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ว่า ต้องการให้ช่วยขจัด "มะเร็ง" ออกจากมหาวิทยาลัย[13]

วันที่ 5 พฤษภาคม 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี กล่าวเกี่ยวกับกรณีที่เนติวิทย์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ ว่า "เสียดายและเป็นห่วง เพราะเสียชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยนี้คงไม่มีปัญหาความคิดสุดโต่งใช่หรือไม่ ตนขี้เกียจรบกับเด็ก" [14] เนติวิทย์จึงถามกลับว่า ใครคือความอับอายของชาติ ประยุทธ์ทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสื่อมเสียจากรัฐประหารเมื่อปี 2557 ไม่เคารพกติกาของบ้านเมือง ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจ และลิดรอนสิทธิมนุษยชนของคนไทยมา 3 ปีแล้ว[15][16]

ในปี 2560 เนติวิทย์และสมาชิกสภานิสิตฯ อีก 7 คนเดินออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเบื้องหน้าพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังคำนับแล้ว หลังจากนั้นปรากฏภาพอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้หนึ่งล็อกคอนักศึกษา[17] มหาวิทยาลัยฯ ตั้งคณะกรรมการและเรีรยกตัวนักศึกษามาสัมภาษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมองว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการเมือง และว่าจัดพื้นที่ต่างหากสำหรับผู้ไม่เห็นด้วยแล้ว และการกระทำของนักศึกษาดังกล่าวไม่เหมาะสม[18] รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสั่งตัดคะแนนความประพฤติของนักศึกษา ทำให้เนติวิทย์ขาดโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมหรือลงสมัครในตำแหน่งต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย[19] ทำให้เนติวิทย์พ้นจากตำแหน่งประธานสภานิสิตฯ[20][21] เขาได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ ในเดือนมกราคม 2561 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลเจ็ดคนร้องทุกข์ต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอุทธรณ์ให้เนติวิทย์และวิจารณ์มหาวิทยาลัย[22]

วันที่ 27 มกราคม 2561 เนติวิทย์เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในการประท้วงต่อต้าน คสช. ที่จัดโดยกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย วันที่ 29 มกราคม คสช. ฟ้องเขาและนักกิจกรรมอีก 6 คนว่าเป็นผู้นำการประท้วง[23] และกล่าวหาว่าเขาละเมิดพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558[24] ต่อมา ศาลปล่อยตัวเขากับนักเคลื่อนไหวโดยไม่มีเงื่อนไข[25]

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เนติวิทย์ได้รับจดหมายเชิญจากมูลนิธิฮิวแมน ไรท์ส ฟาวเดชั่น (Human Rights Foundation) ให้เป็นหนึ่งในปาฐก หรือผู้บรรยายในงาน Oslo Freedom Forum ประจำปี 2018 จัดขึ้น ณ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งงานดังกล่าวเป็นเวทีระดับโลกที่พูดถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นเวทีรวมตัวของนักสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประมุขของรัฐ และอื่น ๆ โดยเนติวิทย์กล่าวว่า การเดินทางไปเป็นหนึ่งในปาฐกครั้งนี้จะได้พบปะกับผู้รักความเป็นธรรมจากทั่วโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พูดคุยเรื่องเมืองไทย ยกย่องเพื่อนผู้กล้าหาญ และจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยและโลกให้มากที่สุด[6][7]

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[แก้]

ช่วงต้นปี 2563 เนติวิทย์ได้ลงสมัครลงตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามของพรรคสิงหราษฎร์ (Demosingh Party) และได้รับชัยชนะในการดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2563[26] ในช่วงปีการศึกษานี้ เป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังเจอกับวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ด้วย ซึ่งเนติวิทย์และเพื่อนนิสิตในพรรคก็ได้จัดกิจกรรมใหม่ๆ และได้ปรับรูปแบบตามสถานการณ์ที่ยังคงความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองได้ด้วย เช่น โครงการรำลึก 90 ปี ชาตกาล จิตร ภูมิศักดิ์,[27] โครงการปฏิรูปตึกกิจกรรมนิสิต คณะรัฐศาสตร์, โครงการ 44 ปี 6 ตุลาฯ ซึ่งได้เปิดห้องประชุมใหม่ที่ตึกกิจกรรมนิสิต ชื่อว่าห้อง วิชิตชัย อมรกุล และห้องประชุม ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เพื่อรำลึกวีรชนรุ่นพี่ผู้เสียสละชีวิตช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ด้วย, โครงการจัดติว GAT-PAT ฟรีให้นักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เป็นต้น[28][29][30]

ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมหรือแคมเปญอื่นๆ เพิ่มเติมระหว่างปีการศึกษาด้วย เช่น #Saveพี่สมเด็จ จากกรณีที่คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ปลดรูปนาย สมเด็จ วิรุฬหผล วีรชน เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ จากห้องสโมสรนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์[31] เรียกร้องให้ อบจ. ในขณะนั้นออกแถลงการณ์ขอโทษจิตร ภูมิศักดิ์​จากกรณีความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในอดีต,[32] ริเริ่มกิจกรรม #ส่งต่อความอิ่ม ช่วยเหลือชุมชนช่วงวิกฤตโควิด-19,[33] และเรียกร้องการเพิ่มทางเท้าและทางม้าลายทั้งภายในและรอบมหาวิทยาลัยเพื่อความปลอดภัยของนิสิตและประชาชน[34][35]

ตั้งแต่เริ่มวาระดำรงตำแหน่ง เนติวิทย์และเพื่อนนิสิตได้ริเริ่มเรียกร้องให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยุติการรื้อถอนสถานที่สำคัญต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่ดูแลภายใต้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น กรณีโรงภาพยนตร์สกาลา ซึ่งภายหลังช่วงปลายปี 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบพื้นที่บริเวณนั้นให้เครือเซ็นทรัลพัฒนาเช่าดูแลต่อและได้ทำลายอาคารลงท่ามกลางเสียงคัดค้านจำนวนมากจากนิสิตและประชาชน,[36] กรณีศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง ซึ่งเริ่มเรียกร้องมาตั้งแต่กลางปี 2563 ทำให้อาคารศาลเจ้าและทางครอบครัวผู้ดูแลศาลเจ้าสามารถยื้อเวลาอยู่ต่อได้อีกชั่วระยะหนึ่ง[37] เป็นต้น ทั้งนี้ พื้นที่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ไล่รื้อชุมชนและต้องการรื้อถอนอาคารออกไปนั้น เป็นไปตามแผนการพัฒนาโครงการ Chula Smart City ที่จะนำพื้นที่ให้บริษัททุนใหญ่ต่างๆ เข้ามาเช่าและสร้างเป็นศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม ฯลฯ[38]

อีกทั้ง เนติวิทย์ได้ริเริ่มวัฒนธรรมการออกแถลงการณ์เพื่อความยุติธรรมทางสังคมและการเมืองผ่านองค์กรนิสิตนักศึกษา เช่น แถลงการณ์กรณีอุ้มหายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์,[39] แถลงการณ์ประณามการคุกคามประชาชนที่ชุมนุมอย่างสันติโดยรัฐผ่านการใช้กฎหมายและความรุนแรง,[40] แถลงการณ์ประณามรัฐบาลกรณีจับกุมผู้ต้องหา 112 อย่างไม่เป็นธรรม,[41] แถลงการณ์เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 90 ปีชาตกาล จิตร ภูมิศักดิ์,[42] แถลงการณ์ประณามรัฐประหารเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564,[43] แถลงการณ์เรียกร้องให้มีการยุติการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนและเด็กในวิกฤตอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เป็นต้น

ก่อนจบวาระในเดือนพฤษภาคม 2564 เนติวิทย์ได้เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอโทษต่อสังคมกรณีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยสนับสนุน กปปส. ซึ่งเป็นต้นเหตุการรัฐประหาร 2557 อันบ่อนทำลายประชาธิปไตยและอนาคตของประเทศ[44]

องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)

[แก้]

เดือนมีนาคม 2564 เนติวิทย์ได้ลงสมัครตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับเพื่อนนิสิตจากหลายคณะในนามพรรคจุฬาของทุกคน (Chula for All Party) และได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 10,324 คะแนน จากนิสิตผู้มาใช้สิทธิ 14,691 คะแนน คิดเป็น 70.27% จากจำนวนนิสิตที่มาใช้สิทธิทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อนนิสิตในพรรคจุฬาของทุกคนอีก 9 ตำแหน่งก็ล้วนได้รับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งในองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ด้วยเช่นกัน [45]

การเลือกตั้งนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564

[แก้]
ผลการเลือกตั้งนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เบอร์ 1: จุฬาของทุกคน เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล 10,324 70.27 -
เบอร์ 2: ใส่ใจ กิตตน์อรรจ วัฒนาวีรชัย 2,030 13.82 -
เบอร์ 3: พร้อม ธนาพัฒน์ มีฉิม 695 4.73 -
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,642 11.18
ผลรวม 14,691 100.00
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 14,691 56.03
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 26,219 100.00

ระหว่างการดำรงตำแหน่งในองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติวิทย์และเพื่อนนิสิตได้ริเริ่มโครงการต่างๆ และแคมเปญอื่นๆ มากมาย เช่น กิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ พร้อมกับคลิปมอบขวัญกำลังใจจากรุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, และรองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, แถลงการณ์ยกเลิกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในกิจกรรมฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์, ประกาศให้สหประชาชาติรับรองและสนับสนุนให้วันที่ 6 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันปกป้องเสรีภาพนักศึกษา เป็นต้น

จากการที่เนติวิทย์เชิญนักศึกษานักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอาจารย์ผู้ลี้ภัยจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากล่าวในกิจกรรมปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ประกอบกับแถลงการณ์ยกเลิกผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ทำให้ศิษย์เก่าและกลุ่มอนุรักษนิยมเข้ามาคุกคามอย่างหนัก กระนั้นสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ ได้ตั้งคณะกรรมการวินัยนิสิตเพื่อสอบสวนกรณีข้างต้นว่าผิดระเบียบหรือไม่[46]

สำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่าน

[แก้]

หลังจากที่เนติวิทย์ถูกตัดคะแนนด้วยความไม่เป็นธรรมจากสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้นดำรงตำแหน่งประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติวิทย์และเพื่อนนักเคลื่อนไหวในมหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมกันก่อตั้งสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านขึ้น เพื่อเผยแพร่งานเขียนและงานแปลที่เกี่ยวกับการต่อสู้ในระบบการศึกษา การต่อสู่เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย

รางวัลและการยอมรับ

[แก้]
  • 1 ใน 50 บุคคลชาวเอเชียที่น่าจับตามองแห่งปี (50 Asians to Watch) สาขาบุคคลสาธารณะผู้เคลื่อนไหวสังคม ประจำปี 2018 โดยสำนักข่าวสเตรทไทม์ส (Straits Times) ของสิงคโปร์[5] ทั้งนี้ สำนักข่าวสเตรทไทม์สได้ระบุเหตุผลไว้ว่า เนติวิทย์เป็นบุคคลที่น่าจับตามองตั้งแต่วัย 21 ปี เป็นคนที่กล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็นตั้งแต่ยังเป็นเยาวชน ทั้งเรื่องการเมือง การศึกษา และกองทัพ[47]
  • ได้รับเชิญให้เป็น 1 ในปาฐกงาน Oslo Freedom Forum ประจำปี 2018 จากมูลนิธิ Human Rights Foundation ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่พูดถึงประเด็นสิทธิมนุษยชน[6][7]
  • ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ในผู้ได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน ประเภทเด็กและเยาวชน ประจำปี 2556 จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากผลงานการต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน แต่เนติวิทย์ปฏิเสธการรับรางวัล เนื่องจากความดูเหมือนไม่จริงใจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเด็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 และประเด็นความดูเหมือนไม่สนใจต่อรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในโรงเรียนของสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย[3]
  • เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ได้รับการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาถูกปลดจากตำแหน่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[48]ตามคำสั่งมหาวิทยาลัย ที่ 0821/2565

การถูกดำเนินคดีทางการเมือง

[แก้]

กรณีสกายวอล์ก

[แก้]

วันที่ 29 มกราคม 2561 เนติวิทย์ถูกตั้ง 3 ข้อกล่าวหา ได้แก่ ขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558, ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 จากกรณีการไปร่วมแสดงจุดยืนและแสดงความคิดเห็นในกิจกรรม "นัดรวมพล ประชาชนอยากเลือกตั้ง แสดงพลังต้านสืบทอดอำนาจ คสช." เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 เวลา 17.00 - 19.00 น. ณ สกายวอล์ก ใกล้ศูนย์การค้ามาบุญครอง แยกปทุมวัน[49] โดยในกิจกรรมวันที่ 27 มกราคม เนติวิทย์ไม่ได้ปราศรัย แต่ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงเหตุผลที่เขามาร่วมกิจกรรม ซึ่งก็คือ เขาต้องการสื่อสารกับรัฐบาลว่าหมดเวลาแล้วที่จะอยู่ต่อ ให้โอกาสกับลูกหลานบ้าง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนกล้าที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ[50]

เนติวิทย์เป็นหนึ่งใน 39 คนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาจากการเข้าร่วมชุมนุมที่สกายวอล์กใกล้ศูนย์การค้ามาบุญครอง ซึ่งต่อมาเรียก 39 คนในกรณีนี้ว่า MBK39 ทั้งนี้เนติวิทย์เป็น 1 ใน 9 คนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำ จึงถูกแจ้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ร่วมด้วย โดยเนติวิทย์กล่าวว่าในกิจกรรมดังกล่าวเขาไม่ได้เป็นแกนนำ เขาเป็นเพียงผู้ไปร่วมแสดงจุดยืนและแสดงความคิดเห็นเท่านั้น[49][51]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น. เนติวิทย์และกลุ่ม MBK39 เดินทางมา สน.ปทุมวัน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา เนติวิทย์กล่าวว่า เขายินดีร่วมชะตากรรมกับทุกคน ถือเป็นเกียรติของคน ๆ หนึ่งที่ได้ยืนยันและปกป้องการใช้สิทธิและเสรีภาพของคนไทย[52][53][51] เขายืนยันว่า สิทธิในการชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ หรือสนับสนุนรัฐบาลเป็นสิทธิที่ประชาชนทุกคนควรมี[51] อนึ่ง ในช่วงเที่ยงของวันดังกล่าว เนติวิทย์และกลุ่ม MBK39 ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นตำรวจ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุลอ้างว่า สาเหตุที่ชั้นตำรวจตัดสินใจไม่ปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มั่นใจว่าหากปล่อยตัวไปแล้วผู้ต้องหาจะมาตามนัดหรือไม่[51]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 14.55 น. เนติวิทย์และผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เดินทางไปยังศาลอาญากรุงเทพใต้เนื่องจากเป็นข้อกล่าวหาที่มีโทษสูงกว่า 3 ปี พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขัง 12 วัน คือวันที่ 8 - 19 กุมภาพันธ์ 2561 โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้มีโทษจำคุกเกิน 3 ปี มีพยานต้องสอบเพิ่มอีก 5 ปาก และต้องสอบประวัติอาชญากรรม อีกทั้งพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องคัดค้านการประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า มีนัดหมายชุมนุมครั้งถัดไปในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ที่ถนนราชดำเนิน เกรงว่าผู้ต้องหาเหล่านี้จะก่อเหตุอันตราย ส่วนทางเนติวิทย์และผู้ต้องหาคนอื่นได้ยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยให้เหตุผลว่า พวกเขาเป็นคนธรรมดาไม่มีความสามารถในการเข้าไปยุ่งกับพยานหลักฐาน อีกทั้งพยานหลักฐานเป็นภาพถ่ายหรือวีดิโอซึ่งอยู่ในครอบครองของพนักงานสอบสวนอยู่แล้ว[54]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19.10 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน โดยให้เหตุผลว่า ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีการหลบหนี เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตนเอง ให้ความร่วมมือกับพนักงานสอบสวนเป็นอย่างดี ส่วนที่พนักงานสอบสวนอ้างว่าเนติวิทย์และผู้ต้องหาคนอื่นจะไปร่วมชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์แล้วก่ออันตรายประการอื่นนั้น ศาลเห็นว่าเป็นเพียงการคาดเดาของพนักงานสอบสวน[54]

รวมเหตุการณ์ตลอดทั้งวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 เนติวิทย์และผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหายุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ใช้เวลาในการดำเนินการเรื่องคดีกรณีสกายวอล์กจำนวน 9 ชั่วโมง 10 นาที โดยหลังจากศาลอาญากรุงเทพใต้ยกคำร้อง เนติวิทย์และผู้ต้องหาจึงสามารถเดินทางกลับที่พักของเขาได้[54]

วันที่ 9 มีนาคม 2561 พนักงานสอบสวนส่งตัวเนติวิทย์และผู้ต้องหาให้อัยการศาลแขวงปทุมวัน พนักงานอัยการศาลแขวงปทุมวันมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากเห็นว่าการฟ้องจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ และพนักงานอัยการแขวงปทุมวันได้ทำความเห็นพร้อมส่งสำนวนไปที่อัยการสูงสุดให้มีความเห็นต่อไป[55]

วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.00 น. เนติวิทย์เดินทางมา สน.ปทุมวัน ตามนัดหมายส่งตัวผู้ต้องหา ทนายฝ่ายผู้ชุมนุมขอเลื่อนนัดการส่งตัวเนื่องจากผู้ต้องหาคนอื่นกำลังถูกคุมขังอยู่ที่ สน.พญาไท และสน.ชนะสงครามจากกิจกรรมการชุมนุมและเดินขบวนหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหน้าสหประชาชาติในวันที่ 21 - 22 พฤษภาคม[55]

วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.45 น. เนติวิทย์เดินทางมาที่สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษอาญากรุงเทพใต้ ตามนัดหมายของพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน เพื่อที่พนักงานสอบสวนจะทำเรื่องส่งตัวและทำสำนวนให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้อง ส่วนพนักงานอัยการเมื่อได้รับสำนวนจะมีความเห็นทางคดีและมีคำสั่งอีกครั้งในวันที่ 28 มิถุนายน 2561 เวลา 10.00 น.[56]

กรณีราชดำเนิน

[แก้]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 14.00 - 19.35 น. เนติวิทย์เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม "หยุดยื้ออำนาจ หยุดยื้อเลือกตั้ง หมดเวลา คสช. ถึงเวลาประชาธิปไตย" ณ บริเวณทางเท้า หน้าร้านแมคโดนัล สาขาราชดำเนิน ใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[57]

วันที่ 14 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. เนติวิทย์เดินทางมา สน.นางเลิ้ง เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เนติวิทย์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนอนุญาตปล่อยตัว พร้อมทั้งนัดส่งตัวให้อัยการศาลแขวงดุสิตในวันที่ 28 มีนาคม 2561[57]

วันที่ 28 มีนาคม 2561 เนติวิทย์เดินทางมาพบอัยการที่ศาลแขวงดุสิต แต่ศาลดุสิตขอเลื่อนการให้ความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นวันที่ 5 เมษายน 2561[58]

วันที่ 5 เมษายน 2561 อัยการศาลแขวงดุสิตมีความเห็นสั่งฟ้องเนติวิทย์และผู้ชุมนุมกรณีดังกล่าว[59][60] ซึ่งเรียกว่ากลุ่ม RDN50 เนติวิทย์ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงปล่อยตัวชั่วคราวและนัดตรวจหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 4 มิถุนายน 2561 เวลา 9.00 น.[60]

กรณีกองทัพบก

[แก้]

วันที่ 24 มีนาคม 2561 เวลา 16.00 น. เนติวิทย์เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต่อมาเมื่อเวลา 17.40 น. เนติวิทย์ร่วมเคลื่อนขบวนเดินเท้าไปยังกองบัญชาการกองทัพบก[61]

วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 พนักงานอัยการคดีศาลแขวงดุสิตยื่นฟ้องเนติวิทย์และผู้ชุมนุมในกิจกรรมดังกล่าวรวม 57 คน ซึ่งเรียกว่า ARMY57 ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยศาลแขวงดุสิตได้ประทับรับฟ้องไว้เป็นคดี เนติวิทย์และผู้ชุมนุมได้รับการปล่อยตัว โดยศาลให้เนติวิทย์และผู้ชุมนุมทุกคนสาบานตน พร้อมทั้งนัดตรวจหลักฐานและสอบคำให้การในวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 เวลา 9.00 น.[61]

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 กองทัพบกฟ้องร้องในข้อหาผิดมาตรา 27 พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

การถูกคุกคาม

[แก้]

เดือนพฤษภาคม 2559 เนติวิทย์ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจรวม 7 นายตามที่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการ และพบกับบิดาเขาซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่าผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพล ก่อนหน้านี้ หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายมาที่บ้านแล้วครั้งหนึ่ง และช่วงหลังรัฐประหารใหม่ ๆ ครูที่โรงเรียนของเนติวิทย์เคยแจ้งเคยมีเจ้าหน้ามาที่โรงเรียนด้วย[62]

เดือนพฤษภาคม 2560 หลังจากเนติวิทย์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสภานิสิตจุฬาฯ มีวัยรุ่น 2 คนขับจักรยานยนต์ในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณหน้าอาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์มาถามหาเนติวิทย์จากคนในละแวกนั้น และพูดจาข่มขู่ใส่ก่อนขับรถหนีไป[63]

ผลงานเขียน

[แก้]
  • นักเรียนเลวในระบบการศึกษาแสนดี (2559)[64]
  • โลกเปลี่ยน โรงเรียนต้องเปลี่ยน (2560)[65]
  • ฝันให้ไกล ไปให้ถึง: ประชาธิปไตยในระดับนิสิตนักศึกษา (2561)[66]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Fall into line, youngsters" (Bangkok Post, 20 July 2014).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 เปิดใจ "เนติวิทย์" อึดอัด แต่ไร้ทางเลือก
  3. 3.0 3.1 'เนติวิทย์' ขอปฏิเสธรับรางวัลจากคณะกรรมการสิทธิฯ
  4. Under That Villain Mask : สอบปากคำ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ในวันที่ยังถูกมองเป็น ‘ตัวร้าย’
  5. 5.0 5.1 ‘สเตรทไทม์ส’ ยก ‘เนติวิทย์’ หนึ่งใน 50 คนเอเชียที่น่าจับตา ‘ไอติม-ธนาธร-เท่าพิภพ-รัสมี’ ติดด้วย
  6. 6.0 6.1 6.2 "เนติวิทย์" ได้รับเชิญเป็นปาฐกงานเพื่อสิทธิมนุษยชนที่นอร์เวย์
  7. 7.0 7.1 7.2 Oslo Freedom Forum ประจำปี 2018
  8. Aindravudh (2024-04-05). "ไม่เสมอภาค 'เนติวิทย์' อารยะขัดขืน ไม่เกณฑ์ทหาร ไม่ผ่อนผัน ยอมถูกจับ". Thaiger ข่าวไทย.
  9. 9.0 9.1 Thorn in the Pillar: Freshman Makes Enemies Upsetting Tradition. Allies Too.
  10. In Thailand’s Schools, Vestiges of Military Rule
  11. แรงได้อีก เนติวิทย์ โพส คลื่นไส้ทุกทีที่ร้องเพลงชาติ
  12. สัมภาษณ์: ‘เนติวิทย์’ ว่าที่นิสิตหัวก้าวหน้า ในมหาวิทยาลัยอนุรักษ์นิยม
  13. Netiwit's monument gesture fires up Internet
  14. ลงแดง! กรณีเนติวิทย์กับสภานิสิตจุฬาฯ
  15. เนติวิทย์ ถามกลับ”ใครคือความอับอายของชาติ”-อดีตรองนายกฯชี้ ผมจบจุฬาฯ ไม่เห็นเสียชื่อ
  16. "PM scolds student activist for plan to change university's prostration custom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-05.
  17. "Chula initiation rite does not go smoothly". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 November 2017.
  18. "CU denies forcing students to prostrate in the rain in oath-taking ritual - Thai PBS English News". Englishnews.thaipbs.or.th. 3 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-09. สืบค้นเมื่อ 10 November 2017.
  19. เนติวิทย์-พวก 8 คนร้องศาลปกครองถอนคำสั่งจุฬาฯตัดคะแนนความประพฤติ-เยียวยาคนละหมื่น
  20. CHULA RETRACTS STATEMENT SLIMING STUDENT, YET BAD TASTE LINGERS
  21. Netiwit removed from student council
  22. "Statement from Nobel Prize laureates to Chulalongkorn University - Prachatai". prachatai.com/english. สืบค้นเมื่อ 15 January 2018.
  23. Thirty-five Thai activists report to police after junta protest
  24. Thailand: 39 Democracy Activists Charged
  25. 'MBK39' walk free during investigation
  26. “เนติวิทย์”กลับมามีตำแหน่งอีกครั้ง ได้รับเลือกตั้งเป็น นายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
  27. Ltd.Thailand, VOICE TV. "90 ปี ชาตกาล 'จิตร ภูมิศักดิ์' คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย". VoiceTV.
  28. "สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดติว GAT-PAT แก่เด็ก ม.ปลาย ฟรี ระบุลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา". mgronline.com. 2021-02-13.
  29. matichon (2020-10-06). "'รัฐศาสตร์ จุฬาฯ' รำลึก '44 ปี 6 ตุลา' ตั้งชื่อห้องสโมฯ 'วิชิตชัย-ดร.บุญสนอง' จารึกเกียรติ 'วีรชน'". มติชนออนไลน์.
  30. "จุฬาฯรำลึก 6 ตุลา เสนอมาตรการ 3 ป. สู้เผด็จการครึ่งใบ". bangkokbiznews. 2020-10-06.
  31. ""เนติวิทย์" โวยจุฬาฯ ย้ายรูป "พี่สมเด็จ" วีรชน 14 ตุลา คณบดีแจงเตรียมส่งคืนครอบครัว". www.sanook.com/news.
  32. matichon (2020-10-28). "สโมสรนิสิตจุฬาฯ ขอโทษ 'จิตร ภูมิศักดิ์' 67 ปี 'โยนบก' เพื่อเตือนใจ ให้สังคมรับฟังความเห็นต่าง". มติชนออนไลน์.
  33. "เนติวิทย์และ #ส่งต่อความอิ่ม แคมเปญซื้อหนึ่งเผื่อหนึ่งช่วยให้ร้านและคนรอดไปด้วยกัน". a day magazine. 2020-05-20.
  34. matichon (2021-01-06). "เนติวิทย์ ร้องรองอธิการบดี ขอคืนทางเท้า คณะเภสัช จุฬาฯ ปลูกดอกไม้เบียดทางเดิน". มติชนออนไลน์.
  35. matichon (2020-11-13). "นิสิตจุฬาฯ นอนบนถนนประท้วงมหา'ลัย เอาทางเท้ามาจัดสวน สะเทือนใจ กระทบยันคนพิการ". มติชนออนไลน์.
  36. "หยุดสร้างห้างฯ ที่สกาลา เนติวิทย์ ชวน Save สกาลา". Urban Creature (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-16.
  37. "นิสิตจุฬาฯ แสดงพลัง #SAVEศาลเจ้าแม่ทับทิม อีกครั้ง". THE STANDARD. 2020-08-31.
  38. "Block 33". PMCU.
  39. "แถลงการณ์กรณีอุ้มหายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์". Facebook.
  40. "นิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่สนับสนุนใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เปิด 4 ข้อเรียกร้อง". www.thairath.co.th. 2020-10-16.
  41. "สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬา แถลงการณ์ประณามจับกุมผู้ชุมนุม". bangkokbiznews. 2021-01-17.
  42. matichon (2020-09-25). "สภานิสิตจุฬาฯ แถลงขอโทษ 'จิตร ภูมิศักดิ์' ที่ได้รับความอยุติธรรมตลอด 7 ทศวรรษ". มติชนออนไลน์.
  43. "ประณามรัฐประหารในประเทศพม่า". Twitter.
  44. ""องค์การนิสิตจุฬาฯ" ออกแถลงการณ์ สำนึกผิด-ขอโทษ เคยร่วมหนุน "กปปส."". www.sanook.com/news.
  45. "'เนติวิทย์' ขอบคุณทุกคะแนนเสียง ส่งนั่งนายกสโมสรนิสิตฯ ปลื้มคนรัฐศาสตร์ใช้สิทธิเลือกตั้งสูงมาก". มติชนออนไลน์. 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 4 April 2021.
  46. 120 (2021-10-28). "จุฬาฯฮึ่มฟันวินัยเนติวิทย์-29นิสิตปม-แถลงการณ์ยุติแบกพระเกี้ยวอจ.ชี้ใช้อารมณ์ขู่". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  47. "เนติวิทย์" รู้สึกปลื้ม สื่อนอกยกเป็นหนึ่งใน 50 คนเอเชียน่าจับตามอง
  48. ด่วน! จุฬาฯ สั่งปลดฟ้าผ่า 'เนติวิทย์' จาก 'นายกฯ อบจ.' อ้างเหตุเชิญ 'เพนกวิน' ไลฟ์
  49. 49.0 49.1 "เนติวิทย์" รู้สึกปลื้ม สื่อนอกยกเป็นหนึ่งใน 50 คนเอเชียน่าจับตามอง
  50. แค่เลือกตั้ง หรือพลังนักศึกษารีเทิร์น?[ลิงก์เสีย]
  51. 51.0 51.1 51.2 51.3 'MBK39' รับทราบข้อหา 'ศรีวราห์' สุดเฮี้ยบ! ค้านประกันชั้นสอบสวน
  52. แนวร่วมอยากเลือกตั้งกลุ่ม MBK 39 รับทราบข้อกล่าวหาชุมนุมสกายวอล์ก ลุ้นประกันตัว
  53. กลุ่ม “คนอยากเลือกตั้ง” เข้ารับทราบข้อหา
  54. 54.0 54.1 54.2 MBK39 เข้ารับทราบข้อหา ทั้ง 2 ศาลสั่งปล่อยตัวทั้งหมด
  55. 55.0 55.1 เลื่อนส่งตัวคดี ‘MBK39’ ขณะที่แกนนำบางคนยังถูกคุมตัวตั้งแต่เมื่อวานอีกคดี
  56. ตำรวจมีความเห็นสั่งฟ้องคดี 9 แกนนำคนอยากเลือกตั้ง MBK39 ส่วนอัยการนัดฟังคำสั่งอีกที 28 มิ.ย.
  57. 57.0 57.1 เนติวิทย์รับทราบข้อหาคดีคนอยากเลือกตั้งราชดำเนิน
  58. RDN50 ขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง เหตุไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ อัยการเลื่อนฟังคำสั่ง 5 เมษานี้
  59. ส่งฟ้องเนติวิทย์-คนอยากเลือกตั้ง รวม 40 ราย ชุมนุมขัดคำสั่ง คสช. ที่ราชดำเนิน เมื่อ 10 ก.พ.
  60. 60.0 60.1 ปล่อยตัว 41 #RDN50 โดยไม่มีหลักทรัพย์ประกันและไม่มีเงื่อนไข
  61. 61.0 61.1 สั่งฟ้อง “เนติวิทย์-พวก” 45 คน ชุมนุม “อยากเลือกตั้ง” หน้ากองทัพบก
  62. ทหาร-ตร. เยี่ยมบ้านเนติวิทย์ ตรวจสอบว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหรือไม่
  63. 2 ชายลึกลับขับมอเตอร์ไซค์ บุกข่มขู่ “เนติวิทย์” ถึงในจุฬา
  64. ‘เนติวิทย์’โอ่หนังสือนักเรียนเลวฯ ถูกบริจาคเข้า‘รร.จปร.’แล้ว
  65. WAY to READ: โลกเปลี่ยน โรงเรียนต้องเปลี่ยน
  66. เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ แสดงความคิดเห็นต่อพิธีไหว้ครู มองการบังคับคือการทำลายความสัมพันธ์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]